ซาราโกซา
ซาราโกซา Zaragoza | |
---|---|
![]() ทิวทัศน์ของซาราโกซาและแม่น้ำเอโบร | |
สมญา: | |
พิกัด: 41°39′N 0°53′W / 41.650°N 0.883°Wพิกัดภูมิศาสตร์: 41°39′N 0°53′W / 41.650°N 0.883°W | |
ประเทศ | ![]() |
แคว้นปกครองตนเอง | ![]() |
จังหวัด | ซาราโกซา |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | Jorge Azcón (พรรคประชาชน) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 973.78 ตร.กม. (375.98 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 243 เมตร (797 ฟุต) |
ประชากร (2018)[2] | |
• ทั้งหมด | 666,880 คน |
• ความหนาแน่น | 680 คน/ตร.กม. (1,800 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+01:00 (CET) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+02:00 (CEST) |
รหัสไปรษณีย์ | 50001 – 50022 |
เว็บไซต์ | www |
ซาราโกซา (สเปน: Zaragoza) เป็นเมืองหลักของจังหวัดซาราโกซาและแคว้นอารากอน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสเปน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเอโบรและแควสาขาอูเอร์บาและกาเยโก ในหุบเขาตอนกลางของแคว้นซึ่งมีภูมิทัศน์ที่หลากหลาย ตั้งแต่ทะเลทราย ("โลสโมเนโกรส") ป่าหนาทึบ ทุ่งหญ้า ไปจนถึงทิวเขา
ข้อมูลในปี ค.ศ. 2007 จากสภาเมืองซาราโกซา เมืองนี้มีประชากร 667,034 คนมากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของประเทศ และมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรทั้งแคว้น ซาราโกซาตั้งอยู่ที่ความสูง 199 เมตรจากระดับน้ำทะเล และเป็นจุดตัดระหว่างเส้นทางที่จะไปยังมาดริด บาร์เซโลนา บาเลนเซีย บิลบาโอ และตูลูซ (ประเทศฝรั่งเศส) โดยเมืองทั้งหมดนี้ตั้งอยู่ห่างจากซาราโกซาประมาณ 300 กิโลเมตร
บริเวณเมืองนี้เคยเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อว่า ซัลดูบา (Salduba) เป็นชื่อในภาษาพิวนิกของกองทัพคาร์เธจซึ่งตั้งอยู่บนซากหมู่บ้านชาวเคลติเบเรียนเดิม จนกระทั่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 เมื่อกองทัพโรมันได้เข้ารุกรานคาบสมุทรไอบีเรีย บริเวณนี้จึงตกอยู่ในการดูแลของกองรักษาด่านซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิเอากุสตุส และกลายเป็นเมืองที่มีชื่อว่า ไกซาเรากุสตา (Caesaraugusta) มีฐานะเป็นเมืองหลวงของจังหวัดฮิสปาเนียซีเตรีออร์
ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชาวอาหรับได้เข้ายึดเมืองนี้และตั้งชื่อใหม่ว่า ซารากุสตา (Saraqusta; سرقسطة) ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา (ราชวงศ์อุไมยัด) และเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นเมืองอาหรับที่ใหญ่ที่สุดทางภาคเหนือของคาบสมุทร จากนั้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ซาราโกซาเป็นหนึ่งในกลุ่มราชอาณาจักรไตฟา (รัฐมุสลิมหลายสิบรัฐที่แตกออกมาหลังการล่มสลายของอาณาจักรกอร์โดบา) และถูกชาวอาหรับอีกกลุ่มจากจักรวรรดิอัลโมราวิดเข้าครอบครอง ในที่สุดเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 ชาวอารากอน (นับถือศาสนาคริสต์) ก็สามารถยึดเมืองนี้ได้จากพวกอัลโมราวิดและได้ตั้งเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรอารากอน ซึ่งเป็นหนึ่งในดินแดนต่าง ๆ บนคาบสมุทรไอบีเรียที่จะพัฒนาเป็นราชอาณาจักรสเปนในเวลาต่อมา
เมืองพี่น้อง[แก้]
- โป
ฝรั่งเศส
- บียาริตส์
ฝรั่งเศส
- โมสโตเลส
สเปน
- เบธเลเฮม
ดินแดนปาเลสไตน์
- เลออน
นิการากัว
- ลาปลาตา
อาร์เจนตินา
- ซาราโกซา
กัวเตมาลา
- ติฆัวนา
เม็กซิโก
- ปอนเซ
ปวยร์โตรีโก
- กูอิงบรา
โปรตุเกส
- ลาปาซ
โบลิเวีย
- นครซัมบวงกา
ฟิลิปปินส์
- กูกูตา
โคลอมเบีย
- สโกเปีย
นอร์ทมาซิโดเนีย
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Martí Font, J.M. (2017). La España de las ciudades: El Estado frente a la sociedad urbana (ภาษาสเปน). ED Libros. ISBN 9788461799220.
- ↑ Empty citation (help)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ซาราโกซา |
- สภาเมืองซาราโกซา
- สถานที่สำคัญต่าง ๆ ในเมืองซาราโกซา Archived 2007-04-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แหล่งท่องเที่ยวในเมืองซาราโกซา Archived 2008-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ภาพถ่ายเมืองซาราโกซา[ลิงก์เสีย]
![]() |
บทความเกี่ยวกับประเทศ ดินแดน หรือเขตการปกครองนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |