วรพจน์ เพชรขุ้ม
วรพจน์ เพชรขุ้ม ต.ภ. | |
---|---|
ชื่อจริง | ส.อ.วรพจน์ เพชรขุ้ม |
รุ่น | แบนตั้มเวท |
เกิด | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 สุราษฎร์ธานี |
สถิติเหรียญโอลิมปิก | ||
---|---|---|
มวยสากลสมัครเล่น | ||
โอลิมปิกฤดูร้อน | ||
![]() |
เอเธนส์ 2004 | แบนตั้มเวท |
เอเชียนเกมส์ | ||
![]() |
กว่างโจว 2010 | แบนตั้มเวท |
![]() |
กาตาร์ 2006 | แบนตั้มเวท |
ซีเกมส์ | ||
![]() |
บรูไน 1999 | แบนตั้มเวท |
![]() |
เวียดนาม 2003 | แบนตั้มเวท |
![]() |
ฟิลิปปินส์ 2005 | แบนตั้มเวท |
![]() |
โคราช 2007 | แบนตั้มเวท |
สิบเอก วรพจน์ เพชรขุ้ม เกิดวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 ที่อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นชาวไทย เจ้าของเหรียญเงินในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี พ.ศ. 2547 ที่ประเทศกรีซ[1] และได้รับเกียรติให้เป็นผู้เชิญธงชาติไทยนำขบวนนักกีฬาทีมชาติไทย ในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 และในการแข่งขันมวยสากลในเอเชียนเกมส์ 2010 วรพจน์ชนะนักมวยจากประเทศจีน ซึ่งเป็นเจ้าภาพ และวรพจน์ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน นับเป็นเหรียญทองแรกของวรพจน์ในเอเชียนเกมส์ เหรียญทองเดียวของมวยสากลสมัครเล่นไทยในการแข่งขันครั้งนี้ และเหรียญทองสุดท้ายของทีมชาติไทยในการแข่งขันครั้งนี้
ประวัติ[แก้]
สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านใหญ่ และเข้าศึกษาในมัธยมศึกษาที่โรงเรียนพนมศึกษา (มัธยมศึกษาปีที่ 1) ก่อนย้ายไปโรงเรียนท่าฉางวิทยาคาร (มัธยมศึกษาปีที่ 2) และโรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และระดับปริญญาโทที่วิทยาลัยทองสุข
โอลิมปิก[แก้]
โอลิมปิก 2004[แก้]
วรพจน์ลงแข่งขันในรุ่นแบนตั้มเวท 54 กิโลกรัม ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ โดยขึ้นแข่งขันกับคู่ชกดังต่อไปนี้
- รอบ 32 คนสุดท้าย: ชนะ คิมวอนลี จากเกาหลีใต้ 1-47 หมัด
- รอบ 16 คนสุดท้าย: ชนะ คาวาสซี คัตซีกอฟ จากเบลารุส 33-18 หมัด
- รอบ 8 คนสุดท้าย: ชนะ เนสเตอร์ โบรุม จากไนจีเรีย 29-14 หมัด
- รอบรองชนะเลิศ: ชนะ อักฮาซี มัมมาดอฟ จากอาเซอร์ไบจาน 22-19 หมัด
- รอบชิงชนะเลิศ: แพ้ กิลเลอร์โม ริกอนเดอ๊อกซ์ จากคิวบา 12-22 หมัด[2]
โอลิมปิก 2008[แก้]
ก่อนการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน วรพจน์ประกาศว่า ตนจะคว้าเหรียญทองให้ได้ เพื่อนำไปเป็นกำลังใจให้คุณพ่อที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง วรพจน์สามารถผ่านรอบแรกไปโดยไม่ต้องชก เนื่องจากจับสลากได้ผ่านโดยอัตโนมัติ ในรอบสองสามารถเอาชนะ วิตโตริโอ จาฮิน ปาร์ริเนลโล จากอิตาลี ไปได้ขาดลอย 12-1 หมัด[3] แต่รอบสาม หรือรอบ 8 คนสุดท้าย วรพจน์กลับแพ้ให้กับ แยนคีล ลีออน อลาร์คอน จากคิวบา 2-10 หมัด ที่เป็นตัวแทนของกิลเลอร์โม ริกอนเดอ๊อกซ์ คู่ชิงชนะเลิศที่สามารถเอาชนะวรพจน์ไปได้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว[4] โดยภายหลังการชก วรพจน์ถึงกับร่ำไห้ ที่ไม่สามารถคว้าเหรียญรางวัลใดได้เลย[5]
โอลิมปิก 2012[แก้]
ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร วรพจน์ไม่อาจผ่านไปในรอบสุดท้ายในการแข่งขันได้ ด้วยเป็นฝ่ายแพ้ ชีวา ธาปา นักมวยชาวอินเดีย อายุ 18 ปี ไป 10-16 หมัด ในการแข่งขันคัดเลือกตัวที่ประเทศคาซัคสถาน เมื่อต้นเดือนเมษายน ปีเดียวกัน[6]
ผลงาน[แก้]
- เหรียญทองซีเกมส์ ครั้งที่ 21 (บรูไน)
- เหรียญทองซีเกมส์ ครั้งที่ 22 (เวียดนาม)
- เหรียญทองซีเกมส์ ครั้งที่ 23 (ฟิลิปปินส์)
- เหรียญทองซีเกมส์ ครั้งที่ 24 (ไทย)
- เหรียญเงินเอเชียนเกมส์ 2006 (กาตาร์)
- เหรียญเงินโอลิมปิก 2004 (กรีซ)
- เหรียญทองเอเชียนเกมส์ 2010 (กว่างโจว จีน)
- เหรียญทองคิงส์คัพ
- เหรียญทองรายการนานาชาติ 2004 (อียิปต์)
กรณีถ่ายแบบ[แก้]
ในกลางปี พ.ศ. 2552 วรพจน์ตกเป็นข่าวฮือฮาตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่าได้ไปถ่ายแบบในกับนิตยสารฉบับหนึ่งในแบบวาบหวิว ทำให้ทางสมาคมมวยสากลสมัครเล่นลงโทษห้ามชกเป็นเวลา 3 เดือน[7]
ดูเพิ่ม[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2548 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ นิพนธ์ ขาวอุบล. วรพจน์ เพชรขุ้ม 'รับใช้ชาติ 16 ปี..ผมพอแล้ว. มวยสยามรายวัน. ปีที่ 19 ฉบับที่ 6814. วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555. หน้า 16
- ↑ วรพจน์ เพชรขุ้ม นักมวยไทย จาก สุราษฎร์ธานี พ่ายไป 22 12 กลายเป็นนักชกเหรียญเงินคนที่สองของไทย
- ↑ โอลิมปิก 2008: วรพจน์ เพชรขุ้มทะลุชิงทองแดง หลังไล่ตะบันนักชกอิตาลีขาดลอย 12:1
- ↑ โอลิมปิก 2008: วรพจน์ เพชรขุ้มสุดต้าน แพ้นักชกคิวบาขาดลอย 2:10 หมัด
- ↑ "วรพจน์ เพชรขุ้ม ให้สัมภาษณ์หลังพลาดเข้ารอบรองชนะเลิศทั้งน้ำตา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-23. สืบค้นเมื่อ 2009-04-07.
- ↑ ร่วงเรียบ!วรพจน์พ่ายนักชกโรตีวัย18ปีชวดตั๋วอลป. จากสยามสปอร์ต
- ↑ "วรพจน์ เพชรขุ้ม ถ่ายนู้ด นิตยสารเกย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-08. สืบค้นเมื่อ 2010-04-07.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘ เพิ่มเติม เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๘
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
วิกิคำคมมีคำคมเกี่ยวกับ วรพจน์ เพชรขุ้ม |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2524
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักมวยสากลสมัครเล่นชาวไทยชุดโอลิมปิก 2004
- นักมวยสากลสมัครเล่นชาวไทยชุดโอลิมปิก 2008
- นักกีฬาเหรียญทองซีเกมส์ชาวไทย
- นักกีฬาเหรียญทองเอเชียนเกมส์ชาวไทย
- นักกีฬาเหรียญทองแดงเอเชียนเกมส์ชาวไทย
- นักกีฬาไทยที่ได้เหรียญเงินโอลิมปิก
- บุคคลจากอำเภอพนม
- ทหารบกชาวไทย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
- บุคคลจากวิทยาลัยทองสุข