เลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน
ภาพจากกล้องแสดงแผลลำไส้เล็กส่วนต้นตรงผนังด้านหลังโดยมีฐานสะอาด ซึ่งเป็นสาเหตุเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนที่พบบ่อยประการหนึ่ง

เลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน โดยทั่วไปนิยามว่าเป็นเลือดออกจากหลอดอาหาร กระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น อาจสังเกตเลือดในอาเจียน (อาเจียนเป็นเลือด) หรือพบเลือดที่กลายสภาพแล้วในอุจจาระ (อุจจาระดำ) ผู้ป่วยอาจมีอาการของปริมาตรเลือดไหลเวียนไม่เพียงพอและช็อก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการเสียเลือด ผลทำให้ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์อย่างหนึ่ง และตรงแบบต้องการการดูแลรักษาในโรงพยาบาลเพื่อการวินิจฉัยและรักษาโดยด่วน เลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนอาจเกิดได้จากแผลเปื่อยเพปติก การกร่อนของกระเพาะอาหาร หลอดเลือดขอดหลอดอาหาร และโรคที่พบน้อยบางชนิดอย่างมะเร็งกระเพาะอาหาร

การประเมินขั้นต้นมีการวัดความดันโลหิตและอัตราหัวใจเต้น ตลอดจนการตรวจเลือดเพื่อดูความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน ในภาวะที่มีเลือดออกอย่างสำคัญ มักจำเป็นต้องให้สารน้ำทดแทน เช่นเดียวกับการถ่ายเลือด ก่อนหาจุดเลือดออกโดยการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนด้วยการส่องล้องหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น (esophagogastroduodenoscopy) สามารถใช้การบำบัดด้วยการส่องกล้องเพื่อลดความเสี่ยงเลือดออกซ้ำ โดยขึ้นอยู่กับจุดเลือดออก การรักษาด้วยยาบางอย่าง (เช่น ยายับยั้งการหลั่งกรดสำหรับโรคแผลเปื่อยเพปติก) หรือด้วยหัตถการบางอย่าง (เช่น ทิปส์สำหรับเลือดออกจากหลอดเลือดขอด) เลือดออกซ้ำหรือเลือดออกไม่หยุดอาจมีความจำเป็นต้องผ่าตัด แม้พบน้อยลงเรื่อย ๆ เนื่องจากการักษาด้วยการส่องกล้องและยาที่ดีขึ้น

มีผู้ป่วยเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนประมาณ 50 ถึง 150 ต่อ 100,000 คนต่อปี มีความเสี่ยงตายโดยประเมิน 11% แต่ขึ้นอยู่กับความรุนแรงด้วย[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. British Society of Gastroenterology Endoscopy Committee (October 2002). "Non-variceal upper gastrointestinal haemorrhage: guidelines". Gut. 51 Suppl 4: iv1–6. doi:10.1136/gut.51.suppl_4.iv1 (inactive 2019-05-24). PMC 1867732. PMID 12208839.{{cite journal}}: CS1 maint: DOI inactive as of พฤษภาคม 2019 (ลิงก์)