สะพานเดชาติวงศ์

พิกัด: 15°41′18″N 100°07′25″E / 15.688257°N 100.123594°E / 15.688257; 100.123594
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานเดชาติวงศ์
สะพานเดชาติวงศ์ในปลายปี พ.ศ. 2553
พิกัด15°41′18″N 100°07′25″E / 15.688257°N 100.123594°E / 15.688257; 100.123594
เส้นทางถนนพหลโยธิน
ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่ตั้งจังหวัดนครสวรรค์
ชื่ออื่น
  • สะพานเดชาติวงศ์
  • สะพานเดชาติวงศ์ 2
  • สะพานเดชาติวงศ์ 3
ตั้งชื่อตามชื่อสกุลของหม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์
เจ้าของกรมทางหลวง
ประวัติ
วันเริ่มสร้างพ.ศ. 2485
วันเปิด1 กันยายน พ.ศ. 2493
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานเดชาติวงศ์ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำที่อยู่เหนือน้ำที่สุดของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นสะพานถนนของถนนพหลโยธิน บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 340 ก่อนเข้าสู่ใจกลางเมืองนครสวรรค์ ซึ่งกรมทางหลวงได้เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2485 และเปิดให้ใช้งานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2493 ซึ่งชื่อของสะพานนั้นมาจากชื่อสกุลของพันตรี หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวงในสมัยนั้น โดยปัจจุบันสะพานแห่งนี้เป็นสะพานที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทยในการเดินทางเข้าสู่จังหวัดทางภาคเหนือ และนอกจากนี้ยังเป็นจุดชมวิวแม่น้ำสองสีที่สวยงามที่สุดอีกจุดหนึ่งด้วย

ประวัติ[แก้]

สะพานเดชาติวงศ์ ได้เริ่มสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2485 ในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา สร้างโดยผู้รับผิดชอบแนวเส้นทางของถนนพหลโยธินคือกรมทางหลวง มีจุดประสงค์ให้สะพานแห่งนี้เป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่างภาคกลางและภาคเหนือแทนเส้นทางเรือ โดยมีพิธีเปิดการจราจรบนสะพานเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2493 โดยมีพันตรี หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวงในสมัยนั้นเป็นประธานเปิดสะพาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 กรมทางหลวงได้งบประมาณทางหลวงหมายเลข 32 ตอน บางปะอิน-นครสวรรค์ จึงได้สร้างสะพานขึ้นอีกสะพานหนึ่งคู่กับสะพานเดชาติวงศ์เดิม เรียกว่า สะพานเดชาติวงศ์ 2 โดยเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กคู่ขนานไปกับสะพานเดชาติวงศ์เดิม และเปิดใช้เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2514 ต่อมาได้มีการสร้างสะพานเดชาติวงศ์ 3 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 และสร้างเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2536

การใช้งานในปัจจุบัน[แก้]

โดยปกติแล้ว สะพานเดชาติวงศ์จะเปิดใช้งานเพียง 2 สะพาน คือ สะพานเดชาติวงศ์ 2 และ 3 ส่วนสะพานเดชาติวงศ์ 1 จังหวัดนครสวรรค์เปิดไว้เป็น สะพานประวัติศาสตร์ ซึ่งใช้ในการจัดงานต่าง ๆ ของจังหวัด หรือเปิดให้ใช้งานได้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น เกิดอุบัติเหตุ การจราจรติดขัด เป็นต้น และในช่วงเทศกาลการจราจรจะหนาแน่นมาก เช่น ช่วงสงกรานต์, ปีใหม่ ฯลฯ แต่ในปัจจุบัน (ตั้งแต่ พ.ศ. 2564) พบว่ามีรถยนต์สามารถขึ้นไปใช้สะพานเดชาติวงศ์ที่สะพานที่ 1 ได้ จึงสันนิษฐานว่ากรมทางหลวงได้เปลี่ยนแปลงข้อกำหนดการใช้แล้ว แต่ว่าผู้คนก็ยังนิยมใช้สะพานที่ 2 และ 3 ตามเดิม

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

15°41′18″N 100°07′25″E / 15.688257°N 100.123594°E / 15.688257; 100.123594

สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
ปากน้ำโพ
สะพานเดชาติวงศ์
ท้ายน้ำ
สะพานตะเคียนเลื่อน