วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร | |
---|---|
วิหารลายคำ (ซ้าย) พระเจดีย์ (กลาง) และพระอุโบสถ (ขวา) ภายในวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2565 | |
ชื่อสามัญ | วัดพระสิงห์ |
ที่ตั้ง | ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร |
นิกาย | เถรวาท |
พระพุทธรูปสำคัญ | พระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์) |
ความพิเศษ | ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์) (ศิลปะเชียงแสน) |
จุดสนใจ | สักการะพระพุทธสิหิงค์ ชมซุ้มประตูโขง และจิตรกรรมฝาผนัง |
การถ่ายภาพ | ไม่ควรใช้แฟลช ในถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนัง |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร (ไทยถิ่นเหนือ: ) พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร[1] ตั้งอยู่ในบริเวณคูเมืองเชียงใหม่ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระสิงห์ฯ เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นประดิษฐานพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระพุทธรูปเป็นศิลปะเชียงแสนรู้จักกันในชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง"
ประวัติ
[แก้]พญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่ราชวงศ์มังราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1888 ขั้นแรกให้ก่อสร้างเจดีย์สูง 23 วา เพื่อบรรจุพระอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา ต่อมาอีก 2 ปี จึงได้สร้างพระอาราม เสนาสนวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร และกุฏิสงฆ์ เมื่อเสร็จเรียบร้อย ทรงตั้งชื่อว่า "วัดลีเชียงพระ" สมัยพญาแสนเมืองมาขึ้นครองเวียงเชียงใหม่ โปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงราย มาประดิษฐาน
ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 วัดพระสิงห์ได้รับพระกรุณาโปรดให้ยกเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร[1]
การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
[แก้]วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ได้รับการประกาศเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 0ง วันที่ 8 มีนาคม 2478 พร้อมกับวัดอีกหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ [2]
ลำดับเจ้าอาวาส
[แก้]วัดพระสิงห์เป็นวัดเก่าแก่ มีเจ้าอาวาสครองวัดสืบมาเท่าที่ปรากฏนามมีดังนี้[3]
ลำดับที่ | รายนาม | ดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.) |
1. | พระอภัยจุลมหาเถระ | พ.ศ. 1888 รัชสมัยพญาผายู |
2. | สมเด็จพระศรีนันทะ | รัชสมัยพระเมกุฏิสุทธิวงศ์ |
3. | พระเจ้าจันทรังสีมหาเถระ | รัชสมัยพระเจ้ากาวิละ |
4. | สมเด็จพระจันทมหาเถระ | รัชสมัยพระยาพุทธวงศ์ |
5. | ครูบาโพธิ์ | ไม่ปรากฏ |
6. | พระกัญจนมหาเถระ | 2402 (รัชสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์) |
7. | พระเจ้าคันธา คนฺธโร | 2453 |
8. | ครูบาศรีวิชัย (อินเฟือน สิริวิชโย) (รักษาการ) | 2467 |
9. | พระแก้ว (รักษาการ) | 2475 |
10. | พระโพธิรังสี (ศรีโหม้ สุคนฺโธ) | 2482 - 2492 |
11. | พระอภัยสารทะ (สมบูรณ์ จนฺทวํโส) (รักษาการ) | 2492 - 2493 |
12. | พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว) | 2493 - 2516 |
13. | พระธรรมสิทธาจารย์ (หนู ถาวโร) | 2516 - 2552 |
14. | พระเทพสิงหวราจารย์ (โสภณ โสภโณ) | 2552 - ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ เรื่อง ยกวัดราษฎรเป็นพระอารามหลวง, เล่ม 57, ตอน 0 ง, 26 พฤศจิกายน 248-, หน้า 2909
- ↑ ประกาศกรมศิลปากร กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ
- ↑ จรีย์ สุนทรสิงห์. วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ดามคอมพิวกราฟิค, 2543. 64 หน้า. หน้า 23-24. ISBN 974-85311-1-2
อ่านเพิ่ม
[แก้]- วิทิตศาสนาทร (เกษม อุปสนฺโต), พระครู; และ, คนอื่น ๆ (2552). เรื่องเล่าจากภาพ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ (PDF). เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร