ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอละอุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอละอุ่น
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe La-un
ภูมิทัศน์ในตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น
ภูมิทัศน์ในตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น
คำขวัญ: 
พ่อหลวงนุ้ยมากบารมี เขาฝาชีชวนมอง ชมวิวเขากล้องงามตา ทัศนาประวัติสงครามโลก ขอโชคศาลพ่อตาพ่อปู่ ลองชิมดูผักเหลียงละอุ่น
แผนที่จังหวัดระนอง เน้นอำเภอละอุ่น
แผนที่จังหวัดระนอง เน้นอำเภอละอุ่น
พิกัด: 10°6′54″N 98°45′0″E / 10.11500°N 98.75000°E / 10.11500; 98.75000
ประเทศ ไทย
จังหวัดระนอง
พื้นที่
 • ทั้งหมด748.5 ตร.กม. (289.0 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด15,206 คน
 • ความหนาแน่น20.32 คน/ตร.กม. (52.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 85130
รหัสภูมิศาสตร์8502
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอละอุ่น หมู่ที่ 6 ตำบลละอุ่นใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง 85130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ละอุ่น เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดระนอง เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองระนอง มีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดคือ เขาฝาชี เป็นภูเขาที่มีลักษณะคล้ายกับฝาชี สูงจากระดับน้ำทะเล 259 เมตร ซึ่งพื้นที่บริเวณเขาฝาชี เคยเป็นที่ตั้งค่ายทหารญี่ปุ่น บนยอดเขาเป็นสถานที่ชมทิวทัศน์สวยงาม พระอาทิตย์อัสดง สามารถมองเห็นแม่น้ำกระบุรีไหลบรรจบกับคลองละอุ่น และสุสานรถไฟโบราณเป็นเส้นทางรถไฟโบราณสายคอคอดกระ-เขาฝาชี ที่ทหารญี่ปุ่นเคยใช้ขนอาวุธในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งยังมีแหล่งร่องรอยสมัยสงครามโลกหลงเหลืออยู่ เช่น เส้นทางรถไฟสายอันดามัน อุโมงค์กองบัญชาการทหารญี่ปุ่น[1]

ประวัติ

[แก้]

ท้องที่อำเภอละอุ่น ได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดระนอง ไม่ปรากฏหลักฐานวันที่ตั้งเป็นอำเภอขึ้นแน่ชัด แต่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการใช้ชื่อ "อำเภอละอุ่น" ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2460[2] ก็ปรากฏหลักฐานว่าพื้นที่ละอุ่นมีฐานะเป็นอำเภอแล้ว มีทั้งหมด 4 ตำบล (ในขณะนั้น) ได้แก่ ตำบลละอุ่นฝั่งซ้าย ตำบลละอุ่นฝั่งขวา ตำบลเขาทะลุ และตำบลบางพระใต้[3] มีขุนราษฎร์ธุราธรเป็นนายอำเภอคนแรก

เนื่องจากมีจำนวนประชากรน้อย เป็นถิ่นทุรกันดาร การคมนาคมลำบาก และเป็นพื้นที่ป่าสงวน จึงได้ลดฐานะลงมาเป็นกิ่งอำเภอละอุ่น และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเขานิเวศน์ (อำเภอเมืองระนอง) ไม่ปรากฏหลักฐานวันที่ยุบเป็นกิ่งอำเภอแน่ชัด แต่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการใช้ชื่อ "กิ่งอำเภอละอุ่น" ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2486[4] อำเภอละอุ่นก็มีฐานะกลายเป็นกิ่งอำเภอแล้ว

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2516 เมื่อมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง ขึ้นเป็น อำเภอละอุ่น[5] จนปัจจุบัน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน ปีเดียวกัน

  • วันที่ - 2484 ยุบอำเภอละอุ่น ลงเป็น กิ่งอำเภอละอุ่น และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเขานิเวศน์ และกำหนดให้มีเขตตำบล คือ ตำบลละอุ่น ตำบลบางแก้ว ตำบลทรายแดง ตำบลเขาทะลุ และตำบลบางพระ
  • วันที่ 20 กรกฎาคม 2486 เปลี่ยนแปลงเขตกิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง กับอำเภอกระบุรี โดยโอนพื้นที่หมู่ 4 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางแก้ว กิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง ไปขึ้นกับตำบลลำเลียง อำเภอกระบุรี[6]
  • วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2490 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอกระบุรี กับกิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง โดยโอนพื้นที่บ้านเขาฝาชี ของตำบลลำเลียง อำเภอกระบุรี ไปตั้งเป็นหมู่ 4 ของตำบลบางแก้ว กิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง[7]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลละอุ่นเหนือ แยกออกจากตำบลละอุ่น ตั้งตำบลบางพระเหนือ แยกออกจากตำบลบางพระ[8]
  • วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2494 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดระนอง กับจังหวัดชุมพร โดยโอนพื้นที่ตำบลเขาทะลุ กิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ไปขึ้นกับ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร[9]
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลละอุ่น ในท้องที่บางส่วนของตำบลละอุ่นใต้[10]
  • วันที่ 28 กรกฎาคม 2502 โอนพื้นที่ตำบลทรายแดง กิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง ไปขึ้นกับอำเภอเมืองระนอง[11]
  • วันที่ 28 มิถุนายน 2516 ยกฐานะกิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง ขึ้นเป็น อำเภอละอุ่น[5]
  • วันที่ 4 มกราคม 2539 ตั้งตำบลในวงเหนือ แยกออกจากตำบลละอุ่นเหนือ และตั้งตำบลในวงใต้ แยกออกจากตำบลละอุ่นเหนือ[5]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลละอุ่น เป็นเทศบาลตำบลละอุ่น[12] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ยุบสภาตำบลในวงเหนือ สภาตำบลในวงใต้ รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลละอุ่นเหนือ และยุบองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระใต้ องค์การบริหารส่วนตำบลละอุ่นใต้ รวมกับเทศบาลตำบลละอุ่น[13]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอละอุ่นตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอละอุ่นแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 30 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[14]
แผนที่
1. ละอุ่นใต้ La-un Tai
6
1,678
แผนที่ตำบล
2. ละอุ่นเหนือ La-un Nuea
5
1,176
3. บางพระใต้ Bang Phra Tai
3
981
4. บางพระเหนือ Bang Phra Nuea
5
3,637
5. บางแก้ว Bang Kaeo
5
4,583
6. ในวงเหนือ Nai Wong Nuea
3
1,664
7. ในวงใต้ Nai Wong Tai
3
1,521

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอละอุ่นประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลละอุ่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลละอุ่นใต้และตำบลบางพระใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลละอุ่นเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลละอุ่นเหนือ ตำบลในวงเหนือ และตำบลในวงใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพระเหนือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางแก้วทั้งตำบล

อ้างอิง

[แก้]
  1. สถานที่ - แหล่งท่องเที่ยวอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง เก็บถาวร 2021-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 34 หน้า 65 วันที่ 29 เมษายน 2460
  3. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ [ในท้องที่มณฑลภูเก็ต]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 519–530. 25 ธันวาคม 2464.
  4. "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง สงวนที่ดินบริเวณบ่อหินตำบลบางแก้ว ในท้องที่กิ่งอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (41 ง): 2431–2432. 3 สิงหาคม 2486.
  5. 5.0 5.1 5.2 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาพนม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแม่อาย อำเภอขามสะแกแสง อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอหนองพอก อำเภอละอุ่น อำเภอทุ่งหว้า และอำเภอศรีธาตุ พ.ศ. ๒๕๑๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (75 ก): (ฉบับพิเศษ) 32-36. 28 มิถุนายน 2516. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2020-10-08.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมืองระนอง และอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (39 ง): 2348–2349. 20 กรกฎาคม 2486.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก ศรีสะเกษ ตราด สิงห์บุรี อ่างทอง เพชรบุรี และระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (9 ง): 254–257. 18 กุมภาพันธ์ 2490.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. 10 มิถุนายน 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-10-08.
  9. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดระนองและจังหวัดชุมพร พ.ศ. ๒๔๙๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 68 (12 ก): 201–202. 13 กุมภาพันธ์ 2494.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลละอุ่น กิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 63-64. 28 พฤศจิกายน 2499.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตท้องที่กิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (74 ง): 1773. 28 กรกฎาคม 2502.
  12. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-10-08.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). 1 กรกฎาคม 2547: 1–3. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  14. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.