วิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยพะเยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยพะเยา
College of Management University of Phayao
Bangkok Campus
สถาปนา15 มกราคม พ.ศ. 2554 (13 ปี)
คณบดีผศ.ดร.ชลธิดา เทพหินลัพ (รักษาการแทน)
ที่อยู่
55 อาคารเวฟเพลส ชั้น 8 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
สี███ สีฟ้า - ███ สีขาว
มาสคอต
ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยพะเยา
เว็บไซต์www.cmbkk.up.ac.th

วิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยพะเยา (อังกฤษ: College of Management University of Phayao, Bangkok Campus) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้สนใจศึกษาต่อที่ไม่สามารถมาเรียนโดยตรงที่มหาวิทยาลัยได้ เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา ตั้งอยู่ ณ อาคารศิวาเทล ต่อ อาคารเวฟเพลส ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

ประวัติ[แก้]

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553 ขึ้น และประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2553 มหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งเดิมเป็นวิทยาเขตสารสนเทศมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยการบริหารของ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดี อธิการบดีและคณะผู้บริหารที่มีความรู้และประสบการณ์ สร้างมหาวิทยาลัยพะเยาเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง

ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยพะเยาได้มีมติจัดตั้งวิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นคณะวิชาเพื่อจัดการเรียนการสอนหลักสูตรที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ เปิดดำเนินการเรียนการสอน หลักสูตรดังนี้

  • ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว (Master of Arts in Hotel and Tourism Management)
  • การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (Master of Education in Educational Administration)
  • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (Master of Business Administration)

มหาวิทยาลัยพะเยากำหนดวัตถุประสงค์เป็น core purpose เน้นร่วมกันในการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งให้นิสิตอยู่และเรียน (Live and Learn) อย่างมีความสุข จบไปมีงานทำและเป็นคนดีของสังคม ดังนั้นวิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยพะเยา จึงเพิ่มโอกาสการทำงานทั่วโลก โดยการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่นิสิตทั้งด้านองค์ความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ นิสิตสามารถเลือกกลุ่มเรียนได้ทั้งกลุ่มเรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นสื่อการสอน และกลุ่มเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนตามระดับความสามารถการใช้ภาษาของผู้เรียน เพื่อเตรียมความพร้อมนิสิตเข้าสู่ตลาดแรงงานของประเทศ ของประชาคมอาเซียน และประชาคมโลก โดยวิทยาลัยการจัดการได้สร้างความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ในการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาเท่าเทียมกัน

วิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยพะเยา มีอัตตลักษณ์ เป็นดั่ง“อัญญปัญญ์” หมายถึงปัญญาสร้างสรรค์ที่มีความแตกต่างที่สามารถสร้างความมั่งคั่งและมั่นคงให้ตัวบุคคลและประเทศชาติ โดยสื่อความหมายเป็นภาษาอังกฤษว่า

CREATIVE WISDOM TO CREATE WEALTH

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ปัจจุบัน วิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยพะเยา จัดการเรียนการสอนหลักสูตรในสาขาวิชา ได้แก่

ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม
  • สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว โรงแรม และธุรกิจบริการ

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม
  • สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว โรงแรม และธุรกิจบริการ

หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

ทำเนียบคณบดี[แก้]

ทำเนียบคณบดีวิทยาลัยการจัดการ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยพะเยา
ลำดับที่ รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1
ดร.ศรีสุดา จงสุทธิผล 15 มกราคม พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2556
2
รองศาสตราจารย์ ดร. สุภกร พงศบางโพธิ์ พ.ศ. 2556 - 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558 (รักษาการแทน)
25 มิถุนายน พ.ศ. 2560 - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (รักษาการแทน ครั้งที่ 2)[1]
22 ธันวาคม พ.ศ. 2560 - ตุลาคม พ.ศ. 2561 (รักษาการแทน ครั้งที่ 3)[2]
3
ดร.ศิริพร แพรศรี 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 (รักษาการแทน)[3]
1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (รักษาการแทน ครั้งที่ 2)[4]
1 มกราคม พ.ศ. 2559 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (รักษาการแทน ครั้งที่ 3)[5]
4
รองศาสตราจารย์ ดร.เสรี วงษ์มณฑา 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (รักษาการแทน)[6]
27 ธันวาคม พ.ศ. 2559 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2560 (รักษาการแทน ครั้งที่ 2)[6]
5
ดร.ศรีสุดา จงสิทธิผล ตุลาคม พ.ศ. 2561 - มิถุนายน พ.ศ. 2563
6
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุหรัน พันธุ์สวรรค์ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2563 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2564[6]
7
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิดา เทพหินลัพ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 - 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. สำนักงานสภามหาวิทยาลัยพะเยา, คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ 996/2560 เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา [ลิงก์เสีย], วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559
  2. ,สำนักงานสภามหาวิทยาลัยพะเยา, คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ ๔/๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา, ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
  3. สำนักงานสภามหาวิทยาลัยพะเยา, คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ ๑๑๘๙/๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา[ลิงก์เสีย], ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
  4. ,สำนักงานสภามหาวิทยาลัยพะเยา, คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ ๒๕๕๔/๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา, ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
  5. ,สำนักงานสภามหาวิทยาลัยพะเยา, คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ ๓๓๒๒/๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา[ลิงก์เสีย], ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 สำนักงานสภามหาวิทยาลัยพะเยา, คำสั่งมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ 969/2559 เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา (รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา) เก็บถาวร 2017-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]