ข้ามไปเนื้อหา

ไก่ฟ้าหลังเทา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไก่ฟ้าหลังเทา
ตัวผู้
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Galliformes
วงศ์: Phasianidae
วงศ์ย่อย: Phasianinae
สกุล: Lophura
สปีชีส์: L.  leucomelanos
ชื่อทวินาม
Lophura leucomelanos
(Latham, 1790)

ไก่ฟ้าหลังเทา (อังกฤษ: Kalij pheasant; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lophura leucomelanos) เป็นไก่ฟ้าที่พบในป่าทึบโดยเฉพาะในตีนเขาของเทือกเขาหิมาลัย จากแม่น้ำสินธุไปทางตะวันตกจนถึงไทย มันถูกนำเข้าสู่รัฐฮาวาย (แต่ค่อน ข้างหายาก) ที่นั่นมันจัดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่กินและแพร่กระจายพืชชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ตัวผู้มีขนหลากหลายขึ้นกับชนิดย่อย แต่อย่างน้อยก็มีสีขนดำออกฟ้า ขณะที่เพศเมียเป็นสีน้ำตาลทั้งตัว ทั้งสองเพศมีหนังสีแดงที่หน้า ขาออกเทา[2] ชนิดย่อยทางตะวันออก 3 ชนิด (oatesi, lineata และ crawfurdi) กำลังถูกคุกคามและ moffitti ซึ่งไม่ทราบสถานะแน่ชัด[2]

อนุกรมวิธาน

[แก้]

ไก่ฟ้าหลังเทาเป็นญาติใกล้ชิดกับไก่ฟ้าหลังขาวและมีลูกผสมที่เกิดจากไก่ฟ้าทั้งสองชนิด[3] การจัดวางทางอนุกรมวิธานของ lineata และ crawfurdi ยังคงเป็นที่โต้เถียงกันว่ามันควรจัดเป็นชนิดย่อยของไก่ฟ้าหลังเทา[2] หรือไก่ฟ้าหลังขาว[4] มันมีขาสีเทาเหมือนไก่ฟ้าหลังเทาแต่มีชุดขนคล้ายกับไก่ฟ้าหลังขาว เหตุผลหนึ่งที่ควรจัดเป็นชนิดย่อยของไก่ฟ้าหลังขาวคือ lineata และ crawfurdi พบทางตะวันออกของแม่น้ำอิระวดี จากเครื่องแบ่งทางสัตววิทยาแล้ว ชนิดย่อยอื่นของไก่ฟ้าหลังเทาพบทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ (oatesi ชนิดย่อยของไก่ฟ้าหลังเทามีรายงานว่าพบทางตะวันออกของแม่น้ำ[2] แต่ไม่ถูกต้อง[5]) บนพื้นฐานของ mtDNA เมื่อเร็วๆนี้ ช่วยยืนยันว่า lineata และ crawfurdi ควรเป็นชนิดย่อยของไก่ฟ้าหลังเทา[6]

ลักษณะ

[แก้]
L. leucomelanos lathami ตัวผู้ในอินเดีย

ตัวผู้ยาว 63-74 ซม. ตัวเมียยาว 50-60 ซม.[2] ลำตัวกลม ชนิดย่อยแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรก (hamiltoni, leucomelanos, melanota, moffitti และ lathami) พบทางตะวันตกและตอนกลางของพิสัยการกระจายพันธุ์ กลุ่มที่สอง (williamsi, oatesi, lineata และ crawfurdi) พบทางตะวันออก ในตัวผู้กลุ่มแรก มีขนสีดำ-น้ำเงินเหลือบ ตะโพกขาวหรือส่วนล่างขาว ชนิด hamiltoni กระหม่อมขาว (ชนิดอื่นสีดำ-น้ำเงิน) ในกลุ่มที่สองส่วนล่างและกระหม่อมสีดำ-น้ำเงินเหลือบ หางและส่วนบนสีขาว (หรือสีเทาจางๆ) ปนกับขนแน่นเป็นคลื่นสีดำ[2]

ตัวเมียสีออกน้ำตาล ส่วนล่างมีแต้มขาวสลับดำ ส่วนอื่นๆขนคล้ายเป็นเกล็ด[2]

พฤติกรรม

[แก้]

อาหาร

[แก้]

อาหารได้แก่ แมลง ตัวหนอน ไส้เดือน สัตว์ขนาดเล็ก และเมล็ดพืชบางชนิด เช่นขุยไผ่ เมล็ดหญ้า ผลไม้สุก

การสืบพันธุ์

[แก้]

ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ทำรังตามแอ่งบนพื้นดินใต้กอไม้รกๆ รองรังด้วยใบหญ้าแห้ง วางไข่ครั้งละ 6 - 9 ฟอง ไข่มีตั้งแต่สีครีมจนถึงสีเนื้อแกมแดง ใช้เวลาฟักไข่ 24 -25 วัน โดยตัวเมียฟักไข่เพียงตัวเดียว ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยปกคลุมทั่วตัว หลังออกจากไข่ 3 - 4 ชั่วโมง หรือเมื่อขนแห้งก็จะเดินตามแม่ไปหาอาหารได้[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. BirdLife International (2009). Lophura leucomelanos. In: IUCN 2009. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 22 March 2009.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 McGowan, P. J. K. (1994). Kalij Pheasant (Lophura leucomelanos). pp. 533 in: del Hoyo, J, A. Elliott, & J. Sargatal (1994). Handbook of the Birds of the World. Vol. 2. New World Vultures to Guineafowl. Lynx Edictions. ISBN 84-87334-15-6
  3. MacKinnon, J., & K. Phillipps (2000). A Field Guide to the Birds of China. Oxford University Press. ISBN 0-19-854940-5
  4. McGowan, P. J. K., A. L. Panchen (1994). Plumage variation and geographical distribution in the Kalij and Silver Pheasants. Bulletin of the British Ornithologists' Club. 114: 113-123.
  5. Robson, C. (2000). A Field Guide to the Birds of South-East Asia. New Holland Publishers. ISBN 1-85368-313-2
  6. Moulin, S., E. Randi, C. Tabarroni, & A. Hennache (2003). Mitochondrial DNA diversification among the subspecies of the Silver and Kalij Pheasants, Lophura nycthemera and L. leucomelanos, Phasianidae. Ibis 145: E1-E11
  7. ไก่ฟ้าหลังเทา องค์การสวนสัตว์

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Lophura leucomelanos ที่วิกิสปีชีส์