สมเด็จพระราชาธิบดีอิบราฮิม อิซมาอิลแห่งยะโฮร์
สมเด็จพระราชาธิบดีอิบราฮิม
| |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พระบรมฉายาลักษณ์ ปี ค.ศ. 2019 | |||||||||
ยังดีเปอร์ตวนอากง | |||||||||
ครองราชย์ | 31 มกราคม พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน | ||||||||
ราชาภิเษก | 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | ||||||||
รอง | สุลต่านนัซริน มูอิซซุดดิน ชะฮ์ | ||||||||
ก่อนหน้า | อับดุลละฮ์แห่งปะหัง | ||||||||
นายกรัฐมนตรี | อันวาร์ อิบราฮิม | ||||||||
สุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ | |||||||||
ครองราชย์ | 23 มกราคม ค.ศ. 2010 – ปัจจุบัน | ||||||||
ราชาภิเษก | 23 มีนาคม ค.ศ. 2015 | ||||||||
มุขมนตรี | |||||||||
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชาธิบดีอิซกันดาร์ | ||||||||
รัชทายาท | ตุนกูอิซมาอิล | ||||||||
พระราชสมภพ | โรงพยาบาลสุลตานะฮ์อามีนะฮ์ โจโฮร์บะฮ์รู รัฐยะโฮร์ สหพันธรัฐมาลายา | 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1958||||||||
คู่อภิเษก | ราจา ซาริต โซเฟียะฮ์ (สมรส 1982) | ||||||||
พระราชบุตร |
| ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | เตอเมิงกุง | ||||||||
พระราชบิดา | สมเด็จพระราชาธิบดีอิซกันดาร์ | ||||||||
พระราชมารดา | กัลซอม บินติ อับดุลลาห์ | ||||||||
ศาสนา | ซุนนี | ||||||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |||||||||
รับใช้ | ยะโฮร์ | ||||||||
แผนก/ | กองทัพยะโฮร์ | ||||||||
ประจำการ | ค.ศ. 1977–ปัจจุบัน (ประจำการเต็มเวลา) | ||||||||
ชั้นยศ | ผู้บัญชาการ (ยะโฮร์) | ||||||||
หน่วย | กองทัพยะโฮร์ | ||||||||
สมเด็จพระราชาธิบดีอิบราฮิม อิซมาอิลแห่งยะโฮร์ หรือ สุลต่านอิบราฮิม อิบนี อัลมาร์ฮุม ซุลตัน อิซกันดาร์ (มลายู: Sultan Ibrahim ibni Almarhum Sultan Iskandar, سلطان إبراهيم ابن المرحوم سلطان إسکندر; พระราชสมภพ 22 พฤศจิกายน 1958) ทรงเป็นยังดีเปอร์ตวนอากงพระองค์ปัจจุบัน เป็นสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์พระองค์ที่ 25 และพระองค์ที่ 5 ของรัฐยะโฮร์ยุคใหม่ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2010 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีอิซกันดาร์ พระองค์โปรดและทรงมีความคลั่งไคล้ในรถจักรยานยนต์ และทรงเป็นผู้ก่อตั้งกิจกรรมทัวร์มอเตอร์ไซค์ประจำปี เรียกว่า Kembara Mahkota Johor[1]
พระราชประวัติ
[แก้]พระชนม์ชีพช่วงต้น
[แก้]ตุนกูอิบราฮิม อิซมาอิล เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1958 ณ โรงพยาบาลสุลตานะฮ์อามีนะฮ์ โจโฮร์บะฮ์รู รัฐยะโฮร์ สหพันธรัฐมาลายา ในรัชกาลของสุลต่านอิบราฮิมพระบรมราชปัยกา เป็นพระราชบุตรพระองค์ที่ 3 และพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีอิซกันดาร์ พระราชสมภพแต่ เอนเช เบซาร์ ฮัจญะห์ กัลซอม บินติ อับดุลลาห์ (พระนามเดิม : โจเซฟิน รูบี เทรวอร์โรล ชาวอังกฤษ)[2][3] ซึ่งสมเด็จพระราชาธิบดีอิซกันดาร์ (ขณะนั้นคือ ตุนกู มะฮ์มูด) ทรงพบกับโจเซฟีนขณะทรงศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ[4][5] โจเซฟีนเลือกใช้ชื่อ "Kalsom binti Abdullah" สำหรับพิธีอภิเษกสมรสกับ ตุนกู อิซกันดาร์[6] ต่อมาโจเซฟีนแต่งงานใหม่และพำนักอยู่ที่อังกฤษ[7]
สุลต่านแห่งยะโฮร์
[แก้]ไม่นานก่อนการสวรรคตของสมเด็จพระราชาธิบดีอิซกันดาร์ผู้เป็นพระราชบิดา ในวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2010 ตุนกูอิบราฮิม ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งยะโฮร์ เนื่องจากคณะแพทย์ที่ถวายการรักษาพระอาการประชวรของพระราชบิดาได้กราบทูลว่า สมเด็จพระราชาธิบดีอิซกันดาร์คงมีพระชนม์ชีพได้อีกไม่นาน[8] กระทั่งเสด็จสวรรคตในคืนวันนั้นเอง ตุนกูอิมราฮิม ได้รับการอัญเชิญเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ ในเช้าวันต่อมา[9] อับดุล กานิ โอตมัน เมินเตอรีเบอร์ซาร์แห่งยะโฮร์ (มนตรีข้าหลวง) ประกาศว่าสุลต่านอิบราฮิมและพระบรมวงศานุวงศ์จะทรงไว้ทุกข์เป็นเวลา 40 วัน[10] ในช่วงการไว้ทุกข์ สุลต่านอิบราฮิมได้ปรากฏพระองค์ครั้งแรกในฐานะสุลต่านแห่งยะโฮร์ในที่ประชุมราชสภาผู้ปกครองแห่งมาเลเซียเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010[11]
สุลต่านอิบราฮิม อิซมาอิล มีพระราชโองการประกาศให้เมืองมัวร์เป็นเมืองหลวงใหม่ของรัฐยะโฮร์แทนโจโฮร์บะฮ์รู เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 ในโอกาสงานเฉลิมฉลองเมาลิด
ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกเป็นสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์อย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2015[12] รัฐบาลยะโฮร์ประกาศให้วันที่ 23 มีนาคม เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ประจำปี ในฐานะวันเฉลิมพระชนมพรรษาอย่างเป็นทางการ แทนวันที่ 22 พฤศจิกายน เดิม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสุลต่านที่แท้จริง[13]
ยังดีเปอร์ตวนอากง
[แก้]เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 2023 ที่ประชุมราชสภาผู้ปกครองแห่งมาเลเซีย มีมติเลือกให้ สุลต่านอิบราฮิม อิซมาอิล ขึ้นดำรงพระบรมราชอิสริยยศเป็น ยังดีเปอร์ตวนอากง หรือ "สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย" พระองค์ที่ 17 สืบต่อจากสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลละห์แห่งปะหัง[14][15] โดยเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2024
ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระราชาธิบดีอิบราฮิม อิซมาอิล | |
---|---|
ตราประจำพระอิสริยยศ | |
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Tunku Mahkota to lead tour for 10th year". The Star. 16 กรกฎาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 มิถุนายน 2011.
- ↑ Facts on File Yearbook, Published by Facts on File, inc., 1957, Phrase: "Married: Prince Tengku Mahmud, 24, grandson of the Sultan of Johore, & Josephine Ruby Trevorrow, 21, daughter of an English textile..."
- ↑ Morris (1958), pg 244
- ↑ Information Malaysia: 1985
- ↑ The International Who's Who 2004, pp. 827
- ↑ Morais (1967), pg 198
- ↑ Rahman, Solomon (1985), pg 21
- ↑ "Tunku Mahkota Johor Appointed Regent Effective Today". Bernama. 22 มกราคม 2010.
- ↑ "Tunku Ibrahim Ismail Proclaimed As Sultan Of Johor". Bernama. 22 มกราคม 2010.
- ↑ Teo Cheng Wee (23 มกราคม 2010). "Sultan of Johor dies". The Straits Times.
- ↑ "Conference of Rulers meets today". The Star (Malaysia). 10 กุมภาพันธ์ 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2010.
- ↑ "Coronation of Johor Sultan". The Star. Malaysia. 23 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2015.
- ↑ "Johor declares March 23 public holiday replacing Nov 22". The Star. Malaysia. 19 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2015.
- ↑ "Sultan Ibrahim of Johor to be appointed Malaysia's king, 34 years after his father's reign". Channel News Asia. 27 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2023.
- ↑ "Malaysian sultans choose new king in unique rotational monarchy". Al Jazeera. 27 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2023.
บรรณานุกรม
[แก้]- Abdul Rahman; J. S. Solomon (1985). Challenging Times. Petaling Jaya: Pelanduk Publications. ISBN 967-978-094-5.