อำเภอจักราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอจักราช
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chakkarat
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 ในเขตอำเภอจักราช ซึ่งได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเมื่อ พ.ศ. 2553
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 ในเขตอำเภอจักราช
ซึ่งได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเมื่อ พ.ศ. 2553
คำขวัญ: 
ลำจักราชคู่บ้าน สืบสานวัฒนธรรม หัตถกรรมจักสาน
ถิ่นอาหารพื้นเมือง กระเดื่องเรื่องมวยไทย
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอจักราช
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอจักราช
พิกัด: 15°0′48″N 102°24′48″E / 15.01333°N 102.41333°E / 15.01333; 102.41333
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครราชสีมา
พื้นที่
 • ทั้งหมด501.7 ตร.กม. (193.7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด71,647 คน
 • ความหนาแน่น142.81 คน/ตร.กม. (369.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 30230
รหัสภูมิศาสตร์3006
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอจักราช ถนนเทศบาล 1 ตำบลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา 30230
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จักราช [จัก-กะ-หฺราด][1] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา และเป็นหนึ่งในหลายอำเภอของจังหวัดที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือพาดผ่าน อำเภอนี้มีแหล่งน้ำที่สำคัญคือลำน้ำจักราช ซึ่งลอดใต้สะพานรถไฟบริเวณทิศตะวันตกของสถานีรถไฟจักราช

ประวัติศาสตร์[แก้]

  • วันที่ 29 ตุลาคม 2457 ตั้ง กิ่งอำเภอท่าช้าง ขึ้นกับอำเภอเมืองนครราชสีมา
  • วันที่ 29 สิงหาคม 2481 โอนพื้นที่ตำบลหนองงูเหลือม กิ่งอำเภอจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา มาขึ้นกับกิ่งอำเภอท่าช้าง อำเภอเมืองนครราชสีมา[2]
  • วันที่ 1 มกราคม 2496 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอจักราช อำเภอเมืองนครราชสีมา เป็น อำเภอจักราช [3]
  • วันที่ 14 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลจักราช ในท้องที่บางส่วนของตำบลจักราช [4]
  • วันที่ 1 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลทองหลาง แยกออกจากตำบลจักราช [5]
  • วันที่ 30 มกราคม 2507 ตั้งตำบลหนองขาม แยกออกจากตำบลสีสุก [6]
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2507 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากบ้านท่าช้าง ตำบลท่าช้าง มาอยู่ที่บ้านจักราช ตำบลจักราช (ที่ทำการปัจจุบัน) [7]
  • วันที่ 25 ธันวาคม 2511 โอนพื้นที่ตำบลหนองพลวง อำเภอพิมาย มาขึ้นกับอำเภอจักราช [8]
  • วันที่ 6 กันยายน 2528 ตั้งตำบลพระพุทธ แยกออกจากตำบลท่าช้าง และตำบลหนองยาง ตั้งตำบลศรีละกอ แยกออกจากตำบลสีสุก [9]
  • วันที่ 6 กรกฎาคม 2530 ตั้งตำบลคลองเมือง แยกออกจากตำบลหนองขาม [10]
  • วันที่ 13 ธันวาคม 2533 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าช้าง ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าช้าง [11]
  • วันที่ 10 กันยายน 2535 ตั้งตำบลช้างทอง แยกออกจากตำบลท่าช้าง และตำบลทองหลาง ตั้งตำบลหินโคน แยกออกจากตำบลจักราช [12]
  • วันที่ 5 ธันวาคม 2539 แยกพื้นที่ตำบลช้างทอง ตำบลท่าช้าง ตำบลพระพุทธ ตำบลหนองงูเหลือม และตำบลหนองยาง อำเภอจักราช ไปตั้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ พร้อมทั้งโอนสุขาภิบาลท่าช้าง ไปขึ้นกับอำเภอเฉลิมพระเกียรติ อีกด้วย [13]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลจักราช เป็น เทศบาลตำบลจักราช

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอจักราชตั้งอยู่ทางทิศของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอจักราชแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 109 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอจักราชประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลจักราช ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลจักราช
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจักราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจักราช (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลจักราช)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทองหลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทองหลางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสีสุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสีสุกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองขามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองพลวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีละกอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีละกอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองเมืองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหินโคน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินโคนทั้งตำบล

การศึกษา[แก้]

โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 2
  • โรงเรียนจักราชราษฎร์สามัคคี ตำบลจักราช
  • ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอจักราช สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ( กศน.) กระทรวงศึกษาธิการ

การขนส่ง[แก้]

อำเภอจักราชมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 พาดผ่าน และมีสถานีรถไฟจักราชเป็นสถานีประจำอำเภอ มีขบวนรถด่วนและรถเร็วหยุดรับ–ส่งผู้โดยสารพอสมควร นอกจากนี้ยังมีสถานีรถไฟบ้านหินโคนซึ่งเป็นย่านสถานีขนาดใหญ่

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2546.
  2. [1]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดนครราชสีมา
  3. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอจักราช อำเภอสัตตหีบ อำเภอศรีสงคราม อำเภอชะอวด อำเภอหนองแซง อำเภอภาชี อำเภอเขาไชยสน อำเภอชุมพลบุรี อำเภอวาริชภูมิ อำเภอสบปราบ และอำเภอสุไหงโกลก พ.ศ. 2496" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (17 ก): 368–371. 10 มีนาคม 2496. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2010-05-14.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (พิเศษ 45 ง): 29–30. 30 พฤษภาคม 2499.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอยางตลาด และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสิทธุ์ อำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอน้ำพอง อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอพล อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อำเภอบัวใหญ่ อำเภอพิมาย และอำเภอจักราชจังหวัดนครราชสีมา อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอศรีมหาโพธิ์ และอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี กับอำเภอตะพานหิน และอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (109 ง): 3084–3117. 23 ธันวาคม 2501.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (18 ง): 343–345. 18 กุมภาพันธ์ 2507.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การย้ายที่ว่าการอำเภอจักราช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (74 ง): 2101. 11 สิงหาคม 2507.
  8. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอพิมายและอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2511" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (119 ก): 967–969. 24 ธันวาคม 2511.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสีคิ้ว อำเภอชุมพวง อำเภอปักธงชัย อำเภอพิมาย อำเภอครบุรี อำเภอบัวใหญ่ อำเภอจักราช และอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (192 ง): 6095–6133. 17 ธันวาคม 2528.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอจักราช ชุมพวงบัวใหญ่ ประทาย ปักธงชัย และสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (140 ง): 5122–5146. 23 กรกฎาคม 2530.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าช้าง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (พิเศษ 177 ง): 4–6. 7 ตุลาคม 2534.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (พิเศษ 151 ง): 24–33. 27 พฤศจิกายน 2535.
  13. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2539" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 1–4. 20 พฤศจิกายน 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2010-05-14.