ข้ามไปเนื้อหา

สกอเปีย

พิกัด: 42°0′N 21°26′E / 42.000°N 21.433°E / 42.000; 21.433
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สกอเปีย

นคร
นครสกอเปีย
Град Скопје
Qyteti i Shkupit
สกอเปียตั้งอยู่ในRepublic of North Macedonia
สกอเปีย
สกอเปีย
ที่ตั้งของสกอเปียในมาซิโดเนียเหนือ
สกอเปียตั้งอยู่ในยุโรป
สกอเปีย
สกอเปีย
สกอเปีย (ยุโรป)
พิกัด: 42°0′N 21°26′E / 42.000°N 21.433°E / 42.000; 21.433
ประเทศ มาซิโดเนียเหนือ
ภูมิภาคสกอเปีย
เทศบาลเกรทเตอร์สกอเปีย
การปกครอง
 • ประเภทหน่วยพิเศษรัฐบาลท้องถิ่น
 • องค์กรสภานครสกอเปีย
 • นายกเทศมนตรีเปเตร ซีเลกอฟ (SDSM)
พื้นที่
 • นคร571.46 ตร.กม. (220.64 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง337.80 ตร.กม. (130.43 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล1,854.00 ตร.กม. (715.83 ตร.ไมล์)
ความสูง240 เมตร (790 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2015)[1]
 • นคร544,086 คน
 • ความหนาแน่น950 คน/ตร.กม. (2,500 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล630,873 คน
เดมะนิมสโกปยัน[2]
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสไปรษณีย์МК-10 00
รหัสพื้นที่+389 2
รหัส ISO 3166MK-85
ทะเบียนรถSK
ภูมิอากาศBSk
เว็บไซต์www.skopje.gov.mk

สกอเปีย[3] (มาซิโดเนีย: Скопје, ออกเสียง: [ˈskɔpjɛ] ( ฟังเสียง), แอลเบเนีย: Shkup) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศมาซิโดเนียเหนือ นับเป็นศูนย์กลางด้านการเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการศึกษาของประเทศ

พื้นที่ของนครสกอเปียมีการถิ่นฐานมาตั้งแต่ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล หลักฐานที่บ่งบอกถึงการตั้งถิ่นฐานในยุคหินใหม่ถูกพบในประภาคารกาเลอันเก่าแก่ ซึ่งสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของใจกลางนคร แรกเริ่มเดิมที สกูปีเป็นนครของอาณาจักรแพโอเนีย ต่อมาได้กลายเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรดาร์ดาเนียในช่วง 200 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1 พื้นที่แห่งนี้ได้ถูกทหารโรมันยึดครองและใช้เป็นฐานทัพ[4][5] เมื่อจักรวรรดิโรมันถูกแบ่งออกเป็นตะวันตกและตะวันออกใน ค.ศ. 395 สกูปีได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรไบแซนไทน์ซึ่งรับอำนาจมาจากคอนสแตนติโนเปิล ช่วงเวลาส่วนใหญ่ของต้นยุคกลาง เมืองนี้มักถูกจักรวรรดิไบแซนไทน์และบัลแกเรียที่ 1 สลับกันยึดครอง เมืองนี้เคยเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 972–992

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1282 เมืองนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเซอร์เบีย และได้รับการจัดตั้งให้เป็นเมืองหลวงระหว่าง ค.ศ. 1346–1371 ต่อมาใน ค.ศ. 1392 สกอเปียถูกยึดครองโดยกลุ่มเติร์กของออตโตมันที่เรียกตนเองว่า อุซกุบ ซึ่งชื่อนี้ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในภาษาอังกฤษ เมืองอยู่ภายใต้การปกครองของออตโตมันเป็นระยะเวลากว่า 500 ปี โดยเคยเป็นเมืองศูนย์กลางของกลุ่มอุซกุบและจังหวัดคอซอวอ ใน ค.ศ. 1912 เมืองถูกยึดครองโดยราชอาณาจักรเซอร์เบียในช่วงสงครามบอลข่าน[6] ต่อมาได้ถูกยึดครองโดยราชอาณาจักรบัลแกเรียในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังจากสงคราม เมืองได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรยูโกสลาเวียในฐานะเมืองศูนย์กลางของจังหวัดวาร์ดาร์บานอวีนา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองถูกยึดครองโดยบัลแกเรียอีกครั้ง และใน ค.ศ. 1944 ได้กลายเป็นเมืองหลวงของมาซิโดเนีย ซึ่งเป็นรัฐสหพันธ์ของยูโกสลาเวีย ตัวนครพัฒนาอย่างรวดเร็วแต่ก็มาหยุดชะงักเมื่อเกิดแผ่นดินไหวใน ค.ศ. 1963

สกอเปียตั้งอยู่บริเวณทางตอนต้นของแม่น้ำวาร์ดาร์ และตั้งอยู่บนเส้นทางหลักแนวเหนือ-ใต้ของคาบสมุทรบอลข่าน ระหว่างกรุงเบลเกรดกับกรุงเอเธนส์ นครเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมแปรรูปโลหะ เคมีภัณฑ์ ไม้ สิ่งทอ หนังสัตว์ และการพิมพ์ การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมของนครพัฒนาขึ้นพร้อมกับการพัฒนาการค้า ลอจิสติก การธนาคาร การขนส่ง วัฒนธรรม และกีฬา ในการสำมะโนปี 2002 สกอเปียมีประชากร 506,926 คน และเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2015 มีประชากร 544,086 คน แสดงให้เห็นว่า ประชากรมากกว่าหนึ่งในสี่ของประเทศอาศัยอยู่ที่นครแห่งนี้รวมถึงพื้นที่ปริมณฑล[7]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

[แก้]

เมืองฝาแฝด

[แก้]

สกอเปียเป็นเมืองฝาแฝดกับ:[8]

ภาคี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Census of Population, Households and Dwellings 2002, Book XIII:Total population, households and dwellings, According to the territorial organization of The Republic of Macedonia, 2004, 2002" (PDF). State Statistical Office of the Republic of Macedonia. สืบค้นเมื่อ 14 October 2012.
  2. "Skopjan dictionary definition | skopjan defined". www.yourdictionary.com.
  3. "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  4. Syme, Ronald; Birley, Anthony (1 January 1999). The Provincial at Rome: And, Rome and the Balkans 80BC-AD14. University of Exeter Press. ISBN 9780859896320 – โดยทาง Google Books.
  5. Mócsy, András (1 January 1974). Pannonia and Upper Moesia: A History of the Middle Danube Provinces of the Roman Empire. Routledge & K. Paul. ISBN 9780710077141 – โดยทาง Google Books.
  6. Ramet 2006, p. 40.
  7. http://www.stat.gov.mk/Publikacii/2.4.16.10.pdf
  8. "Skopje Sister cities". starportal.skopje.gov.mk. Skopje. สืบค้นเมื่อ 2019-12-23.
  9. "Sister Cities of Ankara". ankara.bel.tr. Ankara. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-28. สืบค้นเมื่อ 2019-12-23.
  10. "Belgrade has five twin cities in the world". ekapija.com. Belgrade. 2018-06-18. สืบค้นเมื่อ 2020-01-06.

บรรณานุกรม

[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • Ilká Thiessen (2007). Waiting for Macedonia: Identity in a Changing World. University of Toronto Press. ISBN 9781551117195.
  • Ivan Tomovski (1978). Skopje between the past and the future. Macedonian Review Editions.
  • Jovan Šćekić (1963). This Was Skopje. Yugoslav Federal Secretariat for Information.
  • M. Tokarev (2006). 100 години модерна архитектура. Pridonesot na Makedonija i Jugoslavija.
  • Danilo Kocevski (2008). Чај од јужните мориња. Маgor. ISBN 9789989183447.
  • D. Gjorgiev (1997). Скопје од турското освојување до крајот на XVIII vek. Institut za nacionalna istorija.
  • L. Kumbaracı-Bogoyeviç (2008). Üsküp'te osmanlı mimarî eserleri. ENKA.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]