สุริยา ปราสาทหินพิมาย
สุริยา ปราสาทหินพิมาย | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เกิด | 2 เมษายน พ.ศ. 2522 อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||
สัญชาติ | ไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||
อาชีพ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
ญาติ | สุข ปราสาทหินพิมาย (ปู่) | ||||||||||||||||||||||||||||||||
อาชีพนักมวย | |||||||||||||||||||||||||||||||||
สัญชาติ | ไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
| |||||||||||||||||||||||||||||||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |||||||||||||||||||||||||||||||||
รับใช้ | ไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||
แผนก/ | กองทัพบกไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ชั้นยศ | จ่าสิบเอก | ||||||||||||||||||||||||||||||||
จ่าสิบเอก สุริยา ปราสาทหินพิมาย (เกิดวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2522; เป็นหลานปู่ของสุข ปราสาทหินพิมาย) เป็นนักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทย เจ้าของเหรียญเงิน เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 14 ที่เมืองปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี จากนั้นมาคว้าเหรียญทองแดง ในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 28 ที่กรุงเอเธนส์ สาธารณรัฐเฮลเลนิก ในรุ่นมิดเดิลเวท 75 กก. และคว้าเหรียญทองกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ที่จังหวัดนครราชสีมา แต่ภายหลังตรวจพบสารต้องห้ามและถูกริบเหรียญรางวัล และทำให้ต้องหยุดชกไปหลายปี
ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 สุริยาหวนกลับคืนมาชกมวยอีกครั้ง แทนที่ อังคาร ชมพูพวง ที่หันกลับไปชกมวยไทย ซึ่งสุริยาก็สามารถทำผลงานได้ดี ด้วยการคว้าเหรียญทองแดงมวยสากลสมัครเล่นรายการ โปเปนเชนโก เมโมเรียล ที่กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ร่วมกับนักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทยหลายคน[2] สุริยา ปราสาทหินพิมาย ยังได้เข้าร่วมการแข่งขันมวยไทย ในรายการศึกวันมวยไทยนายขนมต้ม โดยได้พบกับ ชิคกี้ แบงค็อกบ็อกซิ่ง ในการชิงแชมป์รุ่นมิดเดิลเวท WPMP ที่เซ็นทรัลเวิลด์ ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555 [3][4] และสุริยาเป็นฝ่ายชนะคะแนน[5]
ปัจจุบัน สุริยา ปราสาทหินพิมาย มีค่าตัวในการแข่งขันที่ 3 หมื่นบาท และรับราชการทหารอยู่ที่ กองบัญชาการช่วยรบที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา โดยมียศสิบเอก[1]
โอลิมปิก 2004
[แก้]สุริยาลงแข่งขันในรุ่นมิดเดิลเวท (75 กิโลกรัม) ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่เมืองเอเธนส์ ประเทศกรีซ เส้นทางสู่เหรียญทองแดงของสุริยา คือ
- รอบ 32 คนสุดท้าย: ชนะ โยเซฟ ลูเบก้า จากยูลานด้า 30-21 หมัด
- รอบ 16 คนสุดท้าย: ชนะ เจวิด ทากิเยฟ จากอาเซอร์ไบจาน 19-19 หมัด (สุริยาชนะด้วยคะแนนดิบ)
- รอบก่อนรองชนะเลิศ: ชนะ โอเร็กซ์ มาสคิน จากยูเครน 28-22 หมัด
- รอบรองชนะเลิศ: แพ้ เกฟดาเบก เกดาเบคอฟ จากรัสเซีย 18-24 หมัด
เกียรติประวัติ
[แก้]- แชมป์สหพันธ์มวยไทยอาชีพโลก (WPMF)[6]
- สิ่งที่ชกฝ่ายต่างประเทศ ของ สุริยา ปราสาทหินพิมาย
- ชนะคะแนน ชุย ซีแบน (กัมพูชา) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ชนะคะแนน ซีโบว ดาดาน (กัมพูชา) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ชนะคะแนน โซโมซิโอ บิซากาดะ (ซามัว) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ชนะคะแนน โจ ลีมาน (กัมพูชา) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ชนะคะแนน ทอน ลาซู (กัมพูชา) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ชนะคะแนน เคน นูมอร์ (กัมพูชา) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ชนะคะแนน ดอน เคซิมอร์ (กัมพูชา) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ชนะคะแนน ซิม บิงเบอร์ (กัมพูชา) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ชนะคะแนน ดัส ฮันไซ (กัมพูชา) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ชนะคะแนน เคน อิสมาน (กัมพูชา) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ชนะคะแนน ซิม เดม่า (กัมพูชา) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- แชมป์สภามวยไทยโลก (WBC MUAYTHAI)
- ชิง ชนะคะแนน แดนนี่ บิลล์ (แคเมอรูน) ที่ เวทีมวยลุมพินี
- ป้องกันตำแหน่งแชมป์ครั้งที่ 1 ชนะคะแนน คิม ลีเฮียง (เกาหลีใต้) ที่ เวทีมวยลุมพินี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2547 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น จตุตถดิเรกคุณาภรณ์[7]
- พ.ศ. 2548 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นตติยดิเรกคุณาภรณ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 เทพ เทวลัย. 50 คำตอบมวยดัง. น็อกเอาต์ฉบับมวยสยาม. ปีที่ 24 ฉบับที่ 2017. วันที่ 13-19 มิถุนายน 2555. ISSN 15135438. หน้า 24
- ↑ "สุริยา"แจ้งเกิดใหม่[ลิงก์เสีย] จากเดลินิวส์
- ↑ ศึกนายขนมต้มทุกรุ่นพร้อมชก. ข่าวสด. ปีที่ 21 ฉบับที่ 7771. วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555. หน้า 13
- ↑ สังคมชัดลึก. คมชัดลึก. ปีที่ 11 ฉบับที่ 3794. วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555. หน้า 22
- ↑ ไทยรัฐ. ปีที่ 63 ฉบับที่ 19781. วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555. หน้า 30
- ↑ น็อกเอาต์ฉบับมวยสยาม. ปีที่ 24 ฉบับที่ 2005. วันที่ 21-27 มีนาคม 2555. ISSN 15135438. หน้า 52
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๑๙ ข ๘ ตุลาคม ๒๕๔๗ หน้า ๑๐