อำเภอภูกามยาว
อำเภอภูกามยาว | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Phu Kamyao |
คำขวัญ: ภูกามยาวดอยงาม ดินแดนสามพระธาตุ ประวัติศาสตร์เมืองเก่า อู่ข้าวลุ่มน้ำอิง | |
แผนที่จังหวัดพะเยา เน้นอำเภอภูกามยาว | |
พิกัด: 19°16′18″N 99°58′12″E / 19.27167°N 99.97000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พะเยา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 213.8 ตร.กม. (82.5 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 20,877 คน |
• ความหนาแน่น | 97.65 คน/ตร.กม. (252.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 56000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5609 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอภูกามยาว หมู่ที่ 17 ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา 56000 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ภูกามยาว (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพะเยา
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอภูกามยาวมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอแม่ใจ และอำเภอป่าแดด (จังหวัดเชียงราย)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอดอกคำใต้
- ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอดอกคำใต้ และอำเภอเมืองพะเยา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอเมืองพะเยา
ประวัติ
[แก้]ภูยาว หรือ ภูกามยาว บางทีเรียกว่า ดอยชม ภู-ดอยด้วน เป็นทิวเขาที่ทอดยาวจากทิศเหนือลงไปทิศใต้ เริ่มจากบริเวณที่ราบเขตอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย อันเป็นเขตติดต่ออำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา หัวดอยที่อำเภอพานมีลักษณะตั้งชันคล้ายถูกตัดให้ด้วน ซึ่งแตกต่างจากดอยลูกอื่น ๆ ในละแวกเดียวกัน ชาวบ้านจึงเรียกดอยด้วน แต่เอกสารประเภทตำนานและพงศาวดารเรียก ภูยาว หรือ ภูกามยาว ทิวเขาดอยด้วนหรือภูกามยาวจะทอดยาวลงไปทางทิศใต้ แล้วค่อย ๆ ลาดต่ำลงเรื่อย ๆ จนถึงบริเวณที่ตั้งจังหวัดพะเยาอันเป็นที่ราบริมแม่น้ำอิง หรือแม่น้ำสายตาจึงสิ้นสุดทิวเขา ซึ่งชื่อของจังหวัดพะเยา หรือ พยาว มาจากชื่อเทือกเขาภูยาว หรือ ภูกามยาว
ท้องที่อำเภอภูกามยาวเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองพะเยา ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอภูกามยาว ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[1] และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอภูกามยาว ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[2]
- วันที่ 23 มกราคม 2481 รวมพื้นที่ตำบลบ้านต๋อม ตำบลสันนกกก ตำบลบ้านต๊ำ กับพื้นที่หมู่ 13 (ในขณะนั้น) ของตำบลดงเจน จัดตั้งขึ้นเป็น ตำบลบ้านต๊ำ และรวมพื้นที่หมู่ 6, 11-12, 15-17 (ในขณะนั้น) ของตำบลดงเจน กับตำบลห้วยลาน จัดตั้งขึ้นเป็น ตำบลห้วยลาน และรวมพื้นที่ตำบลร่องจะว้า ตำบลสันช้างหิน ตำบลดอกคำ พื้นที่หมู่ 1-5, 7-10,14,18 (ในขณะนั้น) ของตำบลดงเจน หมู่ 1-3 (ในขณะนั้น) ของตำบลจำป่าหวาย หมู่ 1,6 (ในขณะนั้น) ของตำบลแม่ต๋ำ หมู่ 7 (ในขณะนั้น) ของตำบลในเวียง จัดตั้งขึ้นเป็น ตำบลดอกคำใต้[3] และยุบพื้นที่ตำบลดงเจน เนื่องจากไม่มีหมู่บ้านเหลืออยู่ จึงหมดความจำเป็นที่จะให้ตั้งเป็นตำบลอยู่ต่อไป
- วันที่ 12 พฤศจิกายน 2483 แยกหมู่บ้านที่ 27 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านต๊ำ หมู่ 1-6,14 (ในขณะนั้น) ของตำบลห้วยลาน หมู่ 1-11,34 (ในขณะนั้น) ตั้งเป็น ตำบลดงเจน[4]
- วันที่ 26 ตุลาคม 2514 ตั้งตำบลห้วยแก้ว แยกออกจากตำบลดงเจน[5]
- วันที่ 28 กรกฎาคม 2520 แยกพื้นที่อำเภอพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ ออกจากการปกครองจังหวัดเชียงราย รวมตั้งขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา[6]
- วันที่ 27 พฤศจิกายน 2535 ตั้งตำบลแม่อิง แยกออกจากตำบลดงเจน[7]
- วันที่ 23 สิงหาคม 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลดงเจน ในท้องที่หมู่ 1-2, 9-12, 15 ตำบลดงเจน และหมู่ 4-5 ตำบลแม่อิง[8]
- วันที่ 30 มกราคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลห้วยแก้ว เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ว[9]
- วันที่ 25 ธันวาคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลแม่อิง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลดงเจน) เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแม่อิง[10]
- วันที่ 25 มิถุนายน 2540 แยกพื้นที่ตำบลห้วยแก้ว ตำบลดงเจน และตำบลแม่อิง อำเภอเมืองพะเยา มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอภูกามยาว[1] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองพะเยา
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลดงเจน เป็น เทศบาลตำบลดงเจน[11] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 15 ตุลาคม 2542 ยกฐานะสภาตำบลดงเจน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลดงเจน) เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลดงเจน[12]
- วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอภูกามยาว อำเภอเมืองพะเยา เป็น อำเภอภูกามยาว[2]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอภูกามยาวแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 41 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่อตำบล | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนประชากร[13] |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | ห้วยแก้ว | Huai Kaeo | 17 | 3,209 | 8,380 | |
2. | ดงเจน | Dong Chen | 16 | 3,793 | 8,537 | |
3. | แม่อิง | Mae Ing | 8 | 1,642 | 3,960 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอภูกามยาวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลดงเจน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลดงเจนและตำบลแม่อิง
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยแก้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดงเจน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงเจน (นอกเขตเทศบาลตำบลดงเจน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่อิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่อิง (นอกเขตเทศบาลตำบลดงเจน)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอภูกามยาว" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 51 ง): 14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-07-30. สืบค้นเมื่อ 2008-10-07. วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2540
- ↑ 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-10-07. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3449–3457. วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2483
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ง): 2773–2778. วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพะเยา อำเภอแม่จัน อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (113 ง): 2988–2993. วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2514
- ↑ "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. ๒๕๒๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (69 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2022-03-12. วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2520
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพะเยา และอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (151): (ฉบับพิเศษ) 71-79. วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลดงเจน อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (116 ง): (ฉบับพิเศษ) 16-17. วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2536
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-03-12. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. December 24, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-03-12.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-12 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 82 ง): 3–38. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-03-12. วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2542
- ↑ ประชากรรายหมู่บ้าน-ตำบล ในเขตอำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง