สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ
สถานีรถไฟชั้น 1
ด้านหน้าสถานี
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย
ชานชาลา3
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการพฤศจิกายน พ.ศ. 2465; 101 ปีที่แล้ว (2465-11)
สร้างใหม่2498 (2498)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
นครราชสีมา สายตะวันออกเฉียงเหนือ บ้านพะเนา
มุ่งหน้า อุบลราชธานี
บ้านเกาะ
มุ่งหน้า หนองคาย
ชุมทางถนนจิระ
Thanon Chira Junction
กิโลเมตรที่ 266.10
บ้านเกาะ
Ban Ko
+6.217 กม.
นครราชสีมา
Nakhon Ratchasima
–2.630 กม.
บ้านพะเนา
Ban Phanao
+10.261 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 266 กิโลเมตร [1] ตั้งอยู่ที่ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เป็นชุมทางรถไฟแยกไปหนองคาย และอุบลราชธานี

ประวัติ[แก้]

สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) และเปิดใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2465 โดยในปี พ.ศ.2460 ได้เริ่มทำการก่อสร้างทางรถไฟต่อจาก สถานีนครราชสีมาไปยังสถานีอุบลราชธานี โดยเป็นทางกว้าง 1.00 เมตร เพื่อให้สอดคล้องกับ ขนาดทางรถไฟจากกรุงเทพ - นครราชสีมา ซึ่งเดิมได้วางเอาไว้ขนาดกว้าง 1.435 เมตร และอยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยน ให้มีความกว้าง 1.00 เมตร เท่ากับเส้นทางสายใต้

เส้นทางสายนี้ นับว่าเป็นการก่อสร้าง ที่ค่อนข้างราบรื่น เพราะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ใช้เจ้าหน้าที่ และคนงานทั้งหมดเป็นคนไทย ไม่มีชาวต่างด้าว กรมรถไฟหลวง ยังคงได้รับความร่วมมือ จากกองทหารช่าง ให้มาช่วยทำการวางราง จากสถานีนครราชสีมา ผ่านสถานีชุมทางถนนจิระ ถึง สถานีท่าช้าง รวมระยะทาง 21 กิโลเมตร และเปิดการเดินรถได้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 เป็นต้นมา หลังจากนั้นได้ก่อสร้างทางรถไฟต่อไปจนถึงสถานีอุบลราชธานี ในปี พ.ศ.2473 รวมระยะทางรถไฟ จากสถานีนครราชสีมา ถึง สถานีอุบลราชธานี ยาว 312 กิโลเมตร

ต่อมากรมรถไฟ ได้ดำเนินการก่อสร้าง ทางรถไฟแยกจากสายนครราชสีมา ที่สถานีชุมทางถนนจิระ ขึ้นไปทางเหนือ สุดปลายทางที่จังหวัดหนองคาย ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับนครเวียงจันทน์ เพื่ออำนวยความสะดวก ในการคมนาคม ติดต่อกับประเทศใกล้เคียง คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เริ่มสร้างราวปี พ.ศ.2470 โดยสามารถสร้างเสร็จและเปิดเดินรถได้ตลอดทางถึงสถานีหนองคาย ในปี พ.ศ.2501 รวมระยะของทางรถไฟสายนี้ ตั้งแต่สถานีชุมทางถนนจิระ ถึง สถานีหนองคาย ยาว 359 กิโลเมตร

ตารางกำหนดเวลาเดินรถ[แก้]

เที่ยวขึ้น[แก้]

ขบวนรถ ต้นทาง ชุมทางถนนจิระ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ร139 กรุงเทพอภิวัฒน์ 19.25 00:32 อุบลราชธานี 06.15
ด67 กรุงเทพอภิวัฒน์ 21.30 02:50 อุบลราชธานี 07.50 งดเดินรถ
ร141 กรุงเทพอภิวัฒน์ 23.05 04:34 อุบลราชธานี 10.20
ท421 นครราชสีมา 06.10 06:15 อุบลราชธานี 12.15
ท415 นครราชสีมา 06.20 06:25 หนองคาย 12.05
ท431 ชุมทางแก่งคอย 05.00 08:34 ขอนแก่น 11.20
ดพ21 กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.10 10:17 อุบลราชธานี 14.00
ท419 นครราชสีมา 11.15 11:18 อุบลราชธานี 16.45
ร135 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.10 12:30 อุบลราชธานี 18.00
ท427 นครราชสีมา 14.20 14:26 อุบลราชธานี 20.15
ด71 กรุงเทพอภิวัฒน์ 10.35 14:47 อุบลราชธานี 19.50
ท417 นครราชสีมา 15.00 16:00 อุดรธานี 20.50
ธ233 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 11.30 17:03 สุรินทร์ 20.00
ท429 นครราชสีมา 17.55 18:00 ชุมทางบัวใหญ่ 19.35
ร145 กรุงเทพอภิวัฒน์ 15.50 21:31 อุบลราชธานี 03.15 งดเดินรถ
ด77 กรุงเทพอภิวัฒน์ 19.05 23:32 หนองคาย 03.45 งดเดินรถ
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวล่อง[แก้]

ขบวนรถ ต้นทาง ชุมทางถนนจิระ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ด68 อุบลราชธานี 19.30 00:19 กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.40 งดเดินรถ
ร140 อุบลราชธานี 20.30 01:25 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.10
ท422 อุบลราชธานี 15.15 07:14 ลำชี 18.15
ธ234 สุรินทร์ 05.20 08:05 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 14.25
ท424 สำโรงทาบ 05.55 09:44 นครราชสีมา 09.55
ด72 อุบลราชธานี 05.40 09:57 กรุงเทพอภิวัฒน์ 14.30
ท416 อุดรธานี 05.50 10:49 นครราชสีมา 11.15
ท428 อุบลราชธานี 06.20 11:41 นครราชสีมา 11.45
ร136 อุบลราชธานี 07.00 12:16 กรุงเทพอภิวัฒน์ 17.55
ร146 อุบลราชธานี 09.30 15:07 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.45 งดเดินรถ
ท432 ขอนแก่น 13.38 17:26 ชุมทางแก่งคอย 20.15
ท426 อุบลราชธานี 12.35 18:19 นครราชสีมา 18.25
ท418 หนองคาย 12.55 18:29 นครราชสีมา 18.35
ดพ22 อุบลราชธานี 14.50 18:30 กรุงเทพอภิวัฒน์ 22.35
ด78 หนองคาย 18.30 22:33 กรุงเทพอภิวัฒน์ 03.50 งดเดินรถ
ร142 อุบลราชธานี 17.35 23:08 กรุงเทพอภิวัฒน์ 04.10
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

สถานที่ใกล้เคียง[แก้]

การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะ[แก้]

รถสองแถวจังหวัดนครราชสีมา[แก้]

  • สาย 4  : สนามม้า - โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์
  • สาย 7  : บ้านโคกไผ่น้อย - หัวทะเล
  • สาย 20  : ตลาดสุรนคร - หนองบัวศาลา

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายชื่อสถานีรถไฟและที่หยุดรถ สายตะวันออกเฉียงเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-26. สืบค้นเมื่อ 2009-10-26.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 14°58′04″N 102°06′06″E / 14.96772°N 102.10174°E / 14.96772; 102.10174

  1. ภาพชานชลาสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ