ข้ามไปเนื้อหา

เคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อลำลองERL Laluan KLIA Ekspres
เจ้าของเอ็กซ์เพรสเรลลิงก์
หมายเลขสาย6 (สีม่วง)
ที่ตั้งกัวลาลัมเปอร์ - ท่าอากาศกัวลาลัมเปอร์
ปลายทาง
จำนวนสถานี3
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน
ระบบเอ็กซ์เพรสเรลลิงก์ (กัวลาลัมเปอร์) เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์
ผู้ดำเนินงานเอ็กซ์เพรสเรลลิงก์
ขบวนรถซีเมนส์ เดซิโร ET 425 M Articulated EMU 8 ขบวน 4 ตู้
ซีอาร์อาร์ซีฉางชุน Equator Articulated EMU 2 ขบวน 4 ตู้
ผู้โดยสารต่อวัน6,015 (2018)[1]
ผู้โดยสาร2.2 ล้าน (2018)[1]
ประวัติ
เปิดเมื่อเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ - ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์
14 เมษายน 2002; 22 ปีก่อน (2002-04-14)
ส่วนต่อขยายล่าสุดท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ - เคแอลไอเอ 2
1 พฤษภาคม 2014; 10 ปีก่อน (2014-05-01)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง57 km (35.4 mi)
ลักษณะทางวิ่งส่วนใหญ่ระดับดิน
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
ระบบจ่ายไฟ25 kV 50 Hz เหนือหัว
ระบบการนำไฟฟ้ามีคนขับ

เคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส (อังกฤษ: ERL KLIA Ekspres) เป็นสายรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานในกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ กับท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์[2] รถไฟฟ้าสายนี้ดำเนินการโดยบริษัท เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์ จำกัด (อีอาร์แอล) โดยใช้ทางวิ่งร่วมกับรถไฟฟ้าธรรมดา เคแอลไอเอ แทรนสิต รถไฟฟ้าเอ็กซ์เพรส วิ่งแบบรถด่วน ไม่จอดสถานีรายทาง ในขณะที่รถไฟฟ้าแทรนสิตจะจอดทุกสถานี

สายนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งมวลชนในหุบเขากลัง

รายชื่อสถานี

[แก้]

รถไฟฟ้าเคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส จอดทั้งหมด 3 สถานี ดังต่อไปนี้

รหัส ชื่อสถานี ภาพถ่าย ประเภทชานชาลา หมายเหตุ
 KE1  เคแอลเซ็นทรัล
ปลายทาง (ด้านข้าง) ปลายทางด้านเหนือ

สถานีธรรมดา ที่  KT1  เคแอลไอเอ แทรนซิต

สถานีเปลี่ยนเส้นทาง

 KE2  เคแอลไอเอ อาคารผู้โดยสาร 1
เกาะกลาง สถานีธรรมดา ที่  KT5  เคแอลไอเอ แทรนซิต
 KE3  เคแอลไอเอ อาคารผู้โดยสาร 2
ปลายทาง (เกาะกลาง) ปลายทางด้านใต้

สถานีธรรมดา ที่  KT6  เคแอลไอเอ แทรนซิต

สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ จะมีชานชาลาด้านข้างสองแห่ง เพื่อให้เชื่อมกับส่วนอื่น ๆ ของสถานีได้อย่างสะดวก ชานชาลารถไฟด่วน สามารถเชื่อมต่อกับสถานีขนส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองได้ (KL CAT) ส่วนชานชาลารถไฟธรรมดา จะเชื่อมต่อกับโถงอาคารผู้โดยสาร

ณ สถานีเคแอลไอเอ และเคแอลไอเอ 2 ทั้งรถไฟฟ้าด่วน และรถไฟฟ้าธรรมดา ใช้ชานชาลาเกาะกลางเพียงแห่งเดียว โดยรถไฟฟ้าแต่ละประเภท จะเข้าเทียบชานชาลาในรางใดรางหนึ่งเท่านั้น

ข้อมูลการเดินทาง

[แก้]

รถไฟฟ้าเคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 2002 โดยเชื่อมต่อระหว่างกัวลาลัมเปอร์ กับท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ วิ่งในระยะทาง 57 กิโลเมตร (ไม่หยุดสถานีรายทางใด ๆ) ใช้เวลาในการเดินทาง 28 นาที ความถี่ขบวนรถทุก ๆ 15-20 นาที

  • รถไฟขบวนแรก เริ่มให้บริการ เวลา 5.00 น.
  • รถไฟขบวนสุดท้าย สิ้นสุดการให้บริการ เวลา 0.00 น.
  • ชั่วโมงเร่งด่วน เวลา 5.00-9.00 น. และ 16.00-22.00 น.
  • ชั่วโมงปกติ เวลา 9.00-16.00 น. และ 22.00-0.00 น.

เมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2005 มีการแสดงความยินดีกับผู้โดยสารคนที่สิบล้าน ที่มาใช้บริการรถไฟฟ้าด่วนนี้ ผู้โดยสารคนนั้นมีชื่อว่า เอมีเลีย โรสไนดา เป็นนักธุรกิจที่กำลังเดินทางจากกัวลาลัมเปอร์ ไปยังนครนิวยอร์ก[3] ต่อมาได้มีการแสดงความยินดีกับผู้โดยสารคนที่ยี่สิบล้าน ในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2007 ผู้โดยสารคนนั้นคือ นายซอกกาลินกัม ซึ่กถูกรางวัลตั๋วเครื่องบินไปนครดูไบ[4]

บัตรโดยสาร

[แก้]

ผู้โดยสารที่เดินทางจากสถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ ไปยังสถานีท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ สามารถซื้อบัตรรถไฟฟ้าด่วนได้ที่ สถานีขนส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในสถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ บัตรโดยสารจะถูกตรวจด้วยเครื่องบัตรอัตโนมัติ บัตรโดยสารเที่ยวเดียวมีราคา 35 ริงกิต

บัตรโดยสารมีหลายประเภท ได้แก่

  • บัตรโดยสารเที่ยวเดียว อายุการใช้งาน 3 เดือน
  • บัตรโดยสารไป-กลับ
    • เดินทางรอบแรก อายุการใช้งาน 3 เดือน
    • เดินทางรอบที่สอง - อายุการใช้งาน 3 เดือน หลังการเดินทางรอบแรก

สถานีขนส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง กัวลาลัมเปอร์

[แก้]
สถานีขนส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง กัวลาลัมเปอร์

สถานีขนส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง กัวลาลัมเปอร์ ตั้งอยู่ภายในสถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ สายการบินที่สามารถเช็ค-อินที่นี่ได้ ได้แก่ เอมิเรตส์แอร์ไลน์, มาเลเซียแอร์ไลน์, คาเธ่ย์แปซิฟิค, สายการบินเอทิฮัด และ รอยัลบรูไนแอร์ไลน์[5]

สิ่งอำนวยความสะดวก

[แก้]

ผู้โดยสารที่มีโน้ตบุ๊คหรือสมาร์ตโฟน สามารถใช้งานฟรีไวไฟได้ที่ทุกสถานีของเคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส ส่วนห้องน้ำ มีอยู่ในชานชาลาของสถานีเคแอลเซ็นทรัล

อุบัติเหตุ

[แก้]

ในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2010 เกิดเหตุรถไฟฟ้าชนกันที่สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ เวลา 21 นาฬิกา 45 นาที มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ 3 ราย[6][7][8]

ส่วนต่อขยาย

[แก้]
ป้ายประชาสัมพันธ์รถไฟฟ้าด่วน ที่เคแอลไอเอ 2

มีการเปิดเดินรถส่วนต่อขยาย 2.14 กิโลเมตร ไปยังสถานีเคแอลไอเอ 2 (อาคารผู้โดยสาร 2) ซึ่งก่อสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 2013 เปิดใช้งานวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 ใช้เวลาในการเดินทางจากสถานีเคแอลไอเอ 3 นาที อัตราค่าโดยสาร 2 ริงกิต[9]

ข้อมูลจำเพาะ

[แก้]
ระบบรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าซีเมนส์ เดซิโร อีที 425 เอ็ม
ผู้ผลิต ซีเมนส์
จำนวนขบวน 8 ขบวน
จำนวนคัน มีห้องขับ 2 คัน
ไม่มีห้องขับ 2 คัน
โครงสร้าง ความยาว – 68,700 mm (2,700 in)
ความกว้าง – 2,840 mm (112 in)
ความสูง – 4,160 mm (164 in)
น้ำหนัก 120 เมตริกตัน
กระแสไฟฟ้า 25 kV 50 Hz
ความเร่ง 1 ม./วินาที2
ความเร็วสูงสุด 176 km/h (109 mph)
ความเร็วเฉลี่ย 160 km/h (99 mph)
ความจุผู้โดยสารต่อคัน 156 คน
ทางรถไฟ ความยาว – 57 km (35 mi)
ขนาดความกว้างรางรถไฟ1,435 mm (4 ft 8 12 in)

สมุดภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Statistic for Rail Transport" (ภาษามาเลย์ และ อังกฤษ). Ministry of Transport, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-07. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
  2. "Our Services". Express Rail Link Sdn Bhd. สืบค้นเมื่อ 2014-06-12.
  3. Express Rail Link Celebrates 4th Anniversary
  4. Express Rail Link Breaks 20 Million Passengers Mark
  5. Intelligence เก็บถาวร 2007-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Railway Gazette International August 2007
  6. "2 ERLs crash at KL Sentral, 3 hurt".
  7. "2 ERLs crash at KL Sentral".
  8. "2 ERLs crash at KL Sentral, 3 hurt".
  9. http://www.kliaekspres.com/erlsb/ExpressRailLinkExtensiontoKLIA2/tabid/373/Default.aspx

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]