อังคั่น
อักษรไทย | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ฯ ๚ | |||||||
รูปพยัญชนะ | |||||||
ก | ข | ฃ | ค | ฅ | ฆ | ง | จ |
ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฎ | ฏ | ฐ |
ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ |
น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ |
ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส |
ห | ฬ | อ | ฮ | ||||
รูปสระ | |||||||
ะ | –ั | า | –ํ | –ิ | ' | " | |
–ุ | –ู | เ | โ | ใ | ไ | –็ | |
อ | ว | ย | ฤ | ฤๅ | ฦ | ฦๅ | |
รูปวรรณยุกต์ | |||||||
–่ | –้ | –๊ | –๋ | ||||
เครื่องหมายอื่น ๆ | |||||||
–์ | –๎ | –ฺ | |||||
เครื่องหมายวรรคตอน | |||||||
ฯ | ฯลฯ | ๆ | |||||
๏ | ๚ | ๛ | ┼ |
อังคั่น เป็นชื่อเรียกรวมของเครื่องหมายวรรคตอนโบราณ แบ่งเป็นอังคั่นเดี่ยวและอังคั่นคู่
อังคั่นเดี่ยว หรือ คั่นเดี่ยว หรือ ขั้นเดี่ยว (ฯ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมใช้ในหนังสือไทยสมัยโบราณ ใช้เมื่อจบบท ตอน หรือเรื่อง ทั้งคำประพันธ์ร้อยกรองและร้อยแก้ว ใช้สัญลักษณ์เดียวกันกับไปยาลน้อย ปัจจุบันมีอังคั่นเดี่ยวให้เห็นในหนังสือวรรณคดีและตำราเรียนภาษาไทยเท่านั้น
อังคั่นคู่ หรือ คั่นคู่ หรือ ขั้นคู่ (๚) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนปรากฏในหนังสือไทยโบราณ ใช้ในบทกวีต่าง ๆ โดยมีไว้ใช้จบตอน นอกจากนี้ยังมีการใช้อังคั่นคู่กับเครื่องหมายอื่น ได้แก่ อังคั่นวิสรรชนีย์ (ฯะ, ๚ะ) ใช้เมื่อจบบทกวี และ อังคั่นวิสรรชนีย์โคมูตร (๚ะ๛) ใช้จบบริบูรณ์
อังคั่นคู่ไม่มีปรากฏบนแป้นพิมพ์ภาษาไทย แต่มีอยู่ในรหัสอักขระ TIS 620 ที่ 0xFA (250) และรหัสยูนิโคดที่ U+0E5A [1]
อังคั่นในภาษาอื่น
[แก้]ภาษาอื่นที่ใช้อังคั่นคือภาษาเขมร ซึ่งมีทั้งอังคั่นเดี่ยวและอังคั่นคู่ (។, ៕) อังคั่นเดี่ยวใช้ใส่เมื่อจบประโยค ใช้งานทั่วไปเหมือนการใส่มหัพภาคจบประโยคในภาษาอังกฤษ อังคั่นคู่ใช้เมื่อจบตอน ภาษาฮินดีก็มีการใช้สัญลักษณ์ขีดตั้งเดี่ยวและขีดตั้งคู่ (।, ॥) เมื่อจบประโยคหรือจบตอนเช่นกัน เมื่อต้องการถอดอักษรจึงอาจใช้ ฯ และ ๚ แทนได้