อำเภอแก้งสนามนาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอแก้งสนามนาง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Kaeng Sanam Nang
คำขวัญ: 
ปรางค์กู่คู่บ้าน ชมดอกจานสุขใจ สะพานไม้ร้อยปี ปลาลำชีอร่อยหลาย น้ำตาลทรายคุณภาพ
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอแก้งสนามนาง
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอแก้งสนามนาง
พิกัด: 15°45′0″N 102°15′17″E / 15.75000°N 102.25472°E / 15.75000; 102.25472
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครราชสีมา
พื้นที่
 • ทั้งหมด308.00 ตร.กม. (118.92 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด36,754 คน
 • ความหนาแน่น119.33 คน/ตร.กม. (309.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 30440
รหัสภูมิศาสตร์3023
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอแก้งสนามนาง ถนนนิเวศรัตน์ ตำบลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา 30440
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

แก้งสนามนาง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา

ประวัติศาสตร์[แก้]

คำว่า “แก้ง” เป็นภาษาท้องถิ่น ที่ใช้กันของอีสาน หมายถึง “แก่งหินกลางลำน้ำ” ชุมชนที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นอำเภอแก้งสนามนางในทุกวันนี้ มีความสำคัญในฐานะที่ในอดีต อาณาบริเวณนี้ใช้เป็นท่าสำหรับข้ามแม่น้ำชี เพื่อเดินทางไปติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างผู้คนในเขตการปกครองเมืองชัยภูมิ กับผู้คนในเขตบัวใหญ่ (สมัยนั้น) ของเมืองโคราช ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อหรือไปมาหาสู่ ค้าขายหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ชุมชนที่เป็นท่าข้ามลำน้ำชีดำเนินความสำคัญเรื่อยมา จนมาถึงยุคที่มีรถไฟวิ่งมาถึงกลางภาคอีสาน

การนำสินค้าจากจังหวัดชัยภูมิเข้าสู่เมืองหลวง ก็จะลำเลียงข้ามแม่น้ำชีมาขึ้นรถไฟที่อำเภอบัวใหญ่ (ในปัจจุบัน) เพื่อส่งเข้ากรุงเทพฯ ต่อมา รัฐบาลเข้าไปพัฒนาสร้างถนนลูกรัง และ สร้างสะพานเหล็กข้ามลำน้ำชีให้เป็นอีกเส้นทางหนึ่ง เพื่อใช้ติดต่อกันระหว่าง จังหวัดชัยภูมิกับอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2480 และ ใช้เป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าจากชัยภูมิสู่กรุงเทพฯ ด้วยโดยนำมาบรรทุกรถไฟที่สถานีรถไฟบัวใหญ่ จนถึงปี พ.ศ. 2513 ก็รื้อสะพานเหล็กสร้างใหม่เป็นสะพานคอนกรีตปัจจุบันถนนสายนี้กลายเป็นทางหลวงหมายเลข 202

ท่าที่ใช้ข้ามแม่น้ำนี้มักมีชื่อตามแก่งหินน้ำตื้นที่ขวางอยู่กลางลำน้ำในอาณาบริเวณชุมชนนั้น ดังเช่น ท่าข้าม “แก้งโก” (แก่งต้นตะโก) จึงเป็นข้อสังเกตให้เห็นว่า ที่ชุมชนที่ตั้งอยู่ริมแก่งทั้งสองนี้จะมีชื่อตามชื่อแก่งว่า หมู่บ้าน "แก้งขาม"และหมู่บ้าน "แก้งโก"

บ้านแก้งขามถือเป็นตลาดการค้าขนาดย่อมทีเดียว และยังเป็นตลาดรับซื้อปอจากฝั่งชัยภูมิเพื่อส่งไปบรรทุกรถไฟที่บัวใหญ่ด้วย ฉะนั้นจึงเป็นท่าข้ามที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ มาแต่อดีตและ ยาวนานมาจนถึงทุกวันนี้ ห่างจากตลาดแก้งขามเพียง 13 กิโลเมตร ยังมีชุมชนขนาดใหญ่ริมฝั่งน้ำชีอยู่อีกชุมชนหนึ่งที่มีความสำคัญ ในฐานะท่าข้ามที่สำคัญไม่แพ้กันมาแต่อดีต ที่นี่ คือที่ตั้งของ “บ้านแก้งสนามนาง” หมู่บ้านหรือชุมชนแห่งนี้เรียกขนานนามตามชื่อของแก่งหินเหมือนชุมชนอื่น ๆ แต่ด้วยเหตุที่เป็นแก่งหินขนาดใหญ่กลางลำน้ำชีที่ยามหน้าแล้งน้ำลด สาว ๆ หนุ่ม ๆ มักพากันลงเล่นน้ำที่แก่งนี้เป็นที่สนุกสนาน จึงเรียกชื่อชุมชนนี้ว่า “แก้งสนามนาง”

ปัจจุบันเกาะแก่งต่างๆ ที่กล่าวมา ไม่มีให้เห็นกันแล้ว เนื่องจากลำน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงและตื้นเขินในบางช่วง อำเภอแก้งสนามเดิมมีฐานะเป็นตำบลอยู่ในความปกครองของอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา[1]

  • วันที่ 7 มกราคม 2529 ได้แยกพื้นที่ตำบลแก้งสนามนาง ตำบลโนนสำราญ ตำบลบึงพะไล และตำบลสีสุก มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอแก้งสนามนาง ขึ้นกับอำเภอบัวใหญ่ [2]
  • วันที่ 12 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลบึงสำโรง แยกออกจากตำบลบึงพะไล ตำบลแก้งสนามนาง และ ตำบลสีสุก [3]
  • วันที่ 4 พฤศจิกายน 2536 ยกฐานะเป็น อำเภอแก้งสนามนาง [4]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอแก้งสนามนางตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอแก้งสนามนางแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 56 หมู่บ้าน ได้แก่

1. แก้งสนามนาง (Kaeng Sanam Nang) 12 หมู่บ้าน
2. โนนสำราญ (Non Samran) 11 หมู่บ้าน
3. บึงพะไล (Bueng Phalai) 15 หมู่บ้าน
4. สีสุก (Si Suk) 9 หมู่บ้าน
5. บึงสำโรง (Bueng Samrong) 9 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอแก้งสนามนางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบึงสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงสำโรงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแก้งสนามนาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแก้งสนามนางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสำราญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนสำราญทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบึงพะไล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงพะไลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสีสุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสีสุกทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. แก้ง
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแก้งสนามนาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (9 ง): 158. 21 มกราคม 2529. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2010-05-09.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโชคชัย อำเภอครบุรี อำเภอคง อำเภอโนนสูง กิ่งอำเภอแก้งสนามนาง และกิ่งอำเภอหนองบุนนาก จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (พิเศษ 171 ง): 122–155. 21 ตุลาคม 2531.
  4. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลำทับ อำเภอร่องคำ อำเภอเวียงแหง อำเภอนาโยง อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านหลวง อำเภอกะพ้อ อำเภอศรีบรรพต อำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองสูง อำเภอสบเมย อำเภอเมยวดี อำเภอโคกเจริญ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอผาขาว อำเภอวังหิน อำเภอดอนพุด อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอห้วยคต พ.ศ. 2536" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 179 ง): 1–3. 3 พฤศจิกายน 2536. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2010-05-09.