อำเภอเมืองยาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอเมืองยาง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mueang Yang
คำขวัญ: 
ข้าวปลาบริบูรณ์ ลำน้ำมูลเรืองรอง
แผ่นดินทองพุทธธรรม เลิศล้ำสามัคคี
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอเมืองยาง
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอเมืองยาง
พิกัด: 15°25′24″N 102°54′6″E / 15.42333°N 102.90167°E / 15.42333; 102.90167
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครราชสีมา
พื้นที่
 • ทั้งหมด255.5 ตร.กม. (98.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด27,808 คน
 • ความหนาแน่น108.84 คน/ตร.กม. (281.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 30270
รหัสภูมิศาสตร์3027
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองยาง หมู่ที่ 1 ตำบลเมืองยาง อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา 30270
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เมืองยาง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอเมืองยางตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ[แก้]

ก่อนประวัติศาสตร์[แก้]

ในอดีต อำเภอเมืองยาง เคยเป็นแหล่งที่ตั้งถิ่นฐานชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ตามโคกเนิน จะปรากฏหลักฐานทางโบราณคดี เช่นการพบเครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบในใจกลางเมืองบ้านเมืองยาง และบ้านกระเบื้องนอก พบเศษกระเบื้องเครื่องปั้นดินเผาจำนวนมากในเขตชั้นดินลึกเพียงแค่ 1 เมตร ซึ่งตามรายงานการขุดค้นพบของกรมศิลปากร พบว่าเป็นหลักฐานในยุคหินเก่า อายุประมาณ 3,500 ปี ก่อนประวัติศาสตร์ และในยุคต่อมายังพบเศษซากกู่ปราสาทขนาดเล็กตามเนินเล็กๆที่บ้านเมืองยาง บ้านนางออ นอกจากนี้ที่ตั้งหมู่บ้านเมืองยาง บ้านเมืองเก่า ในปัจจุบันยังมีลักษณะเป็นคูน้ำวงล้อมรอบชุมชน ซึ่งแสดงให้เห็นร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่มาแต่อดีต[1]

ประวัติศาสตร์[แก้]

  • วันที่ 1 เมษายน 2538 ได้แยกพื้นที่ตำบลเมืองยาง ตำบลกระเบื้องนอก ตำบลละหานปลาค้าว และตำบลโนนอุดม มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอเมืองยาง ขึ้นกับอำเภอชุมพวง [2]
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะเป็น อำเภอเมืองยาง [3]

พื้นฐานทางสังคม[แก้]

อำเภอเมืองยาง มีพื้นฐานทางสังคมประกอบด้วยชนพื้นเมือง ผสมผสานกันระหว่างชาวอีสานและชาวโคราช เป็นเขตพื้นที่เชื่อมติดต่อกันระหว่างกลุ่มชนชาวอีสานและชาวโคราชของพื้นที่ภาคอีสาน และมีภาษาถิ่นที่ใช้กันอยู่ทั้งสองภาษา โดยดั้งเดิมกลุ่มชนชาวโคราช ส่วนใหญ่จะมีการอพยพบุกเบิกตั้งถิ่นฐาน มาจากเขตพื้นที่อำเภอพิมาย ในขณะกลุ่มชนชาวอีสานจะเป็นการย้ายมาจากจังหวัดละแวกใกล้เคียง เช่น จ.ร้อยเอ็ด จ.มหาสารคาม จ.ขอนแก่น จ.บุรีรัมย์ โดยชาวโคราชส่วนใหญ่ ซึ่งมักจะเป็นการอพยพบุกเบิกเข้ามาก่อนหรือเป็นกลุ่มชนดั้งเดิม จึงได้เลือกทำเลที่สำคัญ เหมาะสมสำหรับการตั้งชุมชน คือ แม่น้ำมูล ลำสะแทด ทำให้หมู่บ้านที่อยู่ในละแวกพื้นที่ดังกล่าวมักเป็นชุมชนหมู่บ้านชาวโคราช เช่น บ้านครบุรี บ้านกระเบื้องนอก ในขณะที่ชาวอีสานซึ่งเป็นการอพยพ ขยายการตั้งถิ่นฐานมาทีหลัง จึงได้ยึดพื้นที่ตามทำเลที่เหมาะสมอื่น เช่น หนองน้ำ สระน้ำ โคกเนิน เช่น บ้านเมืองยาง บ้านเมืองเก่า ในช่วงต่อๆมาก็มีการขยายการตั้งถิ่นฐานไปเรื่อยๆ กระจัดกระจายกันไป และมีการผสมผสานกันทางเครือญาติ ทั้งภายในชุมชนและระหว่างชุมชน ทำให้พื้นฐานทางสังคมในด้านชุมชนพื้นเมืองเป็นแบบผสม[4]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอเมืองยางแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 46 หมู่บ้าน ได้แก่

1. เมืองยาง 12 หมู่บ้าน (Mueang Yang)
2. กระเบื้องนอก 13 หมู่บ้าน (Krabueang Nok)
3. ละหานปลาค้าว 12 หมู่บ้าน (Lahan Pla Khao)
4. โนนอุดม 9 หมู่บ้าน (Non Udom)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอเมืองยางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเมืองยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองยางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระเบื้องนอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระเบื้องนอกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลละหานปลาค้าว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลละหานปลาค้าวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนอุดม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนอุดมทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. ยาง
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมืองยาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (พิเศษ 9 ง): 58. 22 มีนาคม 2538. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2008-12-27.
  3. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย อำเภอดอนจาน อำเภอนาคู อำเภอสามชัย อำเภอโกสัมพีนคร อำเภอบึงสามัคคี อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอซำสูง อำเภอโนนศิลา อำเภอบ้านแฮด อำเภอเวียงเก่า อำเภอหนองนาคำ อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอคลองเขื่อน อำเภอเกาะจันทร์ อำเภอเนินขาม อำเภอหนองมะโมง อำเภอซับใหญ่ อำเภอดอยหลวง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหล่อ อำเภอแม่ออน อำเภอหาดสำราญ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง อำเภอวังเจ้า อำเภอวังยาง อำเภอเทพารักษ์ อำเภอบัวลาย อำเภอพระทองคำ อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอสีดา อำเภอช้างกลาง อำเภอนบพิตำ อำเภอชุมตาบง อำเภอแม่เปิน อำเภอภูเพียง อำเภอแคนดง อำเภอบ้านด่าน อำเภอสามร้อยยอด อำเภอภูกามยาว อำเภอภูซาง อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอดงเจริญ อำเภอบึงนาราง อำเภอสากเหล็ก อำเภอกุดรัง อำเภอชื่นชม อำเภอเชียงขวัญ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอหนองฮี อำเภอสุขสำราญ อำเภอเขาชะเมา อำเภอนิคมพัฒนา อำเภอบ้านคา อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอหนองหิน อำเภอเอราวัณ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอศิลาลาด อำเภอมะนัง อำเภอบางเสาธง อำเภอโคกสูง อำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอวิภาวดี อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอโนนนารายณ์ อำเภอพนมดงรัก อำเภอศรีณรงค์ อำเภอเฝ้าไร่ อำเภอโพธิ์ตาก อำเภอรัตนวาปี อำเภอสระใคร อำเภอกู่แก้ว อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอนาตาล อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำขุ่น อำเภอสว่างวีระวงศ์ และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. 2550" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. 24 สิงหาคม 2550. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-12-27.
  4. เมืองยาง