พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์

(ฟู อตฺตสิโว)
ส่วนบุคคล
เกิด11 เมษายน พ.ศ. 2444 นครแพร่ (71 ปี 329 วัน ปี)
มรณภาพ5 มีนาคม พ.ศ. 2516
นิกายมหานิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 6 ประโยค นักธรรมเอก
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่
บรรพชา22 กรกฎาคม พ.ศ. 2461
อุปสมบท23 มิถุนายน พ.ศ. 2464
พรรษา52
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร
เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
เจ้าคณะตรวจการภาค 4 และ 5

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ นามเดิม ฟู บรรเลง ฉายา อตฺตสิโว เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะ ฝ่ายมหานิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร จังหวัดแพร่ และวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ และเจ้าคณะตรวจการภาค 4 และ 5

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ได้ขึ้นไปจัดการศึกษาพระปริยัตรธรรมที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ. 2471 – 2472 จากนั้น ได้ไปจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมในภาคเหนืออีกหลายจังหวัดทั้งที่จังหวัดแพร่ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดลำปาง และจัดตั้งโรงเรียนปริยัติสามัญขึ้นที่จังหวัดแพร่ระหว่าง พ.ศ. 2473 – 2494 นับเป็นพระภิกษุที่มีคุณูปการต่อการจัดการศึกษาคณะสงฆ์ในภาคเหนือ ต่อมา ท่านเผชิญกับการเมืองในคณะสงฆ์จนต้องอธิกรณ์ และไม่ได้เลื่อนสมณศักดิ์จนกระทั่ง วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2514 จึงได้รับพระกรุณาฯ เลื่อนสมณศักดิ์อีกครั้ง และมรณภาพเมื่อ พ.ศ. 2516 โดยท่านได้เลื่อนขึ้นเป็นพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ก่อนมรณภาพเพียง 2 เดือน

ประวัติ[แก้]

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ มีนามเดิมว่า ฟู บรรเลง เกิดเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2444 ภูมิลำเนาอยู่บ้านบนน้ำคือกลาง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองแพร่ เป็นบุตรนายหนานแสนกับแม่เจ้าฟอง บรรเลง (ราชนัดดาพระยาพิมพิสารราชา เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์แสนซ้าย) [1] ได้ศึกษาจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และสอบได้ประกาศนียบัตรครูชั้นต้น

ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 โดยมีสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมไตรโลกาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2464 ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร โดยมีสมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมวโรดม (โชติ ธมฺมปฺปชฺโชติโก) และสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นคู่พระกรรมวาจาจารย์ หลังบวชแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นโทและเปรียญธรรม 6 ประโยค

ผลงาน[แก้]

การปกครอง[แก้]

  • พ.ศ. 2470 - 2473 เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2473 - 2474 เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัดแพร่
  • พ.ศ. 2474 - 2476 เป็นรักษาการเจ้าคณะจังหวัดแพร่
  • พ.ศ. 2476 - 2504 เป็นเจ้าคณะจังหวัดแพร่
  • พ.ศ. 2489 - 2491 เป็นเจ้าคณะตรวจการผู้ช่วยภาค 4
  • พ.ศ. 2491 - 2494 เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค 4
  • พ.ศ. 2494 - 2504 เป็นเจ้าคณะตรวจการภาค 5
  • พ.ศ. 2412 เป็นเจ้าอาวาสวัดพระบาทมิ่งเมือง
  • พ.ศ. 2493 -2516 เป็นเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์

การศึกษา[แก้]

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ได้ก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นที่วัดพระบาทมิ่งเมืองและวัดพระสิงห์ และสร้างโรงเรียนธรรมราชศึกษา นอกจากนี้ ท่านยังให้ความสำคัญกับการศึกษาวรรณกรรมล้านนา จึงได้ชำระเทศน์มหาชาติฉบับภาษาล้านนาแล้วจัดพิมพ์เป็นภาษาไทย โดยสำนักพิมพ์ ส. ธรรมภักดี ตั้งชื่อว่า "มหาชาติฉบับสร้อยสังกร" และยังเรียบเรียง "หลักภาษาไทยพายัพ" ซึ่งเนื้อหาประกอบด้วยพจนานุกรมภาษาไทยกลาง-ภาษาไทยถิ่นเหนือ และแบบเรียนภาษาล้านนา

สมณศักดิ์[แก้]

มรณภาพ[แก้]

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ มรณภาพด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2516 เวลา 17.10 น. ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี สิริอายุได้ 71 ปี 329 วัน พรรษา 52[7] ตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่วัดพระสิงห์วรมหาวิหารและได้รับพระราชทานน้ำสรงศพ หิรัณยบัตร โกศศพ และเครื่องประกอบสมณศักดิ์ในวันที่ 7 มีนาคม ศกนั้น ถึงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2517 เวลา 14.30 น. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ มาพระราชทานเพลิงศพ[8] ณ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่

ลำดับสาแหรก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่, หน้า 28
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์, เล่ม 49, ตอน 0 ง, 13 พฤศจิกายน 2475, หน้า 2,755
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 66, ตอน 66 ง, 6 ธันวาคม 2492, หน้า 5,404
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 69, ตอน 72 ง, 9 ธันวาคม 2495, หน้า 4,619
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 88, ตอน 151 ง ฉบับพิเศษ, 31 ธันวาคม 2514, หน้า 1
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 89, ตอน 202 ก ฉบับพิเศษ, 31 ธันวาคม 2515, หน้า 10-13
  7. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒, หน้า 210
  8. วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่, หน้า 33
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 209-210. ISBN 974-417-530-3
  • จรีย์ สุนทรสิงห์. วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ดามคอมพิวกราฟิค, 2543. 64 หน้า. หน้า 28-33. ISBN 974-85311-1-2 [องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจัดพิมพ์เป็นที่ระลึก เนื่องในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม 2543]
  • ศรีศักร วัลลิโภดม และ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. นครแพร่ จากอดีตมาปัจจุบัน ภูมินิเวศวัฒนธรรม ระบบความเชื่อ และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย, 2551.