วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
ชื่อย่อวศ./SE
คติพจน์"เก่งกล้าวิชาการ เชี่ยวชาญวิชาชีพครู"
"การศึกษาเป็นฐานรากของมนุษย์"
สถาปนา1 ตุลาคม 2556
คณบดีรศ.ดร. รักษิต สุทธิพงษ์
ที่อยู่
สี███ สีชมพู
มาสคอต
เปลวไฟ รูปดอกบัว
สถานปฏิบัติโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา
เว็บไซต์www.se.up.ac.th

วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา (อังกฤษ: School of Education, University of Phayao) เป็นอีก 1 คณะ/วิทยาลัย ของมหาวิทยาลัยพะเยา มีหน้าที่รับผิดชอบในการผลิตบัณฑิตครู และบุคลากรทางการศึกษา เช่นเดียวกันกับคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยมุ่งเน้นพัฒนานิสิตให้เป็นบุคลากรทางการศึกษาที่มีความแกร่งกล้าวิชาการ และเชี่ยวชาญวิชาชีพครู โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ประวัติ[แก้]

วิทยาลัยการศึกษา เดิมเป็นบัณฑิตวิทยาลัยในสังกัดศูนย์วิทยบริการจังหวัดพะเยา มหาวิทยาลัยนเรศวร และในปี พ.ศ. 2548 ศูนย์วิทยบริการ จังหวัดพะเยา ได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา บัณฑิตวิทยาลัยจึงเปลี่ยนเป็น สำนักงานการศึกษาภาคพิเศษ ต่อมาในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา ได้รับการยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยพะเยา สำนักงานการศึกษาภาคพิเศษ จึงได้เปลี่ยนเป็น วิทยาลัยการศึกษาต่อเนื่อง[1] ต่อมาในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยพะเยา ครั้งที่ 5/2556 เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556 ได้มีมติให้ยุบเลิกวิทยาลัยการศึกษาต่อเนื่อง[2][3]และให้จัดตั้งวิทยาลัยการศึกษา ขึ้นเป็นส่วนงานวิชาการใหม่ตามความในมาตรา 7 (3) มาตรา 8 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553[4][5] โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป กับมอบหมายภารกิจด้านการศึกษา โดยเฉพาะความรับผิดชอบในการบริหารจัดการหลักสูตรด้านการศึกษาทุกระดับทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก และให้โอนย้ายพนักงานมหาวิทยาลัยพะเยา ทั้งหมดจากวิทยาลัยการศึกษาต่อเนื่องไปสังกัดวิทยาลัยการศึกษา และให้ย้ายสาขาวิชาการศึกษา จากเดิมที่สังกัดคณะศิลปศาสตร์ มาสังกัดกับวิทยาลัยการศึกษาด้วย ทำให้สามารถดำเนินการบริหารจัดการกิจการได้อย่างต่อเนื่อง

​สาขาวิชา[แก้]

  • สาขาวิชาการศึกษา มีแขนงวิชา 10 แขนงวิชา ได้แก่
    • แขนงวิชาคณิตศาสตร์
    • แขนงวิชาฟิสิกส์
    • แขนงวิชาเคมี
    • แขนงวิชาชีววิทยา
    • แขนงวิชาพลศึกษา
    • แขนงวิชาภาษาไทย
    • แขนงวิชาภาษาอังกฤษ
    • แขนงวิชาสังคมศึกษา
    • แขนงวิชาภาษาจีน
    • ดนตรีและนาฏศิลป์
  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา
  • สาขาวิชาวัดและประเมินผลการศึกษา

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ปริญญาตรี

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ. 4 ปี)

ปัจจุบันวิทยาลัยการศึกษา ได้จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา ใน 7 แขนงวิชา เป็นการจัดการศึกษาหลักสูตรควบระดับปริญญาตรี 2 ปริญญา ดังต่อไปนี้

  • จัดการศึกษาร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์
    • หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา (แขนงวิชาคณิตศาสตร์) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์
    • หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา(แขนงวิชาชีววิทยา) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา
    • หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา (แขนงวิชาเคมี) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี
    • หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา (แขนงวิชาฟิสิกส์) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์
    • หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา (แขนงวิชาพลศึกษา) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
  • จัดการศึกษาร่วมกับ คณะศิลปศาสตร์
    • หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา (แขนงวิชาภาษาไทย) และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
    • หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา (แขนงวิชาภาษาอังกฤษ) และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
    • หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา (แขนงวิชาภาษาจีน) และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน
  • จัดการศึกษาร่วมกับ คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์
    • หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา (แขนงวิชาสังคมศึกษา) และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม
  • จัดการศึกษาร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์
    • หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา (แขนงวิชาดนตรีและนาฏศิลป์) และหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีและนาฏศิลป์

หลักสูตรที่จะเปิดรับนิสิตเข้าศึกษาในอนาคต

  • หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น (แขนงวิชาภาษาญี่ปุ่น)[6]
  • หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส (แขนงวิชาภาษาฝรั่งเศส)[6]
  • หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนวและการศึกษา (แขนงวิชาจิตวิทยา)[6]
ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)

  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
  • สาขาวิชาการเรียนรู้บูรณาการสมอง
  • สาขาวิชานวัตกรทางการศึกษา
  • สาขาวิชาสะเต็มศึกษา

หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)

  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

ทำเนียบคณบดี[แก้]

ทำเนียบคณบดีวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
ลำดับที่ รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1
รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560[7]
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 - 22 เมษายน พฺศ. 2561 (รักษาการแทน) [8]
23 เมษายน พ.ศ. 2561 - 22 เมษายน พ.ศ. 2565 [9]
2
รองศาสตราจารย์ ดร.รักษิต สุทธิพงษ์ 23 เมษายน พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน (2 ปี 3 วัน)[10]

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี เป็นคำนำหน้านามในขณะนั้น

การรับสมัคร[แก้]

วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา มีโครงการรับนิสิตเข้าทำการศึกษาในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตทั้งสิ้น 4 โครงการ ดังนี้

  1. โครงการรับตรง 10% ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เปิดรับสมัครสำหรับนักเรียนจำนวน 10% ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียน จากโรงเรียนที่ร่วมโครงการ โดยนักเรียนแจ้งความประสงค์ที่ครูแนะแนว/โรงเรียน ของตนเองเพื่อพิจารณาคัดเลือก
  2. โครงการนักเรียนเรียนดี รับสมัครจากนักเรียนหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ ในโครงการจัดการศึกษาปกติ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน หรือเป็นผู้ที่กำลังศึกษาในชั้นเรียนปีการศึกษาสุดท้ายของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน และพะเยา
  3. ระบบรับตรง (โควตาทั่วประเทศ) รับสมัครจากนักเรียนหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ ในโครงการจัดการศึกษาปกติ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน หรือเป็นผู้ที่กำลังศึกษาในชั้นเรียนปีการศึกษาสุดท้ายของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาทั่วประเทศ
  4. โครงการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาสู่มหาวิทยาลัยพะเยา รับสมัครจากนักเรียนหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ ในโครงการจัดการศึกษาปกติ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน หรือเป็นผู้ที่กำลังศึกษาในชั้นเรียนปีการศึกษาสุดท้ายของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาทั่วประเทศ
  5. การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบกลาง (Admissions) ในปีการศึกษา 2560 เป็นปีแรกที่มาการรับสมัครผ่านระบบกลาง (Admissions) โดยรับสมัครผ่านสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย [11]

อ้างอิง[แก้]

  1. วิทยาลัยการศึกษาต่อเนื่อง
  2. สำนักงานสภามหาวิทยาลัยพะเยา, มติย่อการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 5/2556 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม พ.ศ. 2557
  3. สำนักงานสภามหาวิทยาลัยพะเยา, ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง ยุบเลิกวิทยาลัยการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2556 เก็บถาวร 2017-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553, เล่ม 127 ตอน 44 ก, หน้า 4, วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง จัดตั้งวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. ๒๕๕๖, เล่ม 132 ตอนพิเศษ 134 ง, หน้า 13, วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  6. 6.0 6.1 6.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ แผนกลยุทธ์58-61
  7. คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ ๒๒๒๘/๒๕๕๖ เรื่อง แต่งตั้งคณบดีวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา, ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖
  8. สำนักงานสภามหาวิทยาลัยพะเยา, คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ ๒๙๓๒/๒๕๖๐ เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยการศึกษา หมาวิทยาลัยพะเยา[ลิงก์เสีย], ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
  9. สำนักงานสภามหาวิทยาลัยพะเยา, คำสั่งสภามหาวิทยาลัยพะเยา ที่ ๑๑๑๖/๒๕๖๑ เรื่อง แต่งตั้งคณบดีวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา[ลิงก์เสีย], ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑
  10. สำนักงานสภามหาวิทยาลัยพะเยา, คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ ๑๙๗๕/๒๕๖๕ เรื่อง แต่งตั้งคณบดีวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา, ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
  11. สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย, ระเบียบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2560[ลิงก์เสีย], สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2560

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]