สำนักเลขาธิการสหประชาชาติ
สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก | |
ก่อตั้ง | 1945 |
---|---|
ประเภท | เสาหลัก |
สถานะตามกฎหมาย | ดำเนินการอยู่ |
เลขาธิการ | อังตอนียู กูแตรึช |
รองเลขาธิการ | เอมินา เจ. โมฮัมเหม็ด |
เว็บไซต์ | un.org/secretariat |
สำนักเลขาธิการสหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations Secretariat) เป็นฝ่ายบริหารและหนึ่งในเสาหลักในระบบสหประชาชาติ มีบทบาทสำคัญในการกำหนดวาระหารือต่าง ๆ ตลอดจนการจัดตั้งหน่วยงานของสหประชาชาติ โดยมีเลขาธิการสหประชาชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่เป็นหัวหน้าของสำนักเลขาธิการ[1]
ในสำนักเลขาธิการ มีเจ้าหน้าที่พลเรือนซึ่งมาจากนานาชาติทำงานอยู่กว่า 44,000 คน ซึ่งทำหน้าที่ปรึกษาหารือหัวข้อเกี่ยวกับพลเรือนโลกตามขอบเขตอำนาจของสหประชาชาติ ตามกฎบัตรสหประชาชาติแล้ว เลขาธิการสหประชาชาติเป็นผู้ที่มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในสำนักเลขาธิการและอาจโอนไปทำงานในองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาติ ซึ่งสถานะของเจ้าหน้าที่นั้นมีทั้งเจ้าหน้าที่ถาวรและเจ้าหน้าที่ชั่วคราวขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเลขาธิการ[2] ในการคัดเลือกเจ้าหน้าที่เข้าทำงานในสำนักเลขาธิการนั้น ความหลากหลายของสัญญาติและถิ่นกำเนิดก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการได้รับคัดเลือก
การจัดองค์การ
[แก้]สำนักเลขาธิการแบ่งออกเป็นสำนักงานและแผนกต่าง ๆ ลำดับชั้นภายในแต่ละรายการมีดังนี้:
- สำนักงาน: ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงอย่างน้อย 20 คนภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ D-2 (หัวหน้าแผนก) หรือในบางกรณีเป็นผู้ช่วยเลขาธิการหรือภายใต้เลขาธิการทั่วไป
- แผนก: ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงอย่างน้อย 15 คนภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ D-2 (หัวหน้าแผนก)
- หน่วยบริการ: ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงอย่างน้อย 8 คนภายใต้การดูแลของพนักงาน D-1 (ผู้ดูแลระบบทั่วไป)
- ส่วน: ผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 4 คนภายใต้การดูแลของพนักงาน P-4 (ประสบการณ์ 8–12 ปี) หรือพนักงาน P-5 (ประสบการณ์ 13–17 ปี)
- หน่วย: อย่างน้อย 4 ตำแหน่งภายใต้การกำกับดูแลของหัวหน้า
สำนักงาน
[แก้]- สำนักงานบริหารเลขาธิการ (EOSG)
- สำนักงานบริการกำกับดูแลภายในแห่งสหประชาชาติ (OIOS)
- สำนักงานกิจการกฎหมายแห่งสหประชาชาติ (OLA)
- สำนักงานกิจการปลดอาวุธแห่งสหประชาชาติ (ODA)
- สำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (OCHA)
- สำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR)
- สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR)
- สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR)
- สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC)
- สำนักงานผู้แทนระดับสูงแห่งสหประชาชาติสำหรับประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และรัฐกำลังพัฒนาเกาะขนาดเล็ก (OHRLLS)
- สำนักงานกิจการอวกาศแห่งสหประชาชาติ (UNOOSA)
- สำนักงานต่อต้านการก่อการร้ายแห่งสหประชาชาติ (UNOCT)
ทบวง
[แก้]- ทบวงกิจการการเมืองและการสร้างสันติภาพแห่งสหประชาชาติ (DPPA)
- ทบวงปฏิบัติการสันติภาพแห่งสหประชาชาติ (DPO)
- ทบวงกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (DESA)
- ทบวงสนับสนุนการปฏิบัติการแห่งสหประชาชาติ (DOS)
- ทบวงกลยุทธ์ นโยบาย และการปฏิบัติตามของสหประชาชาติ (DMSPC)*
- ทบวงสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติและการจัดการการประชุม (DGACM)
- ทบวงการสื่อสารระดับโลกแห่งสหประชาชาติ (DGC)
- ทบวงความปลอดภัยและความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (DSS)
สำนักงานอื่น ๆ
[แก้]- สำนักงานสหประชาชาติ ณ กรุงเจนีวา (UNOG)
- สำนักงานสหประชาชาติ ณ กรุงไนโรบี (UNON)
- สำนักงานสหประชาชาติ ณ กรุงเวียนนา (UNOV)
คณะกรรมการระดับภูมิภาค
[แก้]- กรุงเทพมหานคร คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก
- เบรุต คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียตะวันตก
- แอดดิสอาบาบา คณะกรรมการเศรษฐกิจแห่งแอฟริกา
- เจนีวา คณะกรรมการเศรษฐกิจแห่งยุโรป
- ซานติอาโก คณะกรรมการเศรษฐกิจแห่งละตินอเมริกาและแคริบเบียน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "UN Secretariat". United Nations. United Nations. สืบค้นเมื่อ 9 April 2015.
- ↑ "UN Staff Regulations - 2003" (PDF).
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สำนักเลขาธิการสหประชาชาติ
- Records of the United Nations Executive Office of the Secretary-General at the United Nations Archives
- UN Reform - Management Reform (official site)
- United States Department of State – UN Division