เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร | |
---|---|
ไอยูซีเอ็นกลุ่ม 1 ก (เขตสงวนเคร่งครัด) | |
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร | |
ที่ตั้ง | จังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดตาก |
พิกัด | 15°20′N 98°55′E / 15.333°N 98.917°E |
พื้นที่ | 3,647 ตารางกิโลเมตร (2,279,000 ไร่) |
จัดตั้ง | พ.ศ. 2517 |
หน่วยราชการ | กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช |
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
ประเทศ | ไทย |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
ส่วนหนึ่งของ | เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่- ห้วยขาแข้ง |
ประเภท | มรดกทางธรรมชาติ |
เกณฑ์พิจารณา | (vii), (ix), (x) |
อ้างอิง | 591 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2534 (คณะกรรมการสมัยที่ 15) |
พื้นที่ | 364,720 เฮกตาร์ |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นแหล่งมรดกโลกของประเทศไทยโดยการขึ้นทะเบียนของยูเนสโก ร่วมกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ภายใต้ชื่อ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง เมื่อปี พ.ศ. 2534 กินพื้นที่ครอบคลุม 6 อำเภอ ของ 3 จังหวัด ได้แก่ อำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก มีพื้นที่ 2,279,500 ไร่ หรือ 3,647 ตารางกิโลเมตร[2] โดยแบ่งออกได้เป็น
1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก อยู่ในพื้นที่จังหวัดตาก
2. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก อยู่ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งพื้นที่คงเหลือในนี้มีเนื้อที่ 1,331,062 ไร่[3] โดยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตกมีพื้นที่ถึง 1,331,062 ไร่ เปรียบเทียบง่ายๆ คือใหญ่กว่ากรุงเทพฯ เสียอีก[4]
ทั้งนี้ชื่อ "ทุ่งใหญ่นเรศวร" สันนิษฐานว่ามาจากในสมัยอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเคยใช้เป็นฐานที่มั่นเพื่อเตรียมทำศึกกับพม่า [5]
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
[แก้]เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร มีลักษณะทางภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารที่สำคัญเช่น แม่น้ำแควน้อยและแม่น้ำแควใหญ่ พื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร มีความสูงโดยเฉลี่ยมีความสูงอยู่ที่ ประมาณ 800–1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล และมีเขาใหญ่เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรซึ่งมีความสูง 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหายากหลายชนิด บางชนิดใกล้สูญพันธุ์ หรือเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นหรือสัตว์ถิ่นเดียว เช่น ช้างป่า, กระทิง, เสือชนิดต่าง ๆ, ไก่ฟ้าหลังเทา, นกเงือก, เลียงผา, เสือดาว, เสือดำ, หมาใน, นกยูงไทย และแมลงป่าชนิดต่าง ๆ อีกมากมาย[5]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Protected Planet (2018). "Thungyai Naresuan Wildlife Sanctuary". United Nations Environment World Conservation Monitoring Centre. สืบค้นเมื่อ 26 December 2018.
- ↑ รายงานข้อมูลสถิติ พ.ศ. 2553 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- ↑ "เจาะพิกัด! เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก". กรุงเทพธุรกิจ. 2018-02-07. สืบค้นเมื่อ 2018-02-08.
- ↑ https://readthecloud.co/travelogue-tung-yai/
- ↑ 5.0 5.1 "เจาะอาถรรพณ์ 10 เรื่อง 'ทุ่งใหญ่นเรศวร' ผืนป่าใหญ่แห่งตำนาน!". ไทยรัฐ. 2018-02-06. สืบค้นเมื่อ 2018-02-08.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- IUCN ประเภท Ia
- แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ
- แหล่งมรดกโลกในประเทศไทย
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในประเทศไทย
- ภูมิศาสตร์ของจังหวัดกาญจนบุรี
- ภูมิศาสตร์ของจังหวัดอุทัยธานี
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในจังหวัดตาก
- อำเภอบ้านไร่
- อำเภอลานสัก
- อำเภอห้วยคต
- อำเภอสังขละบุรี
- อำเภอทองผาภูมิ
- อำเภออุ้มผาง
- สถานที่ที่ตั้งชื่อตามพระนามของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช