หมู่เกาะโอลันด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่เกาะโอลันด์

Landskapet Åland (สวีเดน)
Ahvenanmaan maakunta (ฟินแลนด์)
คำขวัญไม่มี
ตำแหน่งของหมู่เกาะโอลันด์ในทวีปยุโรป (วงกลมสีแดง)
ตำแหน่งของหมู่เกาะโอลันด์ในทวีปยุโรป (วงกลมสีแดง)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
มารีเอฮัมน์
ภาษาราชการสวีเดน
การปกครองจังหวัดปกครองตนเอง
• ผู้ว่าราชการจังหวัด
ปีเตอร์ ลินด์แบก1
• ผู้นำ
คาทริน สยือเกรน
สภานิติบัญญัติรัฐสภาแห่งโอลันด์
ดินแดนปกครองตนเอง 
• ประกาศ
พ.ศ. 2463
• ยอมรับ
พ.ศ. 24642
พื้นที่
• รวม
13,517 ตารางกิโลเมตร (5,219 ตารางไมล์) (-)
89
ประชากร
• 2005 ประมาณ
26,711 (-)
17.5 ต่อตารางกิโลเมตร (45.3 ต่อตารางไมล์) (-)
สกุลเงินยูโร (€) 4 (EUR)
เขตเวลาUTC+2 (EET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 (EEST)
รหัสโทรศัพท์358 (รหัสพื้นที่ 18)
โดเมนบนสุด.ax5
1 ผู้ว่าราชการเป็นตำแหน่งที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลฟินแลนด์ และไม่มีอำนาจเหนือรัฐบาลปกครองตนเองของโอลันด์
2 จัดตั้งโดยองค์การสันนิบาตชาติหลังจากวิกฤตการณ์หมู่เกาะโอลันด์
3 โอลันด์จัดการลงประชามติแยก และเข้าร่วมสหภาพยุโรปพร้อมกับประเทศฟินแลนด์
4 ก่อนหน้านี้ใช้มาร์กฟินแลนด์จนถึงปีพ.ศ. 2542
5 แทนที่ .aland.fi ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549

หมู่เกาะโอลันด์ (สวีเดน: Åland, ออกเสียง /'oːland/; ฟินแลนด์: Ahvenanmaa) เป็นหมู่เกาะในทะเลบอลติก ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ มากกว่า 6,500 เกาะ มีเกาะฟัสตาโอลันด์ (Fasta Åland) เป็นเกาะที่ใหญ่และสำคัญที่สุด หมู่เกาะโอลันด์ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าอ่าวบอทเนียระหว่างสวีเดนกับฟินแลนด์

การปกครองตนเองของโอลันด์[แก้]

สถานะการปกครองตนเองของหมู่เกาะโอลันด์ได้รับการยืนยันตามคำวินิจฉัยโดยสันนิบาตชาติในปีพ.ศ. 2463 ซึ่งมีขึ้นหลังจากวิกฤตโอลันด์ สถานะดังกล่าวได้รับการยืนยันอีกครั้งหลังจากที่ฟินแลนด์เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ตามกฎหมายแล้ว โอลันด์มีความเป็นกลางทางการเมืองและเป็นเขตปลอดทหาร พลเมืองของโอลันด์ก็ได้รับยกเว้นจากการเกณฑ์ทหารของกองทัพฟินแลนด์ โอลันด์ได้รับสิทธิในการปกครองตนเองค่อนข้างมากรัฐบัญญัติการปกครองตนเองของหมู่เกาะโอลันด์ ค.ศ. 1920 ซึ่งได้มีการแก้ไขต่อมาเป็นฉบับค.ศ. 1951 และ 1991 ตามลำดับ[1]

ประวัติ[แก้]

ในปีพ.ศ. 2352 สวีเดนต้องเสียดินแดนหมู่เกาะโอลันด์ให้กับจักรวรรดิรัสเซียพร้อมกับดินแดนฟินแลนด์ส่วนอื่นๆ โอลันด์กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของราชรัฐปกครองตนเองฟินแลนด์ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของรัสเซีย หมู่เกาะโอลันด์มีสถานะเป็นเขตปลอดทหารจากสนธิสัญญานานาชาติในปีพ.ศ. 2399[2]

หลังจากการประกาศเอกราชของฟินแลนด์ในปีพ.ศ. 2460 ประชาชนบนหมู่เกาะโอลันด์ยื่นคำร้องต่อรัฐบาลสวีเดนให้ดินแดนหมู่เกาะโอลันด์ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดน ซึ่งได้รับการตอบรับจากรัฐบาลสวีเดน รัฐบาลสวีเดนส่งข้อความถึงฟินแลนด์ ว่าประชากรบนหมู่เกาะโอลันด์ควรได้ลงประชามติเพื่อตัดสินใจว่าอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศใด แต่รัฐบาลฟินแลนด์ปฏิเสธ ฟินแลนด์ออกกฎหมายคุ้มครองอำนาจปกครองตนเองบนหมู่เกาะโอลันด์ แต่ก็ไม่ช่วยลดกระแสแบ่งแยกมากนัก วิกฤตการณ์หมู่เกาะโอลันด์ถูกนำเข้าที่ประชุมของสันนิบาตชาติในปี พ.ศ. 2463 สันนิบาตชาติลงมติในปีต่อมาให้หมู่เกาะโอลันด์เป็นส่วนหนึ่งของฟินแลนด์ ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และเศรษฐกิจ ฟินแลนด์ลงนามในสนธิสัญญารับรองความเป็นกลางของหมู่เกาะโอลันด์ โดยฟินแลนด์ไม่สามารถตั้งฐานทัพหรือส่งทหารเข้าไปบนหมู่เกาะนี้[2]

เขตปกครองในหมู่เกาะโอลันด์

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.finlex.fi/en/laki/kaannokset/1991/en19911144.pdf เก็บถาวร 2021-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "Act on the Autonomy of Åland"
  2. 2.0 2.1 Zetterberg, S. (1991). Finland After 1917, Keuruu: Otava. ISBN 951-1-11724-6 (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]