ข้ามไปเนื้อหา

โรคโครห์น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคโครห์น
ชื่ออื่นCrohn syndrome, regional enteritis
ลำไส้เล็กส่วนปลาย, หลอดเลือดแดงอิลีโอโคลิกและลำไส้ใหญ่เป็นสามจุดที่มักจะเกี่ยวข้องกับโรคโครห์น
สาขาวิชาวิทยาทางเดินอาหาร
อาการปวดท้อง, ท้องร่วง (อาจมีเลือดปน), ไข้, น้ำหนักลด[1]
ภาวะแทรกซ้อนโลหิตจาง, ผื่น, ข้ออักเสบ, มะเร็งลำไส้ใหญ่[1]
การตั้งต้นอายุ 20-30 ปี[2]
ระยะดำเนินโรคระยะยาว[1]
ปัจจัยเสี่ยงการสูบบุหรี่[3]
วิธีวินิจฉัยการตัดเนื้อออกตรวจ, การตรวจจากภาพทางการแพทย์[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น, celiac disease, โรคเบห์เช็ต, วัณโรคลำไส้[1][4]
ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์, เมโทเทรเซต[1]
พยากรณ์โรคการคาดหมายคงชีพลดลงเล็กน้อย[1]
ความชุก3.2 ต่อ 1,000 (ในประเทศพัฒนาแล้ว)[5]

โรคโครห์น (อังกฤษ: Crohn's disease) เป็นโรคในกลุ่มโรคลำไส้อักเสบที่ส่งผลต่อทางเดินอาหาร ผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้อง, ท้องร่วง (ในรายที่รุนแรงอาจมีเลือดปน), มีไข้และน้ำหนักลด[1][2] และมีอาการแทรกซ้อนได้แก่ โลหิตจาง, ผื่น, ผนังลูกตาชั้นกลางอักเสบและอ่อนล้า[1] ในรายที่เรื้อรังอาจมีอาการลำไส้อุดตันและมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่[1]

สาเหตุของโรคโครห์นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม, ระบบภูมิคุ้มกันและแบคทีเรีย[6] ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโจมตีทางเดินอาหารเพื่อกำจัดแอนติเจน นำไปสู่การอักเสบของลำไส้ ถึงแม้ว่าโรคโครห์นจะเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน แต่โรคนี้ไม่ใช่โรคภูมิต้านตนเองเนื่องจากไม่ได้ถูกกระตุ้นจากร่างกายเอง[7] แต่คาดว่าเกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันบกพร่องและทางพันธุกรรม[8][9] มีรายงานว่าโรคโครห์นมักเกิดขึ้นหลังมีอาการกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ[1] และผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าสองเท่า[3] การวินิจฉัยมักใช้วิธีตรวจชิ้นเนื้อและตรวจสอบจากภาพทางการแพทย์[1]

ยังไม่พบว่ายาและการผ่าตัดใดสามารถรักษาโรคโครห์นได้ การรักษาส่วนใหญ่จึงเป็นการรักษาอาการข้างเคียงและแบบประคับประคอง มีรายงานว่ายาคอร์ติโคสเตอรอยด์และเมโทเทรเซตช่วยรักษาอาการข้างเคียงได้ดี ในขณะที่การผ่าตัดจะใช้เมื่อตรวจพบฝี, ลำไส้อุดตันหรือมะเร็ง[1]

โรคโครห์นพบในประชากรในอัตรา 3.2 ต่อ 1,000 คนในยุโรปและอเมริกาเหนือ[5] และพบได้น้อยกว่าในเอเชียและแอฟริกา[10] ผู้ป่วยโรคโครห์นจะมีการคาดหมายคงชีพลดลงเล็กน้อย[1] การตั้งต้นของโรคนี้พบในทุกช่วงอายุ แต่มักพบในช่วงอายุ 20 ปี เพศชายและหญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เท่า ๆ กัน[2] โรคโครห์นตั้งชื่อตามเบอร์ริล เบอร์นาร์ด โครห์น นักวิทยาทางเดินอาหารชาวอเมริกันผู้ค้นพบโรคนี้ในปี ค.ศ. 1932[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 Baumgart DC, Sandborn WJ (November 2012). "Crohn's disease". Lancet. 380 (9853): 1590–605. doi:10.1016/S0140-6736(12)60026-9. PMID 22914295.สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  2. 2.0 2.1 2.2 "Crohn's Disease". National Digestive Diseases Information Clearinghouse (NDDIC). กรกฎาคม 10, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 9, 2014. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 12, 2014.
  3. 3.0 3.1 Cosnes J (June 2004). "Tobacco and IBD: relevance in the understanding of disease mechanisms and clinical practice". Best Practice & Research. Clinical Gastroenterology. 18 (3): 481–96. doi:10.1016/j.bpg.2003.12.003. PMID 15157822.
  4. "Inflammatory Bowel Disease" (PDF). World Gastroenterology Organization. สิงหาคม 2015. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 14, 2016. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 13, 2016.
  5. 5.0 5.1 Molodecky NA, Soon IS, Rabi DM, Ghali WA, Ferris M, Chernoff G, Benchimol EI, Panaccione R, Ghosh S, Barkema HW, Kaplan GG (January 2012). "Increasing incidence and prevalence of the inflammatory bowel diseases with time, based on systematic review". Gastroenterology. 142 (1): 46–54.e42, quiz e30. doi:10.1053/j.gastro.2011.10.001. PMID 22001864.
  6. Cho JH, Brant SR (May 2011). "Recent insights into the genetics of inflammatory bowel disease". Gastroenterology. 140 (6): 1704–12. doi:10.1053/j.gastro.2011.02.046. PMC 4947143. PMID 21530736.
  7. Casanova JL, Abel L (August 2009). "Revisiting Crohn's disease as a primary immunodeficiency of macrophages". The Journal of Experimental Medicine. 206 (9): 1839–43. doi:10.1084/jem.20091683. PMC 2737171. PMID 19687225.
  8. Lalande JD, Behr MA (July 2010). "Mycobacteria in Crohn's disease: how innate immune deficiency may result in chronic inflammation". Expert Review of Clinical Immunology. 6 (4): 633–41. doi:10.1586/eci.10.29. PMID 20594136.
  9. Hovde Ø, Moum BA (April 2012). "Epidemiology and clinical course of Crohn's disease: results from observational studies". World Journal of Gastroenterology. 18 (15): 1723–31. doi:10.3748/wjg.v18.i15.1723. PMC 3332285. PMID 22553396.
  10. Crohn BB, Ginzburg L, Oppenheimer GD (May 2000). "Regional ileitis: a pathologic and clinical entity. 1932". The Mount Sinai Journal of Medicine, New York. 67 (3): 263–8. PMID 10828911.