คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยพะเยา
School of Public Health,
University of Phayao
สถาปนา1 มกราคม พ.ศ. 2564
คณบดีผศ.ดร.สมคิด จูหว้า
ที่อยู่
เว็บไซต์www.ph.up.ac.th

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา (School of Public Health, University of Phayao) เป็นคณะสาธารณสุขศาสตร์ในจังหวัดพะเยา ที่จัดตั้งขึ้นในเขตภาคเหนือตอนบน เดิมสังกัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ต่อมาได้แยกออกมาเป็น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564

ประวัติ[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 2550 สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา จัดตั้งขึ้นเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ซึ่งครอบคลุม 6 จังหวัด ได้แก่ พะเยา เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และน่าน ปีนั้นมีการเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกใน 3 สาขาวิชา คือ เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด และสาธารณสุขศาสตร์

ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานภายในวิทยาเขต เตรียมพร้อมเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ ได้เปลี่ยนชื่อ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา เป็น มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา พร้อมจัดตั้งสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ แยกตัวออกจากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตอันได้แก่ เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด สาธารณสุขศาสตร์ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

หลังจากนั้นสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ได้แยกตัวออกจากสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ จัดตั้งสำนักวิชาแพทยศาสตร์ขึ้น เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เพื่อผลิตบัณฑิตด้านการแพทย์และการสาธารณสุข และเริ่มจัดการเรียนการสอนนิสิตสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ แขนงวิชาอนามัยชุมชน และแขนงวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม และสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 และเริ่มจัดการเรียนการสอนนิสิตสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ในปีการศึกษา 2553 ต่อมาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ได้ยกฐานะขึ้นเป็น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยพะเยา ครั้งที่ 7/2563 เมื่อวันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม 2563 มีมติมอบให้คณะแพทยศาสตร์ ดำเนินการจัดทำโครงสร้างของคณะแพทยศาสตร์ โดยให้แยกหลักสูตรสาขาสาธารณสุขศาสตร์ออกจากหลักสูตรคณะแพทยศาสตร์ และนำเสนอที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยพิจารณาในคราวประชุมครั้งถัดไป ดังนั้น เพื่อให้เกิดการดำเนินงานของคณะแพทยศาสตร์ และการดำเนินงานของหลักสูตรกลุ่มสาธารณสุขศาสตร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ จึงขออนุมัติแยกสำนักงานสาธารณสุขศาสตร์ ออกจากคณะแพทยศาสตร์ และจัดตั้งเป็นคณะสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อผลิตบัณฑิตด้านสาธารณสุขศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน สังคม และท้องถิ่น ให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมฐานความรู้ (Knowledge based society) และระบบภูมิปัญญาสุขภาพท้องถิ่น (Wisdom for Local Health System) การจัดการเรียนการสอนจะนำปัญหาเป็นหลักในการเรียนรู้ (Problem - based leaning) และใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community - based leaning) เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการให้มีขีดความสามารถเพียงพอต่อการบริหารการดำเนินงานทางด้านวิชาการให้นิสิตมีศักยภาพสอดรับกับพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556 โดยมีหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนภายใต้คณะสาธารณสุขศาสตร์ จำนวน 8 หลักสูตร ดังนี้

  • 1) หลักสูตรประดับปริญญาตรี จำนวน 6 หลักสูตร ประกอบด้วย
    • 1.1) หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยชุมชน
    • 1.2) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
    • 1.3) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
    • 1.4) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
    • 1.5) หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต
    • 1.6) หลักสูตรการแพทย์แผนจีนบัณฑิต
  • 2) หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 2 หลักสูตร ประกอบด้วย
    • 2.1) หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
    • 2.2) หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชา[แก้]

  1. สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
  2. สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  3. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (อนามัยสิ่งแวดล้อม)
  4. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (อนามัยชุมชน)
  5. สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
  6. สาขาวิชาการแพทย์แผนจีน

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ปัจจุบันคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เปิดทำการเรียนการสอนในสาขาวิชา ดังต่อไปนี้

ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.)

  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ แขนงวิชาอนามัยชุมชน

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ แขนงวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (พทป.บ.)

  • สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาตรีคู่ขนาน 2 ปริญญา
  • หลักสูตรการแพทย์แผนจีนบัณฑิต (พจ.บ.) สาขาวิชาการแพทย์แผนจีน และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาภาษาจีน
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ แขนงวิชาอนามัยชุมชน และหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ แขนงวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม และหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ แขนงวิชาอนามัยชุมชน และหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ แขนงวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม และหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ และหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิงแวดล้อม

ทำเนียบคณบดี[แก้]

ลำดับที่ รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมคิด จูหว้า 1 มกราคม พ.ศ. 2564 - 18 เมษายน พ.ศ. 2564 (รักษาการแทน)[1]
19 เมษายน พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]