สะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า

พิกัด: 13°52′17″N 100°28′34″E / 13.871497°N 100.476215°E / 13.871497; 100.476215
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า
สะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า
เส้นทางถนนรัตนาธิเบศร์
ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและถนนสนามบินน้ำ
ชื่อทางการสะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า
ชื่ออื่นสะพานพระนั่งเกล้าใหม่, สะพานพระนั่งเกล้า 2
ผู้ดูแลกรมทางหลวง
เหนือน้ำสะพานพระราม 4
ท้ายน้ำสะพานพระนั่งเกล้า
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทคานยื่นสมดุล
ความยาว299.10 เมตร
ความกว้าง24.99 เมตร
ความสูง16.40 เมตร
ประวัติ
วันเริ่มสร้าง31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
วันเปิด12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า ออกแบบเป็นสะพานคอนกรีตอยู่ด้านเหนือน้ำของสะพานพระนั่งเกล้า มีขนาด 6 ช่องจราจร เชื่อมต่อกับช่องทางหลักของถนนรัตนาธิเบศร์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302) โดยช่องทางคู่ขนานใช้สะพานเก่า มีความยาวตลอดช่วงสะพานถึง 2 กิโลเมตร ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและถนนนนทบุรี 1 ความยาวช่วงกลางแม่น้ำของ 2 ตอม่อในแม่น้ำคือ 229 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นสะพานคอนกรีตรูปกล่องที่ก่อสร้างด้วยวิธีคานยื่นสมดุล (balanced cantilever) ที่มีช่วงกลางแม่น้ำยาวที่สุดในประเทศไทย สูงกว่าสะพานเดิม 9 เมตร คร่อมสะพานเดิมบริเวณทางลาดลงเล็กน้อย เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 แล้วเสร็จเปิดการจราจรตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 [1]

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

  • วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
  • วันเปิดการจราจร : วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
  • บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
  • ราคาค่าก่อสร้าง : 140,046,155.00 บาท
  • แบบของสะพาน : คานยื่นสมดุล
  • ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง : 16.40 เมตร
  • ความยาวของสะพาน : 299.10 เมตร (รวมส่วนที่ข้ามแยกสะพานพระนั่งเกล้า)
  • เชิงลาดสะพานทั้งสองฝั่ง : 349.50 เมตร
  • รวมความยาวทั้งหมด : 799.00 เมตร
  • จำนวนช่องทางจราจร : 6 ช่องทางจราจร (เข้าเมือง 3; ออกเมือง 3)
  • ความกว้างสะพาน : 24.99 เมตร
  • ความกว้างทางเท้า : ไม่มีทางเท้า (สำหรับคนเดินสามารถใช้สะพานพระนั่งเกล้า)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°52′17″N 100°28′34″E / 13.871497°N 100.476215°E / 13.871497; 100.476215

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-30. สืบค้นเมื่อ 2015-03-07.

ดูเพิ่ม[แก้]

สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
สะพานพระราม 4
สะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า
ท้ายน้ำ
สะพานพระนั่งเกล้า