ข้ามไปเนื้อหา

เลือดในอุจจาระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เลือดในอุจจาระ
สาขาวิชาวิทยาทางเดินอาหาร
เลือดที่ออกสด ๆ จะมีลักษณะเป็นสีแดงสดผสมอยู่ในอุจจาระ

ในมนุษย์ เลือดในอุจจาระจะดูต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับว่ามันออกเข้าไปในทางเดินอาหารในส่วนใดเพราะก็จะได้ย่อยไปในระดับต่าง ๆ กัน และขึ้นอยู่กับว่าไหลออกมากเท่าไร โดยคำอาจมุ่งกล่าวถึงอุจจาระดำ (melena) ซึ่งปกติจะมาจากเลือดที่ไหลออกจากทางเดินอาหารส่วนบน (upper gastrointestinal bleeding) หรือมุ่งกล่าวถึงเลือดออกสด ๆ (hematochezia) ที่มีสีแดงสดและมาจากทางเดินอาหารส่วนล่าง (lower gastrointestinal bleeding)[1] การประเมินเลือดที่พบในอุจจาระจะขึ้นอยู่กับลักษณะต่าง ๆ รวมทั้งสี ปริมาณ และลักษณะอื่น ๆ ซึ่งอาจชี้แหล่งกำเนิด อย่างไรก็ดี เลือดแม้เพราะโรคหนักก็อาจมีสภาพที่คลุมเครือ หรือมีลักษณะเหมือนกับเลือดที่มาจากอีกส่วนหนึ่งของทางเดินอาหาร[1][2] แต่คำว่า "blood in stool" (เลือดในอุจจาระ) ทางการแพทย์ ปกติจะหมายถึงเลือดที่เห็นได้ คือไม่ใช่เลือดแฝงในอุจจาระซึ่งจะพบก็ต่อเมื่อตรวจร่างกายหรือทดสอบอุจจาระด้วยสารเคมี ในทารกเกิดใหม่ Apt test สามารถใช้แยกแยะระหว่างเลือดของทารกในอุจจาระจากเลือดของแม่ โดยอาศัยความแตกต่างของเฮโมโกลบินของทารกในครรภ์/เกิดใหม่ (fetal hemoglobin) เทียบกับของผู้ใหญ่[3][4]

การวินิจฉัยแยกโรค

[แก้]
ทางเดินอาหารส่วนบนแบ่งจากส่วนล่างที่จุดต่อระหว่างลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) กับส่วนกลาง (jejunum)[5] ดังนั้น ลำไส้เล็กจึงเป็นส่วนของทั้งทางเดินอาหารส่วนบนและส่วนล่าง อวัยวะอื่น ๆ ที่มีส่วนในการย่อยอาหารรวมตับ ถุงน้ำดี และตับอ่อน[6] เลือดที่เข้าไปในทางเดินอาหารส่วนบนต้องดำเนินไปไกลกว่า ดังนั้น จึงผ่านส่วนในระบบทางเดินอาหารมากกว่า และอาจได้ย่อยเป็นบางส่วนจนกลายเป็นอุจจาระดำ[7] ส่วนเลือดสด ๆ โดยทั่วไปจะเกิดในส่วนที่ต่ำกว่าของทางเดินอาหาร และจะอยู่ใกล้ทวารหนักมากกว่า แต่การมีเลือดออกมากในทางเดินอาหารส่วนบน ก็ทำให้เห็นเป็นเลือดสด ๆ เช่นกัน[7]

เลือดในอุจจาระอาจมาจากที่ต่าง ๆ หลายแหล่ง โดยอาจมีเหตุที่ไม่มีโทษอะไรจนกระทั่งเป็นปัญหาหนักมาก วิธีการแยกแยะเหตุที่ทำให้เลือดออกก็คือแยกแยะแหล่งที่เลือดออก ทางเดินอาหาร (gastrointestinal tract) สามารถแบ่งออกเป็นส่วนบน (upper) และส่วนล่าง (lower)[8][9] เลือดในอุจจาระบ่อยครั้งจะปรากฏแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด ซึ่งอาจช่วยวินิจฉัยปัญหา อัตราการออกของเลือดก็อาจทำให้ดูต่างกับกรณีทั่วไปด้วย[2][10]

ทางเดินอาหารส่วนบน

[แก้]

ทางเดินอาหารส่วนบนหมายถึงอวัยวะที่มีส่วนเกี่ยวกับการย่อยอาหารเหนือ suspensory muscle of duodenum (ligament of Treitz) โดยประกอบด้วยหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น[8] เลือดออกที่ทางเดินอาหารส่วนบน (upper gastrointestinal bleeding) ปกติจะกำหนดโดยอุจจาระดำ (melena) แต่ก็อาจเห็นเลือดสีแดงถ้าเลือดออกไม่หยุดและเร็ว[11]

ทางเดินอาหารส่วนล่าง

[แก้]

เลือดที่ออกในทางเดินอาหารส่วนล่างปกติจะปรากฏเป็นเลือดสดโดยเป็นปัญหาหนักเบาไม่เท่ากัน[2] เลือดที่ไหลออกช้า ๆ จากลำไส้ใหญ่ส่วนที่วิ่งขึ้น อาจจะถูกย่อยไปโดยส่วนหนึ่งและปรากฏเป็นอุจจาระดำเช่นกัน[10]

พยาธิสรีรวิทยา

[แก้]

การมีเลือดอยู่ในอุจจาระอาจมีเหตุหลายอย่าง ซึ่งสามารถแบ่งเป็นหมวดต่าง ๆ หมวดกว้าง ๆ รวมส่วนยื่นที่จะเป็นมะเร็ง (cancerous processes) หรือผนังลำไส้ที่ผิดปกติ, โรคที่ทำให้อักเสบ (inflammatory disease), ลำไส้ใหญ่อักเสบ (colitis) จากการติดเชื้อหรือจากยา, และหลอดเลือดมีปัญหา (vascular compromise)[10]

มะเร็ง/เนื้องอก

[แก้]

การเปลี่ยนแปลงของผนังลำไส้

[แก้]
การบีบตัว (motility)
[แก้]

ผนังลำไส้สำคัญในการเคลื่อนของของเสียไปตามทางเดินอาหาร การพยายามเบ่งถ่ายซ้ำ ๆ อาจทำให้เนื้อเยื่อที่ไส้ตรงฉีกขาดเป็นแผลที่ทวารหนัก (anal fissure)

โดยโครงสร้าง
[แก้]

รายการนี้รวมโรคที่ผนังลำไส้เปลี่ยนไปเพราะโรค[10]

  • โรคแผลเปื่อยเพปติก (peptic ulcer disease)[21][11][22][23] โดยแบ่งออกเป็นแผลเปื่อยที่ลำไส้เล็กส่วนต้นหรือที่กระเพาะอาหาร เหตุสามัญที่สุดรวมทั้ง
  • Diverticulitis[A][29] และ diverticulosis[B][33] ซึ่งเกิดจากกระเป๋า (pouch) ที่ยื่นออกจากผนังลำไส้ แล้วทำให้ผนังลำไส้อ่อนแอและเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากแบคทีเรียที่อยู่ในทางเดินอาหาร และดังนั้น ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาเส้นเลือด (vascular compromise), การสะสมแบคทีเรียที่ที่ลำไส้ทะลุ (เป็นฝี), การเกิดช่องทะลุ (fistula) ต่อกับอีกส่วนหนึ่งของทางเดินอาหาร, และการอุดตันของลำไส้[29]
  • ถุงยื่น คือ Meckel's diverticulum เป็นส่วนเหลือแต่กำเนิดของท่อ omphalomesenteric duct ที่เชื่อมถุงไข่แดง (yolk sac) ของทารกในครรภ์กับลำไส้ และปกติจะปิดแล้วทำลายในช่วงพัฒนาการ แต่ถ้าท่อยังคงอยู่แม้แต่เป็นบางส่วน ก็อาจจะเกิดถุงยื่นหรือช่องทะลุ ซึ่งก็จะเสี่ยงเป็นแหล่งให้เลือดออก[34]
ลำไส้อักเสบ (Inflammatory bowel)
[แก้]

โรคที่ทำให้ทางเดินอาหารอักเสบอาจทำให้มีเลือดในอุจจาระ[35] เช่น การอักเสบอาจเกิดขึ้นในทางเดินอาหารที่ไหนก็ได้เนื่องจากโรค Crohn's disease[36] และเกิดในลำไส้ใหญ่ถ้ามีลำไส้ใหญ่อักเสบแบบมีแผล (ulcerative colitis)[37]

  • Crohn's disease[38]
  • ลำไส้ใหญ่อักเสบแบบมีแผล (ulcerative colitis)[39][40][41]

ลำไส้อักเสบ

[แก้]
ลำไส้ใหญ่อักเสบแบบติดเชื้อ
[แก้]
  • อาหารเป็นพิษ - แบคทีเรียที่สัมพันธ์กับอาการท้องร่วงแบบมีเลือดก็คือ E. coli
  • ลำไส้เล็กอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Campylobacter (Campylobacter enteritis)[43]
  • โรคบิดจากเชื้อชิเกลลา[44]
  • การติดเชื้อ Salmonella ทั่วกาย (Salmonellosis) รวมทั้ง Salmonella enteritis และ Salmonella enterocolitis[45][46]
  • กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (bacterial gastroenteritis)[47]
    • จากแบคทีเรีย Campylobacter jejuni
    • จากแบคทีเรียที่สร้างสปอร์ คือ Clostridium dificile
    • ลำไส้เล็กอักเสบเหตุ Escherichia coli ซึ่งเป็นเหตุท้องร่วงของผู้เดินทางไกลมากที่สุด[48]
    • จากแบคทีเรีย Salmonella enterica
    • จากแบคทีเรีย Shigella dysenteriae[44] (ดูเพิ่มที่โรคบิด)
    • จากแบคทีเรีย Staphylococcus aureus[42]
ลำไส้เล็กอักเสบเหตุการรักษา
[แก้]
  • ลำไส้เล็กอักเสบเหตุการฉายรังสี (radiation enteritis)[49]

ปัญหาเส้นเลือด (vascular compromise)

[แก้]

เหตุอื่น ๆ

[แก้]
  • เลือดในอาหาร เช่น อาหารตามประเพณีของคนมาซายมักรวมเลือดที่ได้จากวัวควาย

การประเมิน/การตรวจ

[แก้]

การตรวจหาเลือดที่พบในอุจจาระจะขึ้นอยู่กับลักษณะเลือด (สี ปริมาณเป็นต้น) และถ้าบุคคลนั้นมีความดันต่ำบวกกับอัตราการเต้นหัวใจที่สูงขึ้นหรือไม่[2] การตรวจต่อไปนี้จะใช้ร่วมกันเพื่อกำหนดจุดที่เลือดออก

อุจจาระดำ (melena) ก็คืออุจจาระที่มีสีเข้ม คล้ายน้ำมันดิน เนื่องจากมีการย่อยเม็ดเลือดแดงเป็นบางส่วน[1] ส่วนเลือดสด ๆ (hematochezia) ก็คือเลือดสีแดงที่เห็นในส้วม ไม่ว่าจะอยู่ในอุจจาระหรือรอบ ๆ อุจจาระ[1] โดยเลือดปกติจะสันนิษฐานว่า มาจากทางเดินอาหารส่วนล่าง ซึ่งในเบื้องต้นจะตรวจไส้ตรงโดยใช้นิ้วคลำและตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ ซึ่งถ้าพบผลบวก ก็จะตรวจด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อไป[1][11][10][2] แต่ถ้ามีเลือดสดมากในอุจจาระ การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (EGD) ก็อาจจำเป็น[1][2][11][10] ถ้าไม่พบแหล่งเลือดออกด้วยวิธีตรวจเหล่านี้ แพทย์อาจส่องกล้องโดยแคปซูลเพื่อตรวจลำไส้เล็กให้ละเอียดขึ้น ซึ่งไม่สามารถเห็นได้ด้วยวิธีตรวจอื่น ๆ[10]

สำหรับอุจจาระดำ แพทย์จะตรวจไส้ตรงโดยใช้นิ้วคลำและตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ แต่ถ้าสงสัยว่ามีเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนบน ก็อาจจะส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (EGD) ก่อนแล้วตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ ทีหลังถ้ายังไม่สามารถกำหนดจุดที่เลือดออก[11][10]

การตรวจทวารหนักด้วยกล้อง (anoscopy) เป็นวิธีตรวจอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถใช้รวมกับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) เป็นวิธีที่ตรวจไส้ตรงและส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ส่วนที่วิ่งลง[1][2]

สี ศัพท์แพทย์ ความบ่อย ปริมาณ ตัวอย่างของแหล่งเลือด
แดงสด Hematochezia
(เลือดออกสด ๆ)[1]
เป็นครั้งคราว น้อย โรคริดสีดวงทวาร, อาการอักเสบต่าง ๆ, ติ่งเนื้อเมือก[2]
แดงสด Hematochezia
(เลือดออกสด ๆ)[1]
อุจจาระเพิ่มขึ้น มีเลือดทุกครั้ง จำนวนมาก เลือดออกเร็ว เช่น แผลเปื่อย (ulcer), varice[D][2][11]
แดงเข้ม/ดำ อุจจาระดำ (melena)[1] มีเลือดเมื่อถ่ายทุกครั้ง บอกได้ยากเพราะรวมอยู่กับอุจจาระ เลือดออกช้า ๆ, มะเร็ง, แผลเปื่อย, แต่การใช้ยา peptobismol และการทานธาตุเหล็ก ก็อาจก่ออาการนี้[11]

ลักษณะอื่น ๆ

[แก้]

อุจจาระอาจมีเมือกด้วย[2] อุจจาระที่เหมือนกับน้ำมันดินทั่วไปจะเป็นพร้อมกับอุจจาระดำซึ่งเกิดเนื่องจากเลือดที่ได้ย่อยสลายเป็นบางส่วน[1]

อายุคนไข้

[แก้]

อายุของคนไข้เป็นเรื่องสำคัญเมื่อประเมินว่าอะไรเป็นเหตุให้เลือดออก[2]

อายุ กลุ่ม แหล่งเลือดที่พิจารณา
<20 ปี เด็ก/เยาวชน ปัญหาพันธุกรรม/ภูมิต้านตนเอง หรือปัญหาอวัยวะ/โครงสร้าง
20-60 ปี ผู้ใหญ่ ปัญหาพันธุกรรม/ภูมิต้านตนเอง สภาวะวิรูปของหลอดเลือด
>60 ปี ผู้สูงอายุ สภาวะวิรูปของหลอดเลือด โรคตับ มะเร็ง

การรักษา

[แก้]

การรักษาปัญหาเลือดในอุจจาระโดยมากขึ้นอยู่กับเหตุที่ทำให้เลือดออก เลือดออกมักทำให้ล้า เวียนศีรษะ ปวดหัว หรือแม้แต่หายใจไม่ออก โดยอาการเหล่านี้ก็จะต้องรักษาด้วย[55][56] เป็นอาการจากการเสียเลือด เกิดเพราะขาดเม็ดเลือดแดง ทำให้มีออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ น้อยลง[57][56] เลือดในอุจจาระสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนหนักโดยเป็นผลของการตกเลือด หรือการเสียเลือดอย่างช้า ๆ ซึ่งทำให้มีเฮโมโกลบินต่ำในเลือด (โลหิตจาง)[57]

โลหิตจาง

[แก้]

โลหิตจางเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามัญเมื่อมีเลือดในอุจจาระ โดยเฉพาะเมื่อมีจำนวนมากหรือมีเป็นระยะเวลานาน[57] และก็สัมพันธ์อย่างสามัญกับภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กด้วย เนื่องจากความสำคัญของเหล็กในการสร้างเม็ดเลือดแดง[56] เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าโลหิตจางเนื่องจากมีเลือดในอุจจาระ ปกติก็จะให้วิตามินที่สำคัญในการสร้างเลือดด้วย รวมทั้งกรดโฟลิก วิตามินบี12 และวิตามินซี[56]

การรักษาโดยเฉพาะ

[แก้]

การรักษาการเลือดออกในบางกรณีสามารถทำได้เลยเมื่อกำลังตรวจวินิจฉัย เลือดออกที่เกิดจากเนื้องอกสามารถรักษาเมื่อส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) แล้วตัดออก รักษาด้วยการผ่าตัด และด้วยวิธีอื่น ๆ โดยขึ้นอยู่กับรูปแบบและระยะของมะเร็ง[58] เช่นเดียวกัน มะเร็งกระเพาะอาหารก็สามารถรักษาขึ้นอยู่กับระยะ แม้ปกติจะต้องผ่าตัดและทำการบำบัดอย่างอื่น ๆ[59]

การรักษาปัญหาการบีบตัวของลำไส้ (motility) ซึ่งทำให้ท้องผูก ปกติก็เพื่อปรับการดำเนินของของเสียผ่านทางเดินอาหาร โดยใช้ยาที่ทำให้อุจจาระนิ่ม (stool softeners) ซึ่งออกฤทธิ์โดยการดูดน้ำให้เข้าไปในอุจจาระในลำไส้ใหญ่, โดยเพิ่มใยอาหาร, และโดยใช้ยาระบาย (osmotic laxative) ที่เพิ่มการบีบตัวของลำไส้ใหญ่โดยทั่วไป

การเพิ่มการบีบตัวของกระเพาะลำไส้โดยทั่วไปจะทำให้เบ่งน้อยลงเมื่ออุจจาระและลดโอกาสเสี่ยงการมีแผลที่ทวารหนัก[60] ซึ่งสัมพันธ์กับความเจ็บและเลือดที่กระดาษชำระ เป็นวิธีที่ต้องใช้เวลาเพื่อให้หายดี[61] การรักษารวมทั้งยาทาขยายหลอดเลือดคือ Nitrovasodilator หรือแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ และการผ่าตัดในกรณีที่เรื้อรังหรือซับซ้อน[61]

เหมือนกับแผลที่ทวารหนัก ริดสีดวงภายในสามารถทำให้เลือดออกซึ่งเห็นบนกระดาษชำระ โดยสามารถคลำตรวจได้ที่ทวารหนัก การรักษาริดสีดวงจะขึ้นอยู่กับว่ามีเหตุที่เป็นมูลฐานหรือไม่ โรคริดสีดวงเนื่องจากหลอดเลือดดำบวมที่ทวารหนัก (anorectal varices) เพระเหตุตับแข็ง จะรักษาอาการได้โดยบ่อยครั้งต้องตัดออก[53]

ส่วนลำไส้ใหญ่อักเสบสามารถแบ่งเป็นแบบติดเชื้อและแบบเกิดเพราะยา และรักษาตามเหตุ แบบติดเชื้อ การรักษาจะขึ้นอยู่กับเชื้อที่ติด โดยปกติจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ แบบเกิดเพราะยา การรักษาก็คือเลิกยาที่ใช้ เช่น โรคแผลเปื่อยเพปติก (PUD) ที่เกิดจากยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์[24] อย่างไรก็ดี การเลิกฉายรังสีสำหรับคนไข้มะเร็งเป็นสิ่งที่ปฏิบัติไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ[62]

ปัญหาทางอวัยวะ/โครงสร้างที่ทำให้เลือดออกในอุจจาระมาจากเหตุหลายอย่าง ดังนั้น การรักษาก็จะต่าง ๆ กัน โรคแผลเปื่อยเพปติกเพียงอย่างเดียวก็มีเหตุหลายอย่าง แต่โดยทั่วไปก็จะควบคุมด้วยยายับยั้งการหลั่งกรดและอาจเพิ่มสารต้านตัวรับเอช2 หรือในกรณีหนัก อาจต้องผ่าตัด[11] ส่วน diverticulitis[A] และ diverticulosis[B] จะต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ และอาจต้องผ่าตัด[29] ส่วนโรคลำไส้อักเสบ (IBD) ก็แบ่งออกเป็นภาวะต่าง ๆ เช่นกัน คือแบ่งเป็นลำไส้อักเสบแบบมีแผล (ulcerative colitis) และ Crohn's disease ซึ่งรักษาต่างกันและอาจต้องผ่าตัดในกรณีที่หนัก[36]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 diverticulitis หรือ colonic diverticulitis เป็นโรคทางเดินอาหาร ที่ส่วนยื่นออกจากเยื่อเมือกและชั้นใต้เยื่อเมือกของลำไส้ใหญ่เนื่องจากกล้ามเนื้อผนังลำไส้ไม่แข็งแรง เกิดการอักเสบ[26] อาการปกติรวมการปวดท้องด้านล่างที่เกิดอย่างฉับพลัน แต่ก็อาจใช้เวลาเกิดเป็นเวลา 2-3 วัน[26] ในอเมริกาเหนือและยุโรป มักจะปวดท้องทางด้านซ้าย และในเอเชีย บ่อยครั้งจะปวดทางด้านขวา[27][28] บางครั้งจะเป็นไข้ คลื่นไส้ ท้องร่วง ท้องผูก หรือมีเลือดในอุจจาระ[26] และอาจเกิดอย่างซ้ำ ๆ[27]
  2. 2.0 2.1 Diverticulosis เป็นภาวะที่ลำไส้ใหญ่เกิดกระเป๋า/ช่อง/ซอก (คือ diverticula) หลายอันที่ไม่ได้อักเสบ เป็นส่วนยื่นออกจากเยื่อเมือกและชั้นใต้เยื่อเมือกของลำไส้ใหญ่เนื่องจากกล้ามเนื้อผนังลำไส้ไม่แข็งแรง[30] ซึ่งปกติจะไม่มีอาการอะไร ๆ[31] จะเป็น Diverticular disease ก็ต่อเมื่อช่องเหล่านี้อักเสบ คือเป็น diverticulitis หรือเมื่อเลือดออก[32]
  3. ในวิทยาการทางเดินอาหาร angiodysplasia เป็นสภาวะวิรูปของหลอดเลือดแดงเล็กในท้อง เป็นเหตุสามัญของการเลือดออกในกระเพาะลำไส้และโลหิตจางที่ไม่มีสาเหตุอื่น ๆ รอยโรคมักจะเป็นหลายจุด และบ่อยครั้งจะเป็นที่กระพุ้งไส้ใหญ่ (cecum) หรือลำไส้ใหญ่ส่วนที่วิ่งขึ้น แต่ก็เกิดที่อื่น ๆ ได้เหมือนกัน
  4. 4.0 4.1 esophageal varices หรือ oesophageal varices เป็นเส้นเลือดดำใต้เยื่อเมือกในหลอดอาหาร 1/3 ส่วนล่างซึ่งพองอย่างมาก[50] บ่อยครั้งเป็นผลของ portal hypertension (ความดันในระบบหลอดเลือดดำที่วิ่งไปจากทางเดินอาหารไปยังตับ) โดยปกติเนื่องจากตับแข็ง คนไข้ที่มีอาการนี้โน้มเอียงในการเลือดออกสูง ปกติตรวจวินิจฉัยได้โดยส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนบน (EGD)[51]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 Wilson (1990), chapter 85
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 Cotter, Thomas G.; Buckley, Niamh S.; Loftus, Conor G. (2017). "Approach to the Patient With Hematochezia". Mayo Clinic Proceedings. 92 (5): 797–804. doi:10.1016/j.mayocp.2016.12.021.
  3. "Hemoglobin F". phpa.health.maryland.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-12-06.
  4. "Apt-Downey test". www.allinahealth.org. 2016-03-29. สืบค้นเมื่อ 2017-12-06.
  5. pmhdev. "Lower Gastrointestinal Tract - National Library of Medicine". PubMed Health. สืบค้นเมื่อ 2017-12-02.
  6. pmhdev. "Gastrointestinal Tract - National Library of Medicine". PubMed Health. สืบค้นเมื่อ 2017-12-02.
  7. 7.0 7.1 Wilson, I. Dodd (1990). Walker, H. Kenneth; Hall, W. Dallas; Hurst, J. Willis (บ.ก.). Clinical Methods: The History, Physical, and Laboratory Examinations (3rd ed.). Boston: Butterworths. ISBN 040990077X. PMID 21250251. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  8. 8.0 8.1 pmhdev. "Upper Gastrointestinal Tract - National Library of Medicine". PubMed Health. สืบค้นเมื่อ 2017-11-25.
  9. pmhdev. "Lower Gastrointestinal Tract - National Library of Medicine". PubMed Health. สืบค้นเมื่อ 2017-11-25.
  10. 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 Harrison's Principles of Internal Medicine (19e ed.). New York, NY: McGraw-Hill. 2014. Part 14: The Gastrointestinal System, Chs 344,345,348,351,353,365. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 11.7 Moses, Scott (MD). "Upper Gastrointestinal Bleeding". www.fpnotebook.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-26.
  12. "What are Colon Cancer Symptoms". Coloncancer.about.com. 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31.
  13. "Colon cancer: Symptoms". MayoClinic.com. 2011-08-13. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31.
  14. Lenz, Heinz-Josef (2009-03-06). "What are Early Symptoms of Colorectal Cancer? Watch out for Small Changes". Alexandria, Virginia: Fight Colorectal Cancer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-10. สืบค้นเมื่อ 2013-02-23.
  15. "Colon Cancer Symptoms - Colorectal Cancer Symptoms". Webmd.com. 2010-10-31. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31.
  16. "Crohn's Disease: Inflammatory Bowel Diseases (IBD) : Merck Manual Home Edition". Merckmanuals.com. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31.
  17. Gastric Cancer จาก eMedicine
  18. Chatoor, D; Emmnauel, A (2009). "Constipation and evacuation disorders". Best Pract Res Clin Gastroenterol. 23 (4): 517–30. doi:10.1016/j.bpg.2009.05.001. PMID 19647687.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  19. American Gastroenterological Association; Bharucha, AE; Dorn, SD; Lembo, A; Pressman, A (2013-01). "American Gastroenterological Association medical position statement on constipation". Gastroenterology (Review). 144 (1): 211–17. doi:10.1053/j.gastro.2012.10.029. PMID 23261064. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  20. "Complications". nhs.uk (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2017-12-06.
  21. MD, Scott Moses, (2017-11-05). "Gastrointestinal Bleeding". www.fpnotebook.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-26.{{cite web}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  22. "Peptic ulcer: Symptoms". MayoClinic.com. 2011-01-06. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31.
  23. 23.0 23.1 23.2 Moses, Scott (MD) (2017-11-05). "Peptic Ulcer Disease". www.fpnotebook.com (ภาษาอังกฤษ).
  24. 24.0 24.1 Wallace, J. L. (2000-02). "How do NSAIDs cause ulcer disease?". Bailliere's Best Practice & Research. Clinical Gastroenterology. 14 (1): 147–159. doi:10.1053/bega.1999.0065. PMID 10749095. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  25. Testerman, Traci L; Morris, James (2014-09-28). "Beyond the stomach: An updated view of Helicobacter pylori pathogenesis, diagnosis, and treatment". World Journal of Gastroenterology. 20 (36): 12781–12808. doi:10.3748/wjg.v20.i36.12781. ISSN 1007-9327. PMC 4177463. PMID 25278678.
  26. 26.0 26.1 26.2 "Diverticular Disease". niddk.nih.gov. 2013-09. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  27. 27.0 27.1 "Diverticulosis today: unfashionable and still under-researched". 2016. PMID 26929783. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  28. Feldman, Mark (2010). Sleisenger & Fordtran's Gastrointestinal and liver disease pathophysiology, diagnosis, management (9th ed.). MD Consult. p. 2084. ISBN 9781437727678.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  29. 29.0 29.1 29.2 Linzay, Catherine D.; Pandit, Sudha (2017). StatPearls. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing. PMID 29083630.
  30. "Diverticulosis and Diverticulitis". 2016. PMID 27156370. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  31. "Diverticular Disease". niddk.nih.gov. 2013-09. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  32. "Review article: the pathophysiology and medical management of diverticulosis and diverticular disease of the colon". 2015-07. PMID 26202723. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  33. "Diverticulitis: Diverticular Disease: Merck Manual Home Edition". Merckmanuals.com. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31.
  34. Sagar, Jayesh; Kumar, Vikas; Shah, D K (2006-10). "Meckel's diverticulum: a systematic review". Journal of the Royal Society of Medicine. 99 (10): 501–505. doi:10.1258/jrsm.99.10.501. ISSN 0141-0768. PMC 1592061. PMID 17021300. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  35. "Learn the Facts About Crohn's Disease". Crohn’s and Colitis. สืบค้นเมื่อ 2017-12-06.
  36. 36.0 36.1 "What is Crohn's Disease | Causes of Crohn's | Crohn's & Colitis Foundation". www.crohnscolitisfoundation.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-12-06.
  37. "Ulcerative Colitis". NIDDK. 2014-09. สืบค้นเมื่อ 2017-12-06. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  38. "Crohn's disease: Symptoms". MayoClinic.com. 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31.
  39. Travis, SP; Higgins, PD; Orchard, T; Van Der Woude, CJ; Panaccione, R; Bitton, A; O'Morain, C; Panés, J; Sturm, A; Reinisch, W; Kamm, MA; D'Haens, G (2011-07). "Review article: defining remission in ulcerative colitis". Aliment Pharmacol Ther (Review). 34 (2): 113–24. doi:10.1111/j.1365-2036.2011.04701.x. PMID 21615435. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  40. Walmsley, R.S.; Ayres, R.C.S.; Pounder, R.E.; Allan, R N (1998). "A simple clinical colitis activity index". Gut. 43 (1): 29–32. doi:10.1136/gut.43.1.29. ISSN 0017-5749. PMC 1727189.
  41. Walmsley, R S; Ayres, R.C.S.; Pounder, R E; Allan, R.N. (1998). "A simple clinical colitis activity index: Table One". Gut. 43 (1): 29–32. doi:10.1136/gut.43.1.29. ISSN 0017-5749. PMC 1727189. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-17. สืบค้นเมื่อ 2016-05-24.
  42. 42.0 42.1 MedlinePlus Encyclopedia Enteritis
  43. MedlinePlus Encyclopedia Campylobacter infection
  44. 44.0 44.1 "Shigellosis". National Center for Emerging and Zoonotic Infectious Diseases, Centers for Disease Control and Prevention.
  45. MedlinePlus Encyclopedia Salmonella enterocolitis
  46. "Salmonella infection: Symptoms". MayoClinic.com. 2011-04-16. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31.
  47. MedlinePlus Encyclopedia Bacterial gastroenteritis
  48. MedlinePlus Encyclopedia E. coli enteritis
  49. MedlinePlus Encyclopedia Radiation enteritis
  50. Rubin's Pathology: Clinicopathologic Foundations of Medicine. p. 612. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  51. "The role of endoscopy in portal hypertension". 2005. PMID 15920321. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  52. "Esophageal varices: Symptoms". MayoClinic.com. 2010-10-30. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31.
  53. 53.0 53.1 "Hemorrhoids". National Digestive Diseases Information Clearinghouse, National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases, National Institutes of Health. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-11. สืบค้นเมื่อ 2018-09-14.
  54. "Hemorrhoids: Symptoms". Mayo Clinic.
  55. pmhdev. "Anemia - National Library of Medicine". PubMed Health. สืบค้นเมื่อ 2017-12-09.
  56. 56.0 56.1 56.2 56.3 "Anemia - Symptoms and causes - Mayo Clinic". www.mayoclinic.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-12-09.
  57. 57.0 57.1 57.2 "Anemia | Symptoms and Conditions | MUSC DDC". ddc.musc.edu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-12-07.
  58. "Treatment of Colon Cancer, by Stage". www.cancer.org. สืบค้นเมื่อ 2017-12-09.
  59. "Treatment Choices by Type and Stage of Stomach Cancer". www.cancer.org. สืบค้นเมื่อ 2017-12-09.
  60. "Constipation - Diagnosis and treatment - Mayo Clinic". www.mayoclinic.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-12-09.
  61. 61.0 61.1 McCallion, K.; Gardiner, K. R. (2001-12-01). "Progress in the understanding and treatment of chronic anal fissure". Postgraduate Medical Journal (ภาษาอังกฤษ). 77 (914): 753–758. doi:10.1136/pmj.77.914.753. ISSN 0032-5473. PMC 1742193. PMID 11723312.
  62. Stacey, Rhodri; Green, John T. (2014-01). "Radiation-induced small bowel disease: latest developments and clinical guidance". Therapeutic Advances in Chronic Disease. 5 (1): 15–29. doi:10.1177/2040622313510730. ISSN 2040-6223. PMC 3871275. PMID 24381725. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)