วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยการฝึกหัดครู
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
College of Teacher Education Phranakhon Rajabhat University
สถาปนา12 ตุลาคม พ.ศ. 2435
คณบดีดร.ดิเรก พรสีมา
ที่อยู่
อาคาร24 เลขที่3 หมู่6 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงอนุสาวรีย์
เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220
วารสารวารสารวิทยาลัยการฝึกหัดครู
(J. College of Teachter Education)
สี  สีฟ้า
มาสคอต
ดอกกล้วยไม้
สถานปฏิบัติโรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
เว็บไซต์http://cte.pnru.ac.th/

วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เป็นหน่วยงานระดับคณะ ในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ประวัติ[แก้]

วิทยาลัยการฝึกหัดครู หรือคณะครุศาสตร์ ทำหน้าที่ผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา พร้อมทั้งให้การฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ จึงถือได้ว่าเป็นคณะที่เกิดขึ้นพร้อมกับการสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นสถานศึกษาด้านการฝึกหัดครูแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 ณ บริเวณโรงเลี้ยงเด็ก ตำบลสวนมะลิ ถนนบำรุงเมือง จากนั้นได้ย้ายสถานที่ตั้งไปหลายแห่ง จนกระทั่งวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ได้ย้ายมาอยู่ ณ เลขที่ 3 หมู่ 6 ตำบลอนุสาวรีย์ ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร" ต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ได้รับการยกฐานะเป็น "วิทยาลัยครูพระนคร" และเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) วิชาเอกอุตสาหกรรมศิลป์ โดยแบ่งส่วนราชการการบริหารทางวิชาการเป็นหมวดวิชาต่างๆ และในปี พ.ศ. 2512 ได้เปิดสอนในวิชาเอกต่างๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งหมวดวิชาการศึกษารับผิดชอบจัดการเรียนการสอนวิชาการศึกษาทั้งหมด ต่อมาปี พ.ศ. 2518 มีพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูบังคับใช้ วิทยาลัยครูพระนคร จึงเปิดสอนระดับปริญญาตรีครุศาสตร์ (ค.บ.) และมีการแบ่งหน่วยงานการบริหารทางวิชาการเป็นคณะวิชา หมวดวิชาการศึกษาจึงเป็นเปลี่ยนเป็นคณะวิชาครุศาสตร์ มีหัวหน้าคณะวิชาเป็นผู้รับผิดชอบ ในการบริหารงาน

ในปี พ.ศ. 2527 ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) ซึ่งเป็นฉบับแก้ไขเพิ่มเติม วิทยาลัยครูจึงเปิดสอนสาขาวิชาการอื่นๆ ได้รวมเป็น 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ คณะวิชาครุศาสตร์รับผิดชอบผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษา หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต ต่อมา พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "สถาบันราชภัฏ" เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในสังกัดกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ และปี พ.ศ. 2538 ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราภัฏ วิทยาลัยครูพระนคร จึงใช้ชื่อว่า "สถาบันราชภัฏพระนคร" แบ่งส่วนราชการเป็น 5 คณะ คณะวิชาครุศาสตร์ เป็นชื่อเป็น "คณะครุศาสตร์" โดยมีคณบดีเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงานและแบ่งหน่วยงานย่อยเป็น 7 ภาควิชา มีหัวหน้าภาควิชาเป็นผู้รับผิดชอบ ประกอบด้วย

  • ภาควิชาการศึกษาปฐมวัย
  • ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว
  • ภาควิชาทดสอบและวิจัยการศึกษา
  • ภาควิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
  • ภาควิชาพลศึกษาและนันทนาการ
  • ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา
  • ภาควิชาหลักสูตรและการสอน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 สถาบันราชภัฏพระนคร ได้ปรับรูปแบบการบริหารราชการภายในจึงเปลี่ยนการบริหารจากภาควิชาเป็นโปรแกรมวิชา โดยมีคณะกรรมการบริหารโปรแกรมวิชารับผิดชอบ คณะครุศาสตร์มีทั้งหมด 7 โปรแกรมวิชาซึ่งประกอบด้วย

  • โปรแกรมวิชาการบริหารการศึกษา
  • โปรแกรมวิชาประถมศึกษา
  • โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย
  • โปรแกรมวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว
  • โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
  • โปรแกรมวิชาพลศึกษาและนันทนาการ
  • โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา

ในปี 2549 ได้มีการประกาศกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการขึ้นใหม่ คณะครุศาสตร์จึงเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยการฝึกหัดครู[1] ในปัจจุบัน วิทยาลัยการฝึกหักครู ได้เปิดสอน ทั้งหมด 18 สาขาวิชา ได้แก่

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาชีววิทยา
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สาขาวิชาสังคมศึกษา
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาจิตวิทยา (ศศ.บ. 4 ปี)
  • สาขาวิชาอิสลามศึกษา
  • สาขาวิชาวิจัยและประเมินการศึกษา
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
  • สาขาวิชาสังคมศึกษา (แขนงพระพุทธศาสนา)
  • สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย
  • สาขาวิชาดนตรีไทยศึกษา
  • สาขาวิชาพลศึกษา
  • สาขาวิชาการประถมศึกษา

อาคารเรียนของคณะ[แก้]

  • อาคาร24 (อาคารเรียน และสำนักงานคณบดีวิทยาลัยการฝึกหัดครู)
  • โรงยิมเนเซียม(อาคาร 33 (สำนักงานสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา))
  • ศูนย์กีฬาและสุขภาพ(อาคาร 48)
  • อาคาร10

กิจกรรม ภายในวิทยาลัย[แก้]

  • ค่ายคุณธรรม
  • ปฐมนิเทศ(วิทยาลัยการฝึกหัดครู)
  • รับน้อง ภายในวิทยาลัย (สานสัมพันธ์น้องพี่)
  • ดาว-เดือน วิทยาลัย (ยุวทูตสัมพันธ์)
  • กีฬา Freshy Games
  • กีฬาแม่พิมพ์เกมส์
  • กล้วยไม้เกมส์
  • กีฬากาซะลอง
  • มหกรรมวิชาการ
  • Education Rajabhat Games

หลักสูตรการศึกษา[แก้]