อุดมพร พลศักดิ์
อุดมพร พลศักดิ์ | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เกิด | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2524 จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย | |||||||||||||||||
สัญชาติ | ไทย | |||||||||||||||||
ชื่ออื่น | อร | |||||||||||||||||
การศึกษา | โรงเรียนสวนหม่อน โรงเรียนบุญวัฒนา โรงเรียนเทพลีลา | |||||||||||||||||
ศิษย์เก่า | สถาบันการพลศึกษา | |||||||||||||||||
อาชีพ |
| |||||||||||||||||
มีชื่อเสียงจาก | นักกีฬาหญิงเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิกคนแรกของไทย | |||||||||||||||||
คู่สมรส | ชัยรัตน์ ล้อประกานต์สิทธิ์ (สมรส 2551) | |||||||||||||||||
กีฬาอาชีพ | ||||||||||||||||||
ประเทศ | ไทย | |||||||||||||||||
กีฬา | ยกน้ำหนัก | |||||||||||||||||
ระดับน้ำหนัก | 53 กิโลกรัม | |||||||||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
| ||||||||||||||||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | ||||||||||||||||||
รับใช้ | ไทย | |||||||||||||||||
แผนก/ | กองทัพบกไทย | |||||||||||||||||
ชั้นยศ | พันโท | |||||||||||||||||
พันโทหญิง อุดมพร พลศักดิ์ ชื่อเล่นอร (เกิด 6 ตุลาคม พ.ศ. 2524) อดีตนักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทย เป็นนักกีฬาหญิงคนแรกของราชอาณาจักรไทย ที่ได้เหรียญทองในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ฤดูร้อน โดยได้จากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 28 ณ กรุงเอเธนส์ สาธารณรัฐเฮลเลนิก เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ในการแข่งขันยกน้ำหนัก รุ่นไม่เกิน 53 กก. โดยยกในท่าสแนชได้ 97.5 กก. ท่าคลีนแอนด์เจิร์กได้ 125 กก. รวม 222.5 กก. โดยเป็นการทำลายสถิติโอลิมปิก ในท่าคลีนแอนด์เจิร์กของประเภทนี้ด้วย
อุดมพร เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2524 ที่จังหวัดนครราชสีมา เริ่มเข้ารับการศึกษาในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนสวนหม่อน และศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนบุญวัฒนา และโรงเรียนเทพลีลา ก่อนจะมาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่วิทยาลัยพลศึกษากรุงเทพจนจบปริญญาตรี
ในการแข่งขันยกน้ำหนักชิงแชมป์โลก 2003 ที่เมืองแวนคูเวอร์ รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา อุดมพรทำได้สองเหรียญทอง โดยทำน้ำหนักได้ 100 กก. ในท่าสแนช และ 222.5 กก. ในน้ำหนักรวม[1]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]อุดมพร พลศักดิ์ สมรสกับนายชัยรัตน์ ล้อประกานต์สิทธิ์ อดีตนักกีฬายกน้ำหนัก เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2551 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีสมรสพระราชทาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร และได้จัดงานฉลองมงคลสมรสที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมสีมาธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 10 ม.ค.2552[2]
ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2553 อุดมพร พลศักดิ์ ได้เปิดเผยว่าตนเองได้แท้งลูกเนื่องจากไม่ทราบว่าตั้งครรภ์จึงไม่ทันระวังตัว[3]
คำประจำตัว
[แก้]ก่อนขึ้นยกน้ำหนักและคว้าเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน น้องอรตะโกนคำว่า "สู้โว้ย" ออกมาดังๆเพื่อปลุกขวัญกำลังใจ เป็นที่ถูกอกถูกใจแฟนกีฬาชาวไทย คำว่าสู้โว้ยจึงเป็นวลีติดปากของคนไทย[4] และสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดนครราชสีมาที่สำคัญจบจากโรงเรียนบุญวัฒนา
ยศทหาร
[แก้]- พันตรีหญิงแห่งกองทัพบกไทย[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[6]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[7]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[8]
- พ.ศ. 2565 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Udomporn makes Thai history". BBC SPORT. 2004-08-15. สืบค้นเมื่อ 2009-01-22.
- ↑ อุดมพร พลศักดิ์ แต่งงานสมรส
- ↑ อุดมพร พลศักดิ์ เกิดอาการแท้งลูก
- ↑ MyFirstBrain.Com - อุดมพร พลศักดิ์ (ไทย)
- ↑ "ทบ.พิจารณาบรรจุนักยกน้ำหนักหญิงเข้าเป็นทหาร"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๓๕, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๘๔, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑๐, ๘ ตุลาคม ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๘๓, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Udomporn POLSAK ข้อมูลนักกีฬา จากเว็บไซต์ของ เอเธนส์ 2004