คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Faculty of Education, Rajabhat Maha Sarakham University
ชื่อย่อค. / EDU
สถาปนา1 พฤษภาคม พ.ศ. 2468 (98 ปี)
คณบดีอาจารย์ อนุสรณ์ ถูสินแก่น
ที่อยู่
คณะครุศาสตร์ เลขที่ 80 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
วารสารวารสารครุศาสตร์
สีสีฟ้า
เว็บไซต์https://edu.rmu.ac.th/

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Education, Rajabhat Mahasarakham University) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2468 ในฐานะโรงเรียนประถมกสิกรรมจังหวัดมหาสารคาม นับเป็นจุดเริ่มต้นของคณะครุศาสตร์ที่มีมายาวนานากว่า 98 ปี ปัจจุบัน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามเป็นหนึ่งในคณะที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย

ประวัติ[แก้]

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ก่อตั้งครั้งแรกในปี 2468 ในฐานะ โรงเรียนประถมกสิกรรม ซึ่งตั้งอยู่บริเวณวิทยาลัยเทคนิคมหาสารคามในปัจจุบัน หลังจากนั้นในปี 2470 จึงได้ย้ายไปยังสถานที่ตั้งแห่งใหม่บริเวณบ้านโคกอีด่อย อยู่ห่างจากตัวเมืองมหาสารคามไปทางทิศตะวันตกประมาณ 4 กิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามในปัจจุบัน มีพื้นที่ 454 ไร่ ต่อมาในปี 2474 จึงเปลี่ยนสถานะเป็น โรงเรียนประถมวิสามัญ ก่อนที่จะยกฐานะเป็นโรงเรียนประกาศนียบัตรจังหวัดมหาสารคามในปี 2481[1]

ต่อมาในปี 2505 จึงได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูมหาสารคาม โดยประสาทประกาศนียบัตรระดับอนุปริญญาด้านการเรียนการสอน และในปี 2519 ราชการได้จัดระบบงานใหม่ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู และ พ.ศ. 2518 มีผลให้วิทยาลัยครูมหาสารคามเป็นสถาบันอุดมศึกษา แบ่งส่วนงานภายในเป็นคณะครุศาสตร์ ที่ได้ส่งทอดกันมาตั้งแต่ปี 2468

ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 วิทยาลัยครูทุกแห่งได้รับพระราชทานนามว่า “สถาบันราชภัฏ” แปลว่า “คนของพระราชา” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “ Rajabhat Institute” และต่อท้ายด้วยชื่อเดิมหรือชื่อจังหวัด ทำให้ในวันที่ 25 มกราคม 2538 จึงได้มีการยกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏมหาสารคาม และดำเนินงานตามพระราชบัญญติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538[2] และวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏจึงเกิดเป็น “สถาบันราชภัฏมหาสารคาม” พร้อมทั้งยกฐานะคณะครุศาสตร์ที่แต่เดิมสอนเฉาะระดับประกาศนียบัตรขึ้นเป็น“คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม” ที่สอนในระดับปริญญาตรี[3]

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547[4] ซึ่งส่งผลให้สถาบันราชภัฏมหาสารคามเปลี่ยน สถานะเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม” และคณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม ก็ได้ยกฐานะเป็น “คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม” ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 จนถึงปัจจุบัน[5]

โครงสร้างคณะ[แก้]

การแบ่งส่วนงานภายในคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม[6]

  • สำนักงานคณบดี
  • กลุ่มงานอำนวยการ
  • กลุ่มงานการเงินและพัสดุ
  • กลุ่มงานบริการการศึกษา
  • กลุ่มงานพัฒนานักศึกษา
  • ฝ่ายบริหาร แผนงาน และ ประกันคุณภาพ
  • วิชาการ บริการวิชาการ และ วิจัย
  • ฝ่ายพัฒนานักศึกษา และ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ
  • โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

หลักสูตร[แก้]

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม[7]
ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.)

  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
  • สาขาวิชาจิตวิทยาฯ-คอมพิวเตอร์ศึกษา
  • สาขาวิชาบรรณารักษ์ศึกษาและภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์
  • สาขาวิชาการประถมศึกษา
  • สาขาวิชาชีววิทยา
  • สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
  • สาขาวิชาสังคมศึกษา
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาดนตรีศึกษา
  • สาขาวิชาการศึกษาพิเศษและภาษาไทย
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาการสอนภาษาจีน
  • สาขาวิชาพลศึกษา
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาสังคมศึกษา

หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)

  • สาขาวิชาสังคมศึกษา
  • สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา
  • สาขาคณิตศาสตรศึกษา

หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.)

  • สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

กิจกรรม[แก้]

กีฬาเชื่อมสัมพันธ์ ครุศาสตร์- ศึกษาศาสตร์ มรม-มมส[แก้]

เป็นกิจกรรมงานกีฬาเพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติโรงเรียนประถมกสิกรรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-14.
  2. พระราชบัญญติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538
  3. "ประวัติคณะครุศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-14.
  4. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547
  5. "ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-14.
  6. "หน่วยงานภายใน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-14.
  7. "หลักสูตรภายในคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-14.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]