ไอบิวพรอเฟน
ไอบิวพรอเฟน หรือ ไอบิวพรอเฟิน (อังกฤษ: Ibuprofen) เป็นยาแก้อักเสบปราศจากสเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drug) หรือเอ็นเซด (NSAID) ซึ่งใช้รักษาอาการปวด ไข้ และการอักเสบ[4] รวมถึงอาการปวดประจำเดือน และข้ออักเสบรูมาติก[4] โดยปรกติแล้ว ร้อยละ 60 ของผู้ได้รับเอ็นเซดจะมีอาการดีขึ้น แต่ถ้าเอ็นเซดประเภทหนึ่งไม่ได้ผล ก็อาจใช้อีกประเภทได้[5] อนึ่ง ไอบิวพรอเฟนยังอาจใช้ระงับอาการ "ดักตัส อาร์เทอริโอซัส ยังคงอยู่" ในทารกคลอดก่อนกำหนด และอาจบริโภคทางปากหรือหลอดเลือด ไอบิวพรอเฟนนั้นมักออกฤทธิ์ภายในหนึ่งชั่วโมง[4]
ไอบิวพรอเฟนมักก่อผลข้างเคียงเป็นอาการแสบร้อนกลางอกและผื่น[4] แต่เมื่อเทียบกับเอ็นเซดประเภทอื่น ๆ ไอบิวพรอเฟนอาจมีผลข้างเคียงอย่างอาการเลือดออกในทางเดินอาหารน้อยกว่า[5] ทว่า ถ้าใช้ในปริมาณมากและเป็นเวลานาน ไอบิวพรอเฟนจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดหัวใจล้มเหลว ไตล้มเหลว และตับล้มเหลว[4] ถ้าใช้น้อยและไม่นาน ก็ไม่ปรากฏว่าเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายขาดเลือด แต่ถ้าใช้มากและนานก็ไม่แน่ นอกจากนี้ ไอบิวพรอเฟนอาจทำให้โรคหืดแย่ลงได้[5] อนึ่ง แม้ยังไม่แน่ชัดว่า ไอบิวพรอเฟนเป็นอันตรายต่อครรภ์ในระยะแรกเริ่มหรือไม่ แต่ปรากฏว่า มีอันตรายต่อครรภ์ในระยะท้าย
ไอบิวพรอเฟนนั้น สตูเวิร์ด แอดัมส์ (Stewart Adams) ค้นพบใน ค.ศ. 1961 และนำออกขายในชื่อ "บรูเฟน" (Brufen)[6] ภายหลังมียี่ห้ออื่น ๆ อีก เช่น "แอดวิล" (Advil), "มอตริน" (Motrin), และ "นูโรเฟน" (Nurofen)[4][7] ไอบิวพรอเฟนเริ่มตีตลาดในสหราชอาณาจักรเมื่อ ค.ศ. 1969 และในสหรัฐอเมริกาเมื่อ ค.ศ. 1974[4][6] ไอบิวพรอเฟนยังได้รับการบรรจุในทะเบียนต้นแบบยาสำคัญขององค์การอนามัยโลก ซึ่งมีรายการยาที่สำคัญอย่างยิ่งยวดและจำเป็นต่อระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Davies, NM (February 1998). "Clinical pharmacokinetics of ibuprofen. The first 30 years". Clinical Pharmacokinetics. 34 (2): 101–54. doi:10.2165/00003088-199834020-00002. PMID 9515184.
- ↑ "ibuprofen". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-13. สืบค้นเมื่อ 31 January 2015.
- ↑ "PRODUCT INFORMATION BRUFEN® TABLETS AND SYRUP" (PDF). TGA eBusiness Services. Abbott Australasia Pty Ltd. 31 July 2012. สืบค้นเมื่อ 8 May 2014.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 "Ibuprofen". The American Society of Health-System Pharmacists. สืบค้นเมื่อ Jan 2016.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 5.0 5.1 5.2 Bnf : march 2014-september 2014 (2014 ed.). London: British Medical Assn. 2014. pp. 686–688. ISBN 0857110861.
- ↑ 6.0 6.1 Halford, GM; Lordkipanidzé, M; Watson, SP (2012). "50th anniversary of the discovery of ibuprofen: an interview with Dr Stewart Adams". Platelets. 23 (6): 415–22. doi:10.3109/09537104.2011.632032. PMID 22098129.
- ↑ "Chemistry in your cupboard | Nurofen".
- ↑ WHO Model List of Essential Medicines (PDF) (16th ed.). World Health Organization. March 2009. สืบค้นเมื่อ 28 March 2011.