พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์
แผนที่
ก่อตั้ง24 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (69 ปี)
(เปิดอย่างเป็นทางการ)
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 (62 ปี)
(จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ)
ที่ตั้งถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
พิกัดภูมิศาสตร์14°58′19″N 102°05′50″E / 14.972061°N 102.097206°E / 14.972061; 102.097206
ภัณฑารักษ์ กรมศิลปากร
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งตั้งอยู่ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่มีคุณค่าทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ และขนบธรรมเนียมประเพณี

ประวัติ[แก้]

ปี พ.ศ. 2470 สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (อ้วน ติสฺโล) ได้มอบโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่รวบรวมไว้ ให้แก่กรมศิลปากร เพื่อจัดแสดง เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับมรดกศิปวัฒนธรรมของชาติ

ปี พ.ศ. 2497 กรมศิลปากร ได้สร้างอาคารจัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานขึ้น และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2497

ปี พ.ศ. 2504 กรมศิลปากร ประกาศจัดตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ เพื่อถวายเกียรติแด่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์[1]

สิ่งของที่จัดแสดง[แก้]

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ ได้จัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ ที่มีคุณค่าทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ขนบธรรมเนียมประเพณี หลากหลายสมัย คือ

  • สมัยก่อนประวัติศาสตร์
  • สมัยทวารวดี
  • สมัยลพบุรี
  • สมัยอยุธยา
  • สมัยรัตนโกสินทร์

โบราณวัตถุที่จัดแสดง เป็นของที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ได้รวบรวมไว้ และมอบให้กรมศิลปากร ส่วนหนึ่งได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี การขุดแต่ง บูรณะ โบราณสถาน และยังมีสิ่งของที่ประชาชนได้มอบไว้ให้พิพิธภัณฑ์ด้วย[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา. เข้าถึงได้จาก: [1] ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดสถานที่ เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. เล่มที่ 78 ตอนที่ 94 หน้า 2350 .เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2504
  2. "การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์".