สถิรพันธุ์ เกยานนท์
สถิรพันธุ์ เกยานนท์ | |
---|---|
ผู้บัญชาการทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 – 30 กันยายน พ.ศ. 2551 | |
ก่อนหน้า | พลเรือเอก สามภพ อัมระปาล |
ถัดไป | พลเรือเอก กำธร พุ่มหิรัญ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2490 |
คู่สมรส | พรเพ็ญ เกยานนท์ |
พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือของไทยคนแรกที่เกิดภายใต้พระบรมโพธิสมภารในรัชกาลที่ 9 และอดีตรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) คนที่ 2 อดีตราชองครักษ์พิเศษ [1]
ประวัติ
[แก้]เกิดเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2490 มีชื่อเล่นว่า "อุ๊" เป็นบุตรของ พล.ร.อ. สถาปน์ เกยานนท์ นายกเมืองพัทยา คนแรก และ ม.ร.ว. กระวิก เกยานนท์ การศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ (พ.ศ. 2496 - 2502) ชั้นมัธยมศึกษา ม.4 - ม.6 โรงเรียนเทพศิรินทร์ โดยมีเพื่อนร่วมรุ่น เช่น กนก เหวียนระวี, ปริญญา บุรณศิริ, ดร. พิศิษฐ เศรษฐวงศ์, พล.ต.ต.สุรศักดิ์ หลายพัฒน์, นพ.อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์, นพ.ธงชัย เติมประสิทธิ์ , รศ.สมศักดิ์ วนิชาชีวะ, ร.อ.พินิจ สาหร่ายทอง เป็นต้น โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6 โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 63 โรงเรียนนายทหารเรือชั้นต้น พรรคนาวิน โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง วิทยาลัยการทัพเรือ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ. 4414) หลักสูตรต่างประเทศ Special Investigating Officer ประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตรเรือเร็วโจมตี ประเทศเดนมาร์ก อบรมระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นฮาร์พูน ประเทศสหรัฐอเมริกา NAVAL COMMAND COLLEGE ประเทศสหรัฐอเมริกา
รับราชการ
[แก้]ตำแหน่งสำคัญ ผู้บังคับการเรือ ต.91 และเรือ ต.92 กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ ต้นเรือ เรือหลวงปราบปรปักษ์ กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ ต้นเรือ เรือหลวงอุดมเดช กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ รองผู้อำนวยการกองยุทธการ กรมยุทธการทหารเรือ ผู้อำนวยการกองวิทยุสื่อสาร กรมสื่อสารทหารเรือ ผู้ช่วยทูตทหารเรือไทย ประจำกรุงนิวเดลี รองเลขานุการกองทัพเรือ เลขานุการกองทัพเรือ ผู้บัญชาการกองเรือภาคที่ 3 กองเรือยุทธการ รองเสนาธิการทหารเรือ เสนาธิการทหารเรือ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ครอบครัว
[แก้]ชีวิตส่วนตัวสมรสกับนางพรเพ็ญ เกยานนท์ มีบุตรชาย 1 คน หญิง 1 คน คือ ลูกเต๋า นางฐิตะวดี เกยานนท์ และ ลูกกอล์ฟ นายฐิติพันธุ์ เกยานนท์ DIRECTOR OF RADIO BUSINESS คลื่น 88.5 และมีหลานชาย 1คน หลานสาว2คน
บทบาททางการเมือง
[แก้]ในเหตุการณ์การรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) คนที่ 1 ในฐานะเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ
แต่ในช่วงเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 นั้น พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เป็นตัวแทนของเพื่อนร่วมรุ่นวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 4414 ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามอบดอกกุหลาบให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อเป็นกำลังใจให้เนื่องในโอกาสวันวาเลนไทน์ด้วย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2546 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2543 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2560 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[4]
- พ.ศ. 2527 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[5]
- พ.ศ. 2523 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[6]
ดูเพิ่ม
[แก้]- รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
- คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
อ้างอิง
[แก้]- ↑ (คปค.) คนที่ 2 อดีตราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑ภ๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๕, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๒๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒๖, ๑๙ กันยายน ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๑๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
ก่อนหน้า | สถิรพันธุ์ เกยานนท์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเรือเอก สามภพ อัมระปาล | ![]() |
![]() ผู้บัญชาการทหารเรือ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 – 30 กันยายน พ.ศ. 2551) |
![]() |
พลเรือเอก กำธร พุ่มหิรัญ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2490
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ทหารเรือชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนนายเรือ
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- บุคคลจากวิทยาลัยการทัพเรือ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา