ข้ามไปเนื้อหา

ถุงยื่นอักเสบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถุงยื่นอักเสบ
ชื่ออื่นColonic diverticulitis
ช่วงของลำใส้ใหญ่ (ซิกมอยด์โคลอน) แสดงถุงยื่น (ไดเวอร์ทิคูลา)
สาขาวิชาศัลยศาสตร์ทั่วไป
อาการปวดท้อง, ไข้, คลื่นเหียน, ท้องเสีย, ท้องผูก, เลือดในอุจจาระ[1]
ภาวะแทรกซ้อนหนอง, ฟิสตูลา, ลำไส้ทะลุ[1]
การตั้งต้นฉับพลัน, อายุ > 50[1]
สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด[1]
ปัจจัยเสี่ยงโคอ้วน, ไม่ออกกำลังกาย, สูบบุหรี่, ประวัติครอบครัว, ยาเอ็นเสดs[1][2]
วิธีวินิจฉัยตรวจเลือด, ซีทีสแกน, ส่องกล้อง, lower gastrointestinal series[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันโรคลำไส้แปรปรวน[2]
การป้องกันMesalazine, rifaximin[2]
การรักษายาปฏิชีวนะ, อาหารเหลว, เข้าโรงพยาบาล[1]
ความชุก3.3% (ประเทศพัฒนาแล้ว)[1][3]

ถุงยื่นอักเสบ (อังกฤษ: Diverticulitis หรือ colonic diverticulitis) เป็นโรคของทางเดินอาหารมีลักษณะเป็นการอักเสบของถุงยื่น (ไดเวอร์ทิลูคัม) ซึ่งอาจเจิรญอยู่ตามผนังของลำไส้ใหญ่[1] อาการมักประกอบด้วยอาการปวดท้องส่วนล่าง อาจเกิดเป็นเวลาหลายวัน[1] นอกจากนี้อาจพบอาการคลื่นเหียน, ท้องเสีย, ท้องผูก[1] หากพบอาการไข้และเลือดในอุจจาระอาจบ่งชี้ถึงอาการแทรกซ้อน[1]

สาเหตุเกิดโรคยังคงไม่เป็นที่ทราบชัดเจน[1] ปัจจัยเสี่ยงอาจรวมถึงภาวะอ้วน, ขาดการออกกำลังกาย, สูบบุหรี่, ประวัติในครอบครัว และการใช้ยาเอ็นเสด (NSAIDs)[1][2] ส่วนความเกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารไฟเบอร์ต่ำยังคงไม่ชัดเจน[2] ถุงยื่นในลำไส้ใหญ่ที่ไม่อักเสบเรียกว่าอาการไดเวอร์ทิคูโลซิส[1] การอักเสบอาจเกิดขึ้นได้ที่ 10% ถึง 25% ที่จุดหนึ่ง ๆ และเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย[2][4]

การป้องกันการเกิดโรคอาจทำได้โดยการลดความอ้วน, ออกกำลังกาย และเลิกบุหรี่[2] ยาเมซาลาซีน และ ริฟักซิมิน สามารถใช้ป้องกันอาการรุนแรงได้ในผู้ป่วย[2] ส่วนการหลีกเลี่ยงอาหารพวกเม็ดและเมล็ดนั้นไม่เป็นที่แนะนำแล้วเนื่องจากไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคอาหารกลุ่มนี้กับการเกิดการอักเสบของถุงยื่น[1][5]

โรคนี้พบได้ชุกกว่าในโลกตะวันตก และพบยากในแอฟริกากับเอเชีย[1] ค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปกับโรคเกี่ยวกับถุงยื่นในสหรัฐอยู่ที่ราวปีละ $2.4 พันล้าน (ข้อมูลปี 2013)[2] ในผู้ป่วยด้วยโรคถุงยื่นไม่มีการอักเสบ (diverticulosis) ราว 4 ถึง 15% อาจเกิดการอักเสบได้ในอนาคต[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 "Diverticular Disease". www.niddk.nih.gov. September 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2016. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 Tursi, A (March 2016). "Diverticulosis today: unfashionable and still under-researched". Therapeutic Advances in Gastroenterology. 9 (2): 213–28. doi:10.1177/1756283x15621228. PMC 4749857. PMID 26929783.
  3. 3.0 3.1 Pemberton, John H (16 June 2016). "Colonic diverticulosis and diverticular disease: Epidemiology, risk factors, and pathogenesis". UpToDate. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-14. สืบค้นเมื่อ 13 March 2017.
  4. Mandell, Douglas, and Bennett's Principles and Practice of Infectious Diseases. Churchill Livingstone. 2014. p. 986. ISBN 9781455748013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-08.
  5. Young-Fadok, TM (October 2018). "Diverticulitis". New England Journal of Medicine. 379 (17): 1635–42. doi:10.1056/NEJMcp1800468. PMID 30354951.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก