ราชวงศ์สุวรรณปางคำ
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์ reason หรือ talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ |
พระราชอิสริยยศ | เจ้าอุปราชผู้ครองนคร เจ้าผู้ครองนคร เจ้าเมืองประเทศราช พระประเทศราช พระยาประเทศราช |
---|---|
ปกครอง | นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน อุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช ยศสุนทร เขมราษฎร์ธานี หนองคาย ไชยสุทธิ์อุตมบุรี อำนาจเจริญ |
สาขา | ณ อุบล ณ หนองคาย |
ประมุขพระองค์แรก | เจ้าอุปราชนอง (เจ้านอง) |
ประมุขพระองค์สุดท้าย | · พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) · พระสุนทรราชวงศามหาขัติยชาติฯ (สุพรหม) · พระเกษมสำราญรัฐ (แสง จารุเกษม) · พระยาวุฒาธิคุณ (เคน ณ หนองคาย) · หลวงเอนกอำนาจ (เป้ย สุวรรณกูฏ) |
สถาปนา | พ.ศ. 2250 |
ล่มสลาย | พ.ศ. 2475 |
ราชวงศ์แสนทิพย์นาบัว หรือ สุวรรณปางคำ เป็นราชวงศ์เจ้านายฝ่ายอีสานที่ปกครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน อุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช ยศสุนทร หนองคาย เขมราษฎร์ธานี อำนาจเจริญ บึงกาฬ ฯลฯ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า เป็นต้นกำเนิดเมืองต่าง ๆ หลายเมือง ในภาคอีสานของประเทศไทย และต้นกำเนิดสายสกุล ณ อุบล, ณ หนองคาย ฯลฯ
การสถาปนา
[แก้]ราชวงศ์แสนทิพย์นาบัวหรือสุวรรณปางคำ ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2250 ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ โดยเจ้านอง ขุนนางลาวเชื้อสายไทพวน พระโอรสของแสนทิพย์นาบัวผู้มีเชื้อสายสามัญชนทางเชื้อสายไทพวนและไทดำจากบิดา และเชื้อสายสามัญชนทางเวียดนามจากมารดา ซึ่งเจ้านองเป็นพี่น้องร่วมมารดาแต่ต่างบิดากับพระเจ้าไชยองค์เว้ และเพื่อให้เป็นเกียรติแก่พระบิดาของตนจึงตั้งราชวงศ์ของตนเองขึ้นโดยใช้พระนามของพระบิดาแทนนามของตน ภายหลังได้รับโปรดเกล้าฯจากกษัตริย์อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอุปราชนอง และได้รับโปรดเกล้าให้ตั้งเมืองหนองบัวลุ่มภูจากพระมหากษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง ให้เจ้าอุปราชนองทรงนำกำลังไพร่พลครัวลาวที่ติดตามมาไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองหนองบัวลุ่มภู ซึ่งพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงนำไพร่พลหลวงพระบางและเวียงจันทน์มาก่อสร้างขึ้นครั้ง พ.ศ. 2106 ให้เมืองหน้าด่านของกรุงศรีสัตตนาคนหุต (เวียงจันทน์) เมื่อเจ้านองได้มาถึงเมืองหนองบัวลุ่มภู ทรงเลือกหน้าทำเลที่ตั้งบ้านเมืองใหม่ บริเวณริมหนองบัวอันมีปราการทางธรรมชาติคือ เทือกเขาภูพานสูงตระหง่าน สามารถป้องกันข้าศึกศัตรู พร้อมก่อสร้างค่ายคูประตูหอรบ กำแพงคูเมืองล้อมรอบพร้อมประตูเวียงอย่างแน่นหนา สถาปนาเวียงแห่งใหม่นี้ว่า "เวียงใหม่นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานด้วย
ต่อมาเจ้าอุปราชนองมีความพยายามที่จะแย่งชิงอำนาจจากเจ้าองค์ลอง กษัตริย์ล้านช้างเวียงจันทน์องค์ที่ 2 และสามารถยึดอำนาจได้เป็นผลสำเร็จ ในปี พ.ศ. 2283 แม้จะสามารถยึดอำนาจได้และสามารถครองนครหลวงเวียงจันทน์ได้แต่เนื่องจากเจ้านองไม่ได้มีเชื้อสายกษัตริย์แต่เป็นเพียงสามัญชน เหล่าบรรดาขุนนางจึงยอมรับท่านให้ดำรงตำแหน่งเจ้านครเพียงแค่เป็น เจ้าอุปราชนองตามเดิม หลังจากได้ครองนครเวียงจันทน์เจ้าอุปราชนองจึงแต่งตั้งให้โอรสคือ พระตา ปกครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานแทน ภายหลัง เวลาผ่านไปสิบกว่าปี พระโอรสทั้งสอง คือ พระวอและพระตาร่วมมือกับเจ้าศิริบุญสาร พระราชโอรสของเจ้าองค์ลอง ยึดอำนาจคืนได้สำเร็จ หลังจากพ่ายแพ้ เจ้าอุปราชนองจึงถูกพระเจ้าศิริบุญสารซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพระโอรสทั้งสองของท่านนี้เองสำเร็จโทษจนถึงแก่พิราลัย ในปี พ.ศ. 2294
ความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์
[แก้]- แสนทิพย์นาบัว พระบิดาของเจ้าอุปราชนองหรือเจ้าปางคำ มีเชื้อสายทางไทพวนทางพระบิดา ส่วนพระมารดามีเชื้อสายทางไทดำ นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าทั้งบิดาและมารดาของแสนทิพย์นาบัวเป็นเพียงสามัญชนมิใช่เชื้อเจ้า
- พระมารดาของเจ้าอุปราชนองหรือเจ้าปางคำเป็นสามัญชนเชื้อสายทางเมืองเว้ (เวียดนาม) เจ้าปางคำจึงเป็นพระอนุชาร่วมมารดาของพระเจ้าไชยองค์เว้ กษัตริย์ล้านช้างเวียงจันทน์องค์ที่ 1
- พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 หรือ พระเจ้าไชยองค์เว้ พระเชษฐาร่วมมารดาแต่ต่างบิดาของเจ้าอุปราชนอง
ลำดับสายสกุลวงศ์
[แก้]ชั้นที่ 1
[แก้]เจ้าอุปราชนอง (เจ้านอง) ปฐมราชวงศ์แสนทิพย์นาบัว เจ้าผู้ครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลุ่มภู) พระองค์ที่ 1
[แก้]- เกิดแต่ภรรยาเอกชาวลาวเวียงจันทน์ มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ
ชั้นที่ 2
[แก้]- พระนางบุสดีเทวี มีพระโอรส และพระธิดา 11 องค์ คือ
- เจ้านางอูสา
- ท้าวคำผง
- ท้าวฝ่ายหน้า
- ท้าวทิดพรหม
- ท้าวโคตร
- เจ้านางมิ่ง
- ท้าวซุย
- พระศรีบริบาล
- เจ้านางเหมือนตา
- ท้าวสุ้ย ต่อมาเป็นราชบุตรเมืองอุบลราชธานี และได้รับพระราชทานเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี องค์ที่ 3 แต่ถึงแก่กรรมที่กรุงเทพฯ ก่อนขึ้นมาดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองเมือง
- พระนางอรอินทร์เทวี มีพระโอรส และพระธิดา 9 องค์ คือ
- เจ้านางจันบุปผา
- ท้าวก่ำ เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 1
- เจ้านางทุมมา
- เจ้านางต่อนแก้ว
- ท้าวเสน ต่อมาเป็นราชบุตรเมืองยศสุนทร และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่พระไชยราชวงศา เจ้าเมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี องค์ที่ 1
- ท้าวเครือ
- ท้าวลาด
- เจ้านางปัดทำ
- ท้าวฮด
ชั้นที่ 3
[แก้]พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวคำผง) เจ้าประเทศราชผู้ครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช องค์ที่ 1
[แก้]- พระนางตุ่ย ไม่มีพระโอรส และพระธิดา
- พระนางสีดา มีพระโอรส และพระธิดา 10 องค์ คือ
- เจ้านางคำสิงห์
- เจ้านางสีดา
- ท้าวสุดตา ต่อมาเป็นอุปราชเมืองอุบลราชธานี
- ท้าวหมาแพง ต่อมาเป็นอุปราชเมืองยศสุนทร
- ท้าวหมาคำ
- ท้าวหำทอง
- เจ้านางสุ้ย
- ท้าวกุทอง ต่อมาเป็นที่พระพรหมราชวงศา เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช องค์ที่ 4
- เจ้านางจำปาคำ
- เจ้านางพิมพ์
- ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 1 องค์ คือ
- ท้าวไชย
พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช เจ้าประเทศราช ผู้ครองนครจำปาสัก องค์ที่ 3 ภายใต้อาณาจักร์สยาม
[แก้]- ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส และพระธิดา 6 องค์ คือ
- ท้าวคำสิงห์ ต่อมาเป็นที่พระสุนทรราชวงศา (ท้าวคำสิงห์) เจ้าเมืองยศสุนทร องค์ที่ 1
- ท้าวฝ่ายบุต ต่อมาเป็นที่พระสุนทรราชวงศาฯ (ท้าวฝ่ายบุต) เจ้าเมืองยศสุนทร องค์ที่ 3 และยังเป็นเจ้าเมืองนครพนม
- ท้าวสุดตา
- ท้าวนางแดง
- เจ้านางไทย
- เจ้านางก้อนแก้ว
พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิดพรหม) เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช องค์ที่ 2
[แก้]- พระนางเหง้า มีพระโอรส 1 องค์ คือ
- ท้าวโหง่นคำ ต่อมาเป็นราชวงศ์เมืองอุบลราชธานี
- ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 1 องค์ คือ
- ท้าวสีหาราช (พลสุข)
ราชบุตรสุ้ย เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช องค์ที่ 3
[แก้]- ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 2 องค์ คือ
พระเทพวงศา (ท้าวก่ำ) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 1
[แก้]- ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส และพระธิดา 4 องค์ คือ
- ท้าวบุญจันทร์ ต่อมาเป็นที่พระเทพวงศา (บุญจันทร์) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 2
- ท้าวบุญเฮ้า ต่อมาเป็นที่พระเทพวงศา (บุญเฮ้า) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 3
- ท้าวแดง หรือ ท้าวชำนาญไพรสณฑ์ ต่อมาเป็นที่พระกำจรจาตุรงค์ (แดง) เจ้าเมืองวารินทร์ชำราบ องค์ที่ 1
- เจ้านางหมาแพง
- ต้นสายสกุล วงศ์ปัดสา
- ต้นสายสกุลอมรสิน
พระไชยราชวงศา (ท้าวเสน) ผู้ครองเมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี องค์ที่ 1
[แก้]- หม่อมชาดา มีพระโอรส และพระธิดา 3 องค์ คือ
- เจ้านางผา สมรสกับท้าวจันทร์เพ็ง ต่อมาเป็นที่พระไชยราชวงศา (จันทร์เพ็ง) ผู้ครองเมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี องค์ที่ 3
- ท้าวขัตติยะ
- ท้าวศิลา ต่อมาเป็นที่ราชบุตรเมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นที่พระไชยบุราจารย์ (ท้าวศิลา) ผู้ครองเมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี องค์ที่ 2
- ต้นสายสกุล เสนจันทร์ฒิไชย
ชั้นที่ 4
[แก้]อุปราชสุดตา อุปราชเมืองอุบลราชธานี
[แก้]- พระนางพิมพา แห่งนครจำปาศักดิ์ มีพระโอรส และพระธิดา 13 องค์ คือ
- เจ้านางพิมพ์
- เจ้านางจำปา
- ท้าวโท ต่อมาเป็นอุปราชเมืองอุบลราชธานี
- ท้าวอินทิสาร
- ท้าวไชยสาร
- ท้าวคูณ
- เจ้านางทุมมา
- ท้าวสุวรรณแสน (ผู้เกิดเหตุวิวาทกับเมอสิเออร์ไซแง ทหารฝรั่งเศส)
- ท้าวอินทิจักร
- เจ้านางสิมมา
- เจ้านางหล้า
- เจ้านางบัวภา
- ท้าวไกยราช (พู ทองพิทักษ์)
- ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 5 องค์ คือ
- ท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) ต่อมาเป็นที่พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย) เจ้าเมืองหนองคาย คนที่ 1 และเป็นต้นสายสกุล ณ หนองคาย
- ท้าวสุริยะ (แข้) ต่อมาเป็นอุปราชเมืองยศสุนทร
- ท้าวกันยา ต่อมาเป็นราชวงศ์เมืองยศสุนทร
- ท้าวเสน หรือหลวงจุมพลภักดี ต่อมาเป็นที่พระนิคมบริรักษ์ (เสน ประทุมทิพย์) เจ้าเมืองเสลภูมินิคม คนที่ 1 และเป็นต้นสายสกุล ประทุมทิพย์
- ท้าวโพ
พระพรหมราชวงศา (ท้าวกุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช องค์ที่ 3
[แก้]- พระนางหมาแพง มีพระโอรส และพระธิดา 4 องค์ คือ
- ท้าวโพธิสาราช (ท้าวเสือ) ต่อมาเป็นอุปราชเมืองพิบูลมังสาหาร
- ท้าวธรรมกิติกา (จูมมณี) เจ้าเมืองพิบูลมังสาหาร คนที่1
- เจ้านางคำซาว
- ท้าวสีฐาน (ท้าวสาง) ต่อมาเป็นราชวงศ์เมืองพิบูลมังสาหาร
- ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 2 องค์ คือ
- ท้าวสุริยวงศ์ (อ้ม) เจ้าเมืองตระการพืชผล องค์ที่ 1 หากมีหลานคือ นายกองโทเก่ง เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล อมรดลใจ
- ท้าวพรหมมา ต่อมาเป็นอุปราชเมืองตระการพืชผล
- ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 1 องค์ คือ
- ท้าวขัตติยะ (ผู) เจ้าเมืองพิบูลมังสาหาร องค์ที่ 2
- ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 1 องค์ คือ
- ท้าวปุตตะ (คำพูน) เจ้าเมืองมหาชนะชัย องค์ที่ 1 หากมีหลานคือ หลวงวัฒนวงศ์โทนุบล (โทน สุวรรณกูฏ) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล โทนุบล
- พระพรหมราชวงศา (ท้าวกุทอง) ถือเป็นต้นสายสกุล สุวรรณกูฏ มีรองอำมาตย์ตรี พระบริคุตคามเขต (โหง่นคำ สุวรรณกูฏ) ผู้หลาน เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล
- ไม่ปรากฏชื่อภรรยา มีบุตร 1 คน คือ
- ท้าวไชยกุมาร ต่อมาเป็นราชวงศ์เมืองอุบลราชธานี
พระสุนทรราชวงศา (ท้าวคำสิงห์) เจ้าเมืองยศสุนทร องค์ที่ 1
[แก้]- พระนางแก่นคำ มีพระโอรส 2 องค์ คือ
- ท้าวบุตร ต่อมาเป็นที่อุปราชเมืองยศสุนทร และถูกเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สั่งให้ประหารชีวิตในคุกเพลิง กรณีกบฎเจ้าอนุวงศ์
- ท้าวคำ ต่อมาถูกเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สั่งให้ประหารชีวิตในคุกเพลิง กรณีกบฎเจ้าอนุวงศ์
พระสุนทรราชวงศาฯ (ท้าวฝ่ายบุต) เจ้าเมืองยศสุนทร องค์ที่ 3 และยังเป็นเจ้าเมืองนครพนม
[แก้]- พระนางพรหมมา มีพระโอรส 2 องค์ คือ
- ท้าวเหม็น ต่อมาเป็นที่พระสุนทรราชวงศา มหาขัติยชาติ ประเทศราชวาเวียง ดำรงรักษ์ศักดิยศไกร ศรีพิไชยสงคราม (เจ้าเหม็น) เจ้าเมืองยศสุนทร องค์ที่ 4
- ท้าวพระเมือง
- หม่อมสุภา มีบุตร 2 คน คือ
- ท้าวสุ่ย ต่อมาเป็นราชบุตรสุ่ย
- ท้าวคำ ต่อมาเป็นราชบุตรคำ
- ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส และพระธิดา 6 องค์ คือ
- เจ้านางทอง
- ท้าวสีหาราช (หมั้น)
- เจ้านางบัว ต้นตระกูล บัวบาลบุตร
- เจ้านางจันที
- เจ้านางวันดี
- ท้าวมา
- เจ้านางสีทา
- เจ้านางแพงแสน
พระเทพวงศา (บุญจันทร์) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 2
[แก้]- เจ้านางแตงอ่อน มีพระธิดา 1 องค์ คือ
- เจ้านางแท่ง ต่อมาสมรสกับท้าวธรรมกิติกา (พรหม) กรมการเมืองมุกดาหาร มีบุตร 1 คน คือ ขุนแสงพาณิชย์ (หยุย) ต้นสายสกุล แสงสิงห์แก้ว
พระเทพวงศา (บุญเฮ้า) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 3
[แก้]- ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 2 องค์ คือ
- ท้าวบุญสิงห์ ต่อมาเป็นที่พระเทพวงศา (บุญสิงห์) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 4
- ท้าวบุญชัย ต่อมาเป็นอุปราชเมืองวารินทร์ชำราบ
ชั้นที่ 5
[แก้]- หม่อมคำมะลุน บ้านชีทวน มีบุตร 2 คน คือ
- ท้าวจันทร์ (ท้าวจันทร์) ต่อมาเป็นที่อุปราชจันทร์
- ท้าวโพธิสาร (ท้าวเสือ) ต่อมาเป็นที่พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล)
- ถือเป็นต้นสายสกุล ณ อุบล
- หม่อมบา มีบุตร 1 คน คือ
- ท้าวสิทธิกุมาร (ทองดี) ต่อมาเป็นที่ราชวงศ์เมืองยศสุนทร และได้รับพระราชทานยศเป็นที่หลวงยศไกรเกรียงเดช (ทองดี โพธิ์ศรี) ยกบัตรเมืองยศสุนทร
- เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล ทองพิทักษ์
พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย) เจ้าเมืองหนองคาย องค์ที่ 1
[แก้]- ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 1 องค์ คือ
- ท้าวเคน ต่อมาเป็นที่พระยาวุฒาธิคุณวิบุลยศักดิ์ อัครสุรินทรมหินทรภักดี เจ้าเมืองหนองคาย องค์ที่ 2
พระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) เจ้าเมืองพิบูลมังสาหาร องค์ที่ 1
[แก้]- หม่อมขิง มีบุตร และบุตรี 10 คน คือ
- นางบัวไข
- ท้าวลอด
- นางม่วง
- ท้าวมิน
- ท้าวรัตน์
- เจ้านางจวง
- ท้าวฮง
- นางหยี
- ท้าวห่วน
- นางหล้า
- หม่อมทุม มีบุตร และบุตรี 4 คน คือ
- นางอมรา
- นางแก้ว
- ท้าวบุญเฮา
- นางเลื่อน
- หม่อมดา มีบุตร 1 คน คือ
- ท้าวหำทอง
ราชบุตร (สุ่ย) ราชบุตรเมืองอุบลราชธานี
[แก้]- หม่อมทอง บุตโรบล มีบุตร 2 คน คือ
- ท้าวสุรินทร์ชมภู (หมั้น บุตโรบล)
- ท้าวหนูคำ ต่อมาเป็นราชบุตรเมืองอุบลราชธานี
ราชบุตร (คำ) ราชบุตรเมืองอุบลราชธานี
[แก้]- ไม่ปรากฏชื่อภรรยา มีบุตร 1 คน คือ
- ท้าวบุญเพ็ง ต่อมาเป็นพระอุบลกิจประชากร (บุญเพ็ง บุตโรบล) กรมการเมืองอุบลราชธานี เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุลคือ บุตโรบล
- ไม่ปรากฏชื่อภรรยา มีบุตร 1 คน คือ
- ท้าวบุญชู ต่อมาเป็นพระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์) ผู้ว่าราชการเมืองอุบลราชธานี เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล คือ พรหมวงศานนท์
พระสุนทรราชวงศาฯ (ท้าวเหม็น) เจ้าเมืองยศสุนทร องค์ที่ 4
[แก้]- เจ้านางคำ มีพระโอรส 2 องค์ คือ
- ท้าวสุพรหม ต่อมาเป็นที่พระสุนทรราชวงศา (ท้าวสุพรหม) เจ้าเมืองยศสุนทร องค์ที่ 5
- ท้าวโพธิสาร (สมเพ็ชร์) กรมการเมืองยศสุนทร
- หม่อมพุ้ย มีบุตร และบุตรี 3 คน คือ
- ท้าวโพธิสาร (ตา) ต่อเป็นที่หลวงยศเยศสุรามฤทธิ์ นายอำเภออุไทยยะโสธร คนที่ 2
- นางอำคา สมรสกับท้าวพรหมสวาท ท้าวไชยบัณฑิต (มี) และท้าวอึ่งตามลำดับ
- ท้าวโพธิสาร
- หม่อมสุนี มีบุตร และบุตรี 4 คน คือ
- ท้าวเล็ก ต่อมาเป็นพระวิภาคย์พจนกิจ (เล็ก สิงหัษฐิต) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล สิงหัษฐิต
- ท้าวสี
- พระภิกษุจำปาแดง
- เด็กหญิงบุญกว้าง
พระเทพวงศา (บุญสิงห์) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 4
[แก้]- ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส 2 องค์ คือ
- ท้าวจันทบรม (เสือ) หรือท้าวจันทบุฮม ต่อมาเป็นที่พระอมรอำนาจ (เสือ) เจ้าเมืองอำนาจเจริญ องค์ที่ 1 และเป็นต้นสายสกุลอมรสิน และอมรสิงห์
- เจ้าขัตติยะ (พ่วย) ต่อมาเป็นที่พระเทพวงศา (พ่วย) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 5
ชั้นที่ 6
[แก้]หลวงยศไกรเกรียงเดช (ทองดี โพธิ์ศรี) ยกบัตรเมืองยศสุนทร
[แก้]- หม่อมแท่ง มีบุตร และบุตรี 6 คน คือ
- ขุนสุรินทร์ชมภู (สัมฤทธิ์ โพธิ์ศรี)
- นางสมนัส โพธิ์ศรี
- นางศรีทัศน์ โพธิ์ศรี
- นายรัศมี โพธิ์ศรี
- นางแก้วเกศจอมศรี โพธิ์ศรี
- นางบับพาวันดี โพธิ์ศรี
- หม่อมคูณ มีบุตร และบุตรี 2 คน คือ
- นางสร้อยสุนทร โพธิ์ศรี
- ขุนอุทานระบิล (คำสอน โพธิ์ศรี)
- หม่อมลุนลา มีบุตร และบุตรี 9 คน คือ
- นางเพ็ง โพธิ์ศรี
- นายเบ็ง โพธิ์ศรี
- นายใบ โพธิ์ศรี
- นางไตย โพธิ์ศรี
- นางไฮ โพธิ์ศรี
- นายมลัย โพธิ์ศรี
- นายมลุน โพธิ์ศรี
- นางยี่สุ่น โพธิ์ศรี
- นางสมบูรณ์ โพธิ์ศรี
- ถือเป็นต้นสายสกุล โพธิ์ศรี
พระยาวุฒาธิคุณ (เคน ณ หนองคาย) เจ้าเมืองหนองคาย องค์ที่ 2
[แก้]- ไม่ปรากฏพระนามพระชายา มีพระโอรส และพระธิดา 8 องค์ คือ
- ท้าวเสือ ต่อมาเป็นที่พระยาปทุมเทวาภิบาล (เสือ ณ หนองคาย) เจ้าเมืองหนองคาย องค์ที่ 3
- ท้าวแพ ต่อมาเป็นที่พระยาวุฒาธิคุณวิบุลยศักดิ์ อัครสุรินทร์มหินทรภักดี (แพ ณ หนองคาย) เจ้าเมืองหนองคาย องค์ที่ 4 เป็นผู้เข้าขอรับพระราชทานนามสกุล ณ หนองคาย
- พระราชบุตร (สุพรหม ณ หนองคาย)
- พระบริบาลภูมิเขตร (หนูเถื่อน ณ หนองคาย)
- พระวิชิตภูมิกิจ (โพธิ์ ณ หนองคาย)
- ท้าวจันทกุมาร
- เจ้านางกุประดิษฐ์บดี (เปรี้ยง กุประดิษฐ์ ณ หนองคาย)
- เจ้านางราชามาตย์ (หนูพัน ณ หนองคาย)
- หม่อมดวงจันทร์ บุตโรบล มีบุตร และบุตรี 9 คน คือ
- นางก้อนคำ สมรสกับพระอุบลการประชานิตย์ (บุญชู พรหมวงศานนท์) ผู้ว่าราชการอุบลราชธานี
- นางอบมา สมรสกับท้าววรกิติกา (คูณ) กรมการเมืองอุบลราชธานี
- นางเหมือนตา
- นางบุญอ้ม สมรสกับท้าวอักษรสุวรรณ กรมการเมืองอุบลราชธานี
- นางหล้า
- นางดวงคำ สมรสกับรองอำมาตย์ตรี ขุนราชพิตรพิทักษ์ (ทองดี หิรัญภัทร์)
- ท่านคำม้าว โกณฺฑญฺโญ อดีตเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดสารพัดนึก จังหวัดอุบลราชธานี
- ไม่ปรากฏนาม (ถึงแก่กรรมเมื่อวัยเยาว์)
- เจ้านางเจียงคำ บุตโรบล ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
หลวงยศเยศสุรามฤทธิ์ (ตา ไนยกุล) นายอำเภออุไทยยะโสธร คนที่ 2
[แก้]- หม่อมชา มีบุตร และบุตรี 3 คน คือ
- ท้าวหลั่ง ไนยกุล
- นางออ ไนยกุล
- ท้าวสมกอ ไนยกุล
- ถือเป็นต้นสายสกุล ไนยกุล
นางอำคา
[แก้]- ท้าวพรหมสวาท มีบุตรี 2 คน คือ
- นางหิน
- นางตื้อ
- ท้าวไชยบัณฑิต (มี) มีบุตร 1 คน คือ
- ท้าวจิตร ต่อมาเป็นที่พระอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี คนที่ 5
- ท้าวอึ่ง มีบุตร 2 คน คือ
- ท้าวชาลี
- ท้าวเอื้อ
- หม่อมทองคำ มีบุตรี 1 คน คือ
- นางน้อย
- หม่อมมั่น มีบุตร และบุตรี 2 คือ
- นางปาน
- ท้าวบิน
- ท้าวนา
- หม่อมหงส์ ณ เชียงใหม่ มีบุตร 1 คน คือ
- พระยาศิริกิจจาอุบลรักษ์ (หมาย ณ อุบล)
พระยาศิริกิจจาอุบลรักษ์ (หมาย ณ อุบล) สมรสกับ อำแดงอุ่น บุนนาค มีบุตรี 1 คน คือ
- อำแดงอบเชย ณ อุบล(หมายมั่น) สมรสกับ พระหมายมั่นราชกิจสุรฤทธิฤๅไชย(ชุ่ม หมายมั่น)[1]
- หม่อมคูณ พรหมวงศานนท์ มีบุตร 1 คน คือ
- เติม สิงหัษฐิต วิภาคย์พจนกิจ ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน และประวัติศาสตร์หัวเมืองลุ่มแม่น้ำโขง
พระเทพวงศา (พ่วย) เจ้าเมืองเขมราษฎร์ธานี องค์ที่ 5
[แก้]- หม่อมกองคำ มีบุตรี 3 คน คือ
- นางคำผุย สมรสกับขุนแสงพาณิชย์ (หยุย แสงสิงห์แก้ว)
- นางไกรสร สมรสกับนายวิชิต กุลสิงห์
- นางแตงอ่อน สมรสกับนายโทน ปิตินันท์
- หม่อมเขียวค่อม มีบุตรและบุตรี 4 คน คือ
- ท้าวลพ
- นางเลื่อน สมรสกับท้าวจุ้ย ณ จัมปาศักดิ์ และนายเหลี่ยม แสงสิงห์แก้ว ตามลำดับ
- ท้าวเหลี่ยม
- นางปิ่นแก้ว สมรสกับพระจักรจรูญพงศ์ (ม.ร.ว.จรูญ ปราโมช)
ชั้นที่ 7
[แก้]พระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์ (จิตร จิตตะยโศธร) ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี คนที่ 5
[แก้]- คุณหญิงหลวน มีบุตร และบุตรี 2 คน คือ
- นายจุรัช จิตตะยโศธร
- นายแพทย์เกษม จิตตะยโศธร
- นางเลื่อน มีบุตรี 1 คน คือ
- นางรวยพร จิตตะยโศธร
- นางทองสุข มีบุตร 2 คน คือ
- นายจรูญ จิตตะยโศธร
- นายจาริก จิตตะยโศธร
- คุณหญิงอุบล มีบุตร และบุตรี 8 คน คือ
- นางจิราภา จิตตะยโศธร
- นายจุทิศ จิตตะยโศธร
- นายกุลวัฒน์ จิตตะยโศธร
- นางจิตราภรณ์ จิตตะยโศธร
- นางจารุณี จิตตะยโศธร
- นางจริกา จิตตะยโศธร
- นายจิตตวัฒน์ จิตตะยโศธร
- นางเอื้องอุมา จิตตะยโศธร
- ถือเป็นต้นสายสกุล จิตตะยโศธร
พระยาศิริกิจจาอุบลรักษ์ (หมาย ณ อุบล)
[แก้]- อำแดงอุ่น บุนนาค
มีธิดาชื่อ อำแดงอบเชย ณ อุบล (หมายมั่น สมรสกับ พระหมายมั่นราชกิจสุรฤทธิฤๅไชย (ชุ่ม หมายมั่น) มีบุตร-ธิดา 10 คน คือ
- นางบัว หมายมั่น
- นายชู หมายมั่น
- นายชอบ หมายมั่น
- นางชั้น จันทรประเสริฐ
- นายแช่ม หมายมั่น
- นายเชื้อ หมายมั่น
- นายชุบ หมายมั่น
- นางชา หมายมั่น
- นางช้อย หมายมั่น
- นายชาตรี หมายมั่น
นางคำผุย
[แก้]- ขุนแสงพาณิชย์ (หยุย แสงสิงห์แก้ว) มีบุตร และบุตรี 11 คน คือ
- ขุนประเสริฐสรรพกิจ (เผย แสงสิงห์แก้ว)
- นางคำเบย ปลูกเจริญ
- นางชู วีระพัฒน์
- นายสวัสดิ์ แสงสิงห์แก้ว
- นายกาญจน์ แสงสิงห์แก้ว
- ศาสตราจารย์ นายแพทย์ฝน แสงสิงห์แก้ว
- นายเชาวน์ แสงสิงห์แก้ว
- นางสวาสดิ์ จันทรุกขา
- นายอุดม แสงสิงห์แก้ว
- นางนิตยา โชติดิลก
- นายอารมณ์ แสงสิงห์แก้ว
นางไกรสร
[แก้]- นายวิชิต กุลสิงห์ มีบุตร และบุตรี 6 คน
- นายอุดร กุลสิงห์
- นายก้อน กุลสิงห์
- นางก้าน ยืนยาว สมรสกับ จ.ส.ต.บาล ยืนยาว
- นายก่าย กุลสิงห์
- นางหอม บุญญาจันทร์ สมรสกับนายรินทร์ บุญญาจันทร์
- นายประมัย กุลสิงห์
นางแตงอ่อน
[แก้]- นายโทน ปิตินันท์ มีบุตร 1 คน คือ
- นายประทัง ปิตินันท์
นางเลื่อน
[แก้]- ท้าวจุ้ย ณ จัมปาศักดิ์ มีบุตร 1 คน คือ
- เจ้าสิริบังอร ณ จัมปาศักดิ์ สมรสกับส.ส.ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานีคนแรก และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายเหลี่ยม แสงสิงห์แก้ว มีบุตร และบุตรี 4 คน คือ
- นายบรรลุ แสงสิงห์แก้ว
- นางสาวจตุพร แสงสิงห์แก้ว
- นายบัลลังก์ แสงสิงห์แก้ว
- นายเทอดธรรม แสงสิงห์แก้ว
นางปิ่นแก้ว
[แก้]- พระจักรจรูญพงศ์ (ม.ร.ว.จรูญ ปราโมช) มีบุตร และบุตรี 5 คน คือ
- ม.ล.เจรือง ปราโมช
- ม.ล.จุไร ปราโมช
- ม.ล.จงใจ ปราโมช
- ม.ล.จำนงค์ ปราโมช
- ม.ล.จตุพร ปราโมช
ยุคภายใต้การปกครองของราชวงศ์จักรี
[แก้]อนึ่งราชวงศ์แสนทิพย์นาบัวได้อพยพหนีภัยสงครามมาหลายครั้งหลายหน และต้องสู้อดทนเพื่อความเป็นเอกวงศ์แห่งตน และความผาสุขร่มเย็นของนิกูลวงศ์อันสืบสายมาแต่เจ้าอุปราชนอง ก็ด้วยพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้แก่เหล่านิกูลแสนทิพย์นาบัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็น พระ พระยา เจ้าประเทศราชผู้ครองเมือง เจ้าเมือง อุปราช ราชวงศ์ ราชบุตร และดำรงชีพอยู่ภายใต้ขอบขัณฑสีมาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ด้วยความผาสุขสวัสดี เหล่านิกูลของแสนทิพย์นาบัวก็ได้จงรักภักดีต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททุกรัชกาล รับราชการรับใช้ใต้พระยุคลบาทตราบเท่าจวบจนปัจจุบัน
การปกครองบ้านเมือง
[แก้]ทายาทแห่งราชวงศ์สุวรรณปางคำที่ออกไปก่อตั้งและปกครองบ้านเมืองต่างๆ มีปรากฏดังนี้
- พ.ศ. 2314 บ้านสิงห์ท่า มีเจ้าพระศรีวรราช (คำสู) เป็นผู้ปกครองคนแรก
- พ.ศ. 2315 เวียงดอนกอง มีเจ้าพระวรราชภักดี (วอ) เป็นผู้ปกครองคนแรก
- พ.ศ. 2322 เมืองอุบล (ดอนมดแดง) มีพระปทุมสุรราช (คำผง) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
- พ.ศ. 2334 เมืองนครจำปาบาศักดิ์ประเทศราช (เมืองเก่าคันเกิง) มีเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช (ฝ่ายหน้า) เป็นเจ้าผู้ครองนครองค์แรก
- พ.ศ. 2334 เมืองโขง (สีทันดอน) มีเจ้าราชวงศ์สิงห์ เป็นเจ้าเมือง
- พ.ศ. 2335 เมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช (บ้านห้วยแจระแม) มีเจ้าพระประทุมววรราชสุริยวงษ (คำผง ณ อุบล) เป็นเจ้าผู้ครองเมืององค์แรก
- พ.ศ. 2357 เมืองยศสุนทร (บ้านสิงห์ท่า) มีพระสุนทรราชวงศา (คำสิงห์) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
- พ.ศ. 2357 เมืองเขมราษฎร์ธานี (บ้านโคกดงพะเนียง) มีพระเทพวงศา (ก่ำ) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
- พ.ศ. 2370 เมืองหนองคาย (บ้านไผ่) มีพระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
- พ.ศ. 2371 เมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี (บ้านปากน้ำสงคราม) มีพระไชยราชวงศา (เสน เสนจันทร์ฒิไชย) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
- พ.ศ. 2478 เมืองนครพนม มีพระสุนทรราชวงศามหาขัติยชาติฯ (ฝ่ายบุต) เป็นเจ้าเมืองยโสธรนครพนม
- พ.ศ. 2401 เมืองอำนาจเจริญ (บ้านค้อใหญ่) มีพระอมรอำนาจ (เสือ อมรสิงห์) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
- พ.ศ. 2406 เมืองพิมูลมังษาหาร (บ้านกว้างลำชะโด) มีพระบำรุงราษฎร (จูมมณี สุวรรณกูฏ) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
- พ.ศ. 2406 เมืองตระการพืชผล (บ้านสะพือ) มีพระอมรดลใจ (อ้ม อมรดลใจ) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
- พ.ศ. 2406 เมืองมหาชนะไชย (บ้านเวินไชย) มีพระเรืองไชยชำนะ (คำพูน สุวรรณกูฏ) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
- พ.ศ. 2422 เมืองเสลภูมินิคม (บ้านเขาดินบึงโดน) มีพระนิคมบริรักษ์ (เสน ประทุมทิพย์) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
- พ.ศ. 2422 เมืองพนานิคม (บ้านพระเหลา) มีพระจันทรวงศา (เพียเมืองจันทร์) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
- พ.ศ. 2423 เมืองวารินทร์ชำราบ (บ้านน้ำคำเอือดกอนจอ) มีพระกำจรจัตุรงค์ (แดง) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
- พ.ศ. 2425 เมืองเกษมสีมา (บ้านเมืองที) มีพระพิไชยชาญณรงค์ (จันดี) เป็นเจ้าเมืองคนแรก
- พ.ศ. 2445 เมืองอุไทยยะโสธร (บ้านลุมพุก) มีหลวงยศเยศสุรามฤทธิ์ (ตา ไนยกุล) เป็นเจ้าเมืองและนายอำเภอคนแรก
- พ.ศ. 2445 เมืองปจิมูปลนิคม (บ้านเขื่องใน) มีพระบริคุตคามเขตร์ (โหง่นคำ สุวรรณกูฏ) เป็นเจ้าเมืองและนายอำเภอคนแรก
สายสกุลราชวงศ์แสนทิพย์นาบัว
[แก้]- ณ อุบล (พระราชทาน)
- ณ หนองคาย (พระราชทาน)
- จิตตะยโศธร (พระราชทาน)
- สุวรรณกูฏ (พระราชทาน)
- พรหมวงศานนท์ (พระราชทาน)
- โทนุบล (พระราชทาน)
- บุตโรบล (พระราชทาน)
- วิพาคย์พจนกิจ (พระราชทาน)
- รักขพันธ์ ณ หนองคาย (พระราชทาน)
- วุฒาธิวงศ์ ณ หนองคาย (พระราชทาน)
- กุประดิษฐ์ ณ หนองคาย (พระราชทาน)
- โพธิเสน ณ หนองคาย (พระราชทาน)
- จารุเกษม (พระราชทาน)
- วงศ์ปัดสา
- เสนจันทร์ฒิไชย
- ประทุมทิพย์
- อุปยโสธร
- ปทุมชาติ
- อมรสิงห์
- อมรสิน
- ทองพิทักษ์
- อมรดลใจ
- แสงสิงห์แก้ว
- สิงหัษฐิต
- โพธิ์ศรี
- ไนยกุล
อ้างอิง
[แก้]- หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร). พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอิสาณ. ตีพิมพ์ในประชุมพงศาวดาร ภาค 4
- บำเพ็ญ ณ อุบล และคณะ. อุบลราชธานี 200 ปี. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์, 2535.
- เติม วิภาคย์พจนกิจ ประวัติศาสตร์อีสาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2513
- คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี. เรื่องทรงตั้งเจ้าประเทศราชกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักธรรมเนียบนายกรัฐมนตรี, 2514.
- ราชวงศ์สุวรรณปางคำเก็บถาวร 2017-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ราชวงศ์สุวรรณปางคำเก็บถาวร 2010-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ราชวงศ์สุวรรณปางคำเก็บถาวร 2019-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ อาลักษณาโวหาร. (2022, 5 พฤษภาคม). พระยาเพชรบุรีวีรบุรุษที่ถูกลืม. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2023.