องค์การพัฒนาการบินและอวกาศแห่งชาติ
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 1 เมษายน 2013 |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
เขตอำนาจ | รัฐบาลเกาหลีเหนือ |
สำนักงานใหญ่ | เปียงยาง |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
ส่วนหนึ่งในชุดเนื้อหาของ |
การเดินอวกาศ |
---|
สถานีย่อยการบินอวกาศ |
องค์การพัฒนาการบินและอวกาศแห่งชาติ (เกาหลี: 국가우주개발국; ฮันจา: 國家宇宙開發局) หรือ นาด้า (อังกฤษ: National Aerospace Development Administration; NADA) เป็นหน่วยงานด้านอวกาศของประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นใหม่แทนคณะกรรมการอวกาศเกาหลี หน่วยงานนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2556[1]
ภารกิจของนาด้าอยู่ในกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาอวกาศ ในปี พ.ศ. 2556 วาระที่ 7 สมัชชาใหญ่พรรคแรงงานเกาหลี กฎหมายได้กำหนดหลักการการพัฒนาอวกาศอย่างสันติโดยที่ยึดหลักอุดมคติจูเช (อุดมคติของเกาหลีเหนือ) และความเป็นอิสระ ซึ่งอุดมคติเหล่านี้สามารถใช้แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์, เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี
คณะกรรมการอวกาศเกาหลี
[แก้]คณะกรรมการอวกาศเกาหลีถูกก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2523 โดยเริ่มทำการวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการผลิตดาวเทียมสื่อสาร, ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร และดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
ประวัติการบิน
[แก้]ข้างล่างนี้คือรายการการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร
ดาวเทียม | ข้อมูลการบิน (UTC) |
จรวด | ที่ปล่อยตัว | สถานะ | จุดประสงค์ |
Kwangmyŏngsŏng-1[2] | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2541 | Paektusan | Tonghae Satellite Launching Ground | ล้มเหลวในการเข้าวงโคจร | ทดลองดาวเทียม |
4 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 | Unha-1 | ปล่อยตัวล้มเหลว | ทดสอบจรวด | ||
Kwangmyŏngsŏng-2 | 5 เมษายน พ.ศ. 2552 | Unha-2 | Tonghae Satellite Launching Ground | ล้มเหลวในการเข้าวงโคจร | ส่งดาวเทียวสื่อสาร |
Kwangmyŏngsŏng-3[3] | 13 เมษายน พ.ศ. 2555 | Unha-3 | Sohae Satellite Launching Station | ปล่อยตัวล้มเหลว | ส่งดาวเทียมจารกรรม |
Kwangmyŏngsŏng-3 Unit 2 | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555 | Unha-3 | Sohae Satellite Launching Station | ประสบความสำเร็จ | ส่งดาวเทียมจารกรรม |
Kwangmyŏngsŏng-4 | 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 | Kwangmyŏngsŏng (Unha-3) | Sohae Satellite Launching Station | ประสบความสำเร็จ | ส่งดาวเทียมจารกรรม |
โครงการในอนาคต
[แก้]ในปี พ.ศ. 2559 Hyon Kwang Il ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยวิทยาศาสตร์นาด้า ได้กล่าวว่า มีการวางแผนจะปล่อยดาวเทียมไม่เกินปี พ.ศ. 2563 โดยที่ดาวเทียมจะไปอยู่ที่วงโคจรค้างฟ้า และเขายังมั่นใจอีกว่า 10 ปีข้างหน้าองค์การพัฒนาการบินและอวกาศแห่งชาติจะต้องไปปักธงชาติเกาหลีเหนือที่ดวงจันทร์ให้ได้[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Pearlman, Robert. "North Korea's 'NADA' Space Agency, Logo Are Anything But 'Nothing'". Space.com.
- ↑ "Despite Clinton, Korea has rights". สืบค้นเมื่อ 8 May 2015.
- ↑ Josh Levs, CNN (12 December 2012). "N. Korea's launch causes worries about nukes, Iran and the Pacific". CNN. สืบค้นเมื่อ 8 May 2015.
- ↑ Talmadge, Eric (4 August 2016). "North Korea hopes to plant flag on the moon". AP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-07. สืบค้นเมื่อ 2018-03-23.