มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง
ရန်ကုန် တက္ကသိုလ် | |
ชื่อเดิม |
|
---|---|
คติพจน์ | นตฺถิ สมํ วิชฺชา มิตฺตํ (ไม่มีมิตรใดเสมอด้วยวิชาความรู้) |
คติพจน์อังกฤษ | There's no friend like wisdom. |
ประเภท | มหาวิทยาลัยของรัฐ |
สถาปนา | พ.ศ. 2421 |
พระอธิการ | Tin Mg Tun |
ปริญญาตรี | 2,000 |
บัณฑิตศึกษา | 3,000 |
ที่ตั้ง | , |
เครือข่าย | เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน |
เว็บไซต์ | www uy |
มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง (พม่า: ရန်ကုန် တက္ကသိုလ်, ออกเสียง: [jàɰ̃.ɡòʊ̯ɰ̃ tɛʔ.kə.θò]) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศพม่า ก่อตั้งขึ้นในสมัยที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และเป็นรากฐานของการพัฒนาระดับอุดมศึกษาของพม่าภายใต้การบริหารของรัฐบาลอาณานิคมของอังกฤษ[1] มหาวิทยาลัยย่างกุ้งมีบทบาทต่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองในสังคมพม่าตั้งแต่สมัยต่อต้านอาณานิคมของอังกฤษจนถึงการประท้วงครั้งล่าสุดใน พ.ศ. 2539[2]
ประวัติ
[แก้]ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2421 ในชื่อวิทยาลัยย่างกุ้งโดยเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยกัลกัตตา โดยรัฐบาลอาณานิคมของอังกฤษในพม่า ต่อมาได้ขยายวิทยาเขตไปในเมืองมัณฑะเลย์ ใน พ.ศ. 2468 วิทยาลัยฝึกหัดครูและวิทยาแพทยศาสตร์ ใน พ.ศ. 2473 ทำให้มหาวิทยาลัยกลายเป็นแหล่งต่อต้านรัฐบาลอาณานิคมอังกฤษไปทั่วทั้งพม่า เนื่องจากการประท้วงมักจะมีจุดเริ่มต้นจากนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง นักคิดและปัญญาชนในพม่าปัจจุบันได้กลายเป็นผู้ที่มีบทบาทต่อการเมืองพม่า เช่น อองซาน, เนวี่น, อู้นุ เป็นต้น
ต่อมาการรัฐประหารใน พ.ศ. 2505 เนวี่นได้นำวิถีของพม่าสู่สังคมนิยม (Burmese Way to Socialism) มาเปลี่ยนแปลงระบอบเศรษฐกิจของพม่า นักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุ้งมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารความไม่เป็นธรรมจึงจัดการประท้วง ต่อต้านความอยุติธรรมของของสภาปฏิวัติในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 นักศึกษาได้จัดการประท้วงต่อต้านความอยุติธรรมของของสภาปฏิวัติ ในอาคารสหภาพนักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง กองทัพได้ตอบสนองโดยการจับกุมผู้นำนักศึกษา นักศึกษาออกมายืนนอกอาคาร ตะโกนคำขวัญ และเข้ายึดวิทยาเขต กองทัพได้เข้าล้อมมหาวิทยาลัยและโยนแก๊สน้ำตาเข้าใส่ฝูงชน ในตอนเย็นเวลาประมาณ 17.30 น. รถบรรทุกทหาร 2 คัน ได้มาถึงและยิงปืนไรเฟิลเข้าใส่ฝูงชน โดยยิง 3 นาที สลับกับการพัก 2 นาที ในเวลานั้น อองจีและตินเปเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูง และเซนวี่นเป็นผู้บัญชาการภาคสนาม ไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นคนสั่งยิง หลังจากนั้นไม่นาน เนวี่นได้กล่าวสุนทรพจน์ทางวิทยุ สรุปสถานการณ์ กองทัพประกาศว่านักศึกษาเสียชีวิต 17 คน อาคารสหภาพนักศึกษาถูกระเบิดทิ้งเมื่อ 6.00 น. ของวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2505[3][4][5]
นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยย่างกุ้งมีบทบาทในการประท้วงใน พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2539 ทางมหาวิทยาลัยได้พิจารณาการหยุดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี (เต็มเวลา) ไปหลังจากมีการประท้วงเกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2539 โดยมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงจากงานวิจัยในสายกฎหมาย และด้านประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่สำคัญในการต้อนรับผู้นำที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น อองซานซูจี, ฮิลลารี คลินตัน, บารัก โอบามา เป็นต้น [6]
สาขาวิชาที่เปิดสอน
[แก้]แบ่งออกเป็น 14 แผนก/ภาควิชา[7]
- ภาควิชามานุษยวิทยา (Anthropology)
- ภาควิชาโบราณคดี (Archaeology)
- ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
- ภาควิชาภาษาอังกฤษ (English)
- ภาควิชาภูมิศาสตร์ (Geography)
- ภาควิชาประวัติศาสตร์ (History)
- ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม (Industrial Chemistry)
- ภาควิชานิติศาสตร์ (Law)
- ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ (Library and information science)
- ภาควิชาพม่าศึกษา (Myanmar)
- ภาควิชาการศึกษาตะวันออก (Oriental Studies)
- ภาควิชาปรัชญา (Philosophy)
- ภาควิชาฟิสิกส์ (Physics)
- ศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัย (URC)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ James, Helen (2005). Governance And Civil Society In Myanmar: Education, Health, and Environment. Routledge. ISBN 0-415-35558-3.
- ↑ Ko Yin Aung (23 December 1999). "Prospects of education in Myanmar". The New Light of Myanmar.
- ↑ "Activists Detained Ahead of July 7 Anniversary | The Irrawaddy Magazine". Irrawaddy.org. สืบค้นเมื่อ 2014-01-20.
- ↑ Boudreau, Vincent (2004) Resisting Dictatorship: Repression and Protest in Southeast Asia Cambridge University Press, Cambridge, U.K., pp. 37-39, 50-51 เก็บถาวร 2011-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ISBN 0-521-83989-0
- ↑ Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps. New York: Farrar, Straus and Giroux. ISBN 0-374-16342-1.
- ↑ https://blog.eduzones.com/tonsungsook/111020[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-17. สืบค้นเมื่อ 2016-02-15.