สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
School of Education Sukhothai Thammathirat
Open University
Symbol Sukhothai Thammathirat Open University
สถาปนาพ.ศ. 2523
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.นิรนาท แสนสา
ที่อยู่

สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นส่วนราชการระดับคณะ สังกัดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดตั้งขึ้นเป็น 1 ใน 3 สาขาวิชาแรกตั้งของมหาวิทยาลัย เปิดรับนักศึกษาครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2523 รับผิดชอบหลักสูตรและการสอนในลักษณะการศึกษาต่อเนื่องแก่บุคลากรประจำการที่ปฏิบัติหน้าที่ทางการศึกษา หรือมีคุณวุฒิทางการศึกษาเพื่อเพิ่มพูนวิทยฐานะและความรู้ความสามารถในวิชาชีพ ผลิตบุคลากรให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติที่มุ่งกระจายการศึกษาไปสู่ท้องถิ่น และสนองต่อความต้องการของสังคมและชุมชน[1]

ระบบการสอน[แก้]

สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ใช้ระบบการสอนทางไกล ผ่านสื่อประสมต่างๆ ให้นักศึกษาสามารถศึกษาด้วยตนเอง โดยจัดเนื้อหาสาระประสบการณ์การเรียนรู้ในลักษณะบูรณาการเป็นชุดวิชา แต่ละชุดวิชามีค่า 6 หน่วยกิต สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรี และ 5 หน่วยกิต สำหรับหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ในระบบทวิภาคของหลักสูตรระดับอุดมศึกษา

ในชุดวิชา แบ่งหน่วยการสอนออกเป็น 15 หน่วย แต่ละหน่วยการสอนใช้เวลาศึกษาประมาณ 12 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ จัดการศึกษาเป็นระบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่งมี 2 ภาคการศึกษาปกติ แต่ละภาค การศึกษา ปกติมีระยะเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์แต่ละภาคการศึกษานักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนอย่างน้อย 1 ชุดวิชา แต่ไม่เกิน 3 ชุดวิชา ในระดับปริญญาตรี สำหรับปริญญาโทนักศึกษาต้องลงทะเบียนอย่างน้อย 1 ชุดวิชา แต่ไม่เกิน 2 ชุดวิชา ยกเว้นภาคการศึกษาสุดท้ายที่สามารถลงทะเบียนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพมหาบัณฑิตเพิ่มได้อีก 1 ชุดวิชา จนกว่าจะสำเร็จ การศึกษาตามหลักสูตรในสาขาวิชาที่เข้าศึกษา โดยนักศึกษาจะใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 3 เท่าของ ระยะเวลาการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร

หลักสูตรที่เปิดสอน[แก้]

ระดับประกาศนียบัตร (ต่ำกว่าบัณฑิต) ระดับปริญญาตรี (บัณฑิต) ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
(สูงกว่าบัณฑิตแต่ไม่เท่ามหาบัณฑิต)
ระดับปริญญาโท
(มหาบัณฑิต)
ระดับปริญญาเอก
(ดุษฎีบัณฑิต)

ประกาศนียบัตร

  • ประกาศนียบัตรนวัตกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัย
  • ประกาศนียบัตรสุขภาพเด็กปฐมวัย(แบบองค์รวม)

ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ. 4 ปี)[2]

  • วิชาเอกการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
  • วิชาเอกการศึกษานอกระบบ
  • วิชาเอกเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
  • วิชาเอกการวัดและประเมินผลการศึกษา
  • วิชาเอกการพัฒนาเด็กปฐมวัย

ประกาศนียบัตรบัณฑิต

  • ทางการบริหารการศึกษา
  • หลักสูตรและการสอน

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต​ (ศษ.ม.)[3]

  • แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน
  • แขนงวิชาบริหารการศึกษา
  • แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา
  • แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
  • แขนงวิชาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
  • แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด)​[4]

  • วิชาเอกหลักสูตรและการสอน
  • วิชาเอกการศึกษาทางไกล
  • วิชาเอกการวัดและประเมินผลการศึกษา
  • วิชาเอกการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
  • วิชาเอกเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
  • แขนงวิชาบริหารการศึกษา (งดรับนักศึกษา)

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-26. สืบค้นเมื่อ 2017-04-11.
  2. http://www.stou.ac.th/Courses/bachelor_57/educa.asp
  3. http://www.stou.ac.th/thai/courses/Master_58/educa_58.asp#cur_mas
  4. http://www.stou.ac.th/thai/courses/Master_58/educa_58.asp