ฟลินน์ ไรเดอร์
ฟลินน์ ไรเดอร์ | |
---|---|
ตัวละครใน แทงเกิร์ด | |
ฟลินน์ ไรเดอร์ในขณะที่ปรากฏตัวในภาพยนตร์ดิสนีย์ ราพันเซล เจ้าหญิงผมยาวกับโจรซ่าจอมแสบ | |
ปรากฏครั้งแรก | ราพันเซล เจ้าหญิงผมยาวกับโจรซ่าจอมแสบ (2010) |
สร้างโดย |
แดน โฟเกลแมน[1]
|
แสดงโดย | นิก พันคุช (แทงเกิร์ด: เดอดะมิวสิคัล) |
ให้เสียงโดย |
|
เเรงบันดาลใจจาก | เจ้าชายจากเทพนิยายของพี่น้องตระกูลกริมม์ |
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง | |
นามแฝง | ฟลินน์ ไรเดอร์ |
ตำแหน่ง |
|
อาชีพ | ขโมย (ในตอนต้นของ ราพันเซล เจ้าหญิงผมยาวกับโจรซ่าจอมแสบ) |
ครอบครัว | กษัริตย์เอ็ดมันด์ (บิดา) |
คู่สมรส | ราพันเซล |
ญาติ |
|
สัญชาติ | อาณาจักรโคโรนา |
สัตว์เลี้ยง | ปาสกาลและแม็กซิมัส |
ยูจีน ฟิตเซอร์เบิร์ต (อังกฤษ: Eugene Fitzherbert; ชื่อเกิด ฮอเรซ) และเป็นที่รู้จักในนาม ฟลินน์ ไรเดอร์ (อังกฤษ: Flynn Rider) เป็นตัวละครที่ปรากฏในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องที่ 50 ของวอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอส์เรื่อง ราพันเซล เจ้าหญิงผมยาวกับโจรซ่าจอมแสบ (2010), ภาพยนตร์สั้นเรื่อง วุ่นวายวันวิวาห์ของราพันเซล ในปี ค.ศ. 2012 และละครโทรทัศน์เรื่อง แทงเกิร์ด: เดอะซีรีส์ ในปี ค.ศ. 2017 ตัวละครนี้ให้เสียงโดยนักแสดงชาวอเมริกัน แซคารี ลีวาย ซึ่งตัดสินใจออดิชันในบทบาทนี้เมื่อรู้ว่าเขาจะเป็นผู้ให้เสียงร้องของตัวละครด้วย การแสดงคู่ของลีวายกับนักร้องและนักแสดง แมนดี มัวร์ ในเพลง "I See the Light" เป็นเพลงและละครเพลงที่ได้รับการบันทึกอย่างมืออาชีพเป็นเพลงแรกของเขาด้วย
ฟลินน์มีพื้นฐานมาจากเจ้าชายในเทพนิยายของพี่น้องตระกูลกริมม์เรื่อง "ราพันเซล" เขาเป็นหัวขโมยที่ต้องการหลบภัยในหอคอยของราพันเซลหลังจากที่ขโมยมงกุฎไป ฟลินน์ถูกราพันเซลแบล็กเมล์ให้พาเธอไปดูโคมลอยของอาณาจักรให้ทันวันเกิดปีที่ 18 ของเธอ ฟลินน์เกิดการเปลี่ยนแปลงในใจเมื่อเขาเริ่มตกหลุมรักราพันเซลทีละเล็กทีละน้อย ยูจีน (ในบทฟลินน์) ถูกสร้างขึ้นโดยผู้เขียนบท แดน โฟเกลแมน และผู้กำกับ นาธาน เกรโน และไบรอน ฮาวเวิร์ด เพราะพวกเขารู้สึกว่าราพันเซลที่ถูกจองจำต้องการใครสักคนเพื่อพาเธอออกจากหอคอย เขาถูกมองว่าเป็นหัวขโมยซึ่งตรงข้ามกับเจ้าชายในยุคดั้งเดิมโดยชอบที่จะทำให้เขามีบุคลิกที่สนุกสนานและโฉบเฉี่ยวยิ่งขึ้น เดิมนักเขียนให้เป็นชาวนาอังกฤษ แต่ในที่สุดฟลินน์ก็ได้รับการพัฒนาให้เป็นหัวขโมยจอมเจ้าเล่ห์ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากตัวละครฮาน โซโล และอินเดียนา โจนส์ และนักแสดงจีน เคลลี และเออร์รอล ฟลิน; ส่วนนามแฝงของยูจีน ฟิตเซอร์เบิร์ต ในชื่อฟลินน์ ไรเดอร์ได้รับการตั้งชื่อในภายหลัง
ตัวละครฟลินน์ได้ถูกนักวิจารณ์ภาพยนตร์แบ่งออกเป็นสองฝั่ง แม้ว่านักวิจารณ์บางคนจะชื่นชอบตัวละครที่มีอารมณ์ขันที่สดชื่น ความดื้อรั้น และการเสียดสีเมื่อเปรียบเทียบกับเจ้าชายดิสนีย์ทั่วไป แต่คนอื่น ๆ พบว่าบุคลิกของเขาน่ารำคาญและน่ารังเกียจ นอกจากนี้ ฟลินน์ยังถูกกล่าวหาอย่างรุนแรงว่าเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ดิสนีย์ใช้ประโยชน์เพื่อดึงดูดผู้ชมที่เป็นผู้ชาย อย่างไรก็ตาม ทั้งความสัมพันธ์ในรูปแบบรักตลกของตัวละครกับราพันเซลและการแสดงเสียงร้องของลีวายได้รับเสียงชื่นชมอย่างกว้างขวาง
การพัฒนา
[แก้]แนวคิด
[แก้]ผู้สร้างภาพยนตร์ วอลต์ ดิสนีย์ เองก็ได้พยายามดัดแปลงเทพนิยายของพี่น้องตระกูลกริมม์ในเรื่อง "ราพันเซล" ให้เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องยาวในช่วงทศวรรษที่ 1930 และ 1940[2] อย่างไรก็ตามโครงการนี้ได้ถูกยกเลิกไปในที่สุดเพราะเทพนิยายดั้งเดิมถือว่า "เล็กเกินไป"[2] เมื่อพวกเขาได้รับการทาบทามให้มากำกับราพันเซล เจ้าหญิงผมยาวกับโจรซ่าจอมแสบครั้งแรกในปี ค.ศ. 2008[3] ผู้กำกับ นาธาน เกรโน และไบรอน ฮาวเวิร์ด ตัดสินใจว่าจะเป็นการดีที่สุด "ที่จะขยายขนาดของภาพยนตร์" และเปลี่ยนให้เป็น "งานใหญ่" พร้อมกับอัปเดตและปรับปรุงให้ทันสมัย เป็นเรื่องราวสำหรับผู้ชมหน้าใหม่[2] ฟลินน์ถูกสร้างขึ้นเพราะผู้กำกับรู้สึกว่า "ราพันเซลจำเป็นต้องออกจาก [หอคอย] ... ดังนั้นเธอจึงต้องพบกับผู้ชายเพื่อพาเธอไปยังที่ที่เธอจะไป"[4] ในเทพนิยายแบบดั้งเดิม ความรักและความสนใจของราพันเซลคือเจ้าชาย[5] อย่างไรก็ตาม เกรโนและฮาวเวิร์ดตัดสินใจทำให้เขาเป็นหัวขโมย ซึ่งหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์[6] กล่าวว่า "เป็นจุดหักมุมที่ละเอียดอ่อนแต่น่าตกใจสำหรับดิสนีย์" เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างตัวละครที่ "ปลอดภัย" เกินไป โดยเลือกใช้แอนตีฮีโรที่ตลกและคมกว่าแทน[7][8] เกรโนอธิบายเพิ่มเติมว่า "เมื่อคุณมองย้อนกลับไปดูเจ้าชายดิสนีย์ในอดีตบางคนนั้น ... เจ้าชายเหล่านั้นส่วนใหญ่อ่อนโยนและไม่ใช่คนที่เราคิดว่าเจ๋งขนาดนั้น" กล่าวต่อ "พวกเขาเป็นคนดี ดังนั้น ฉันเดาว่าเราเอาเรื่องนั้นไปสุดโต่งแล้ว"[9] อย่างไรก็ตาม ทีมผู้สร้างบางคนเองก็กังวลว่าฟลินน์เริ่มมีความหงุดหงิดเกินไป[10] เกรโนเปิดเผยว่า "มีคน... ที่เป็นกังวลเล็กน้อยเพราะพวกเขาได้ยินข่าวลือเหล่านี้ 'ไม่ใช่เจ้าชาย แต่เป็นขโมย เขาเป็นผู้ชายประเภทผู้หญิง และเขาหยิ่งผยองมาก'"[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lloyd, Christopher (November 24, 2010). "'Tangled': A top-notch princess tale". Harold-Tribune. สืบค้นเมื่อ December 27, 2022.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Bonanno, Luke (March 28, 2011). "Interview: Tangled Directors Nathan Greno & Byron Howard". DVDizzy.com. สืบค้นเมื่อ December 5, 2014.
- ↑ Miraudo, Simon (December 28, 2010). "Interview – Nathan Greno and Byron Howard, Tangled". Quickflix. Quickflix Limited. สืบค้นเมื่อ December 6, 2014.
- ↑ Sztypuljak, David (January 26, 2011). "Exclusive Interview – Directors Nathan Greno & Byron Howard Talk Tangled". HeyUGuys. HeyUGuys Ltd. สืบค้นเมื่อ December 12, 2014.
- ↑ Chmielewski, Dawn C; Eller, Claudia (March 9, 2010). "Disney restyles 'Rapunzel' to appeal to boys". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ December 12, 2014.
- ↑ Barnes, Brooks (November 19, 2010). "Disney Ties Lots of Hopes to Lots of Hair". The New York Times. สืบค้นเมื่อ January 8, 2014.
- ↑ Brew, Simon (January 28, 2011). "Byron Howard & Nathan Greno interview: Tangled, Disney, animation and directing Disney royalty". Den of Geek. Dennis Publishing Limited. สืบค้นเมื่อ December 6, 2014.
- ↑ Amos, Joel D. (November 19, 2010). "Zachary Levi's Tangled interview". SheKnows. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-04. สืบค้นเมื่อ December 8, 2014.
- ↑ Carnevale, Rob. "Tangled – Nathan Greno and Byron Howard interview". IndieLondon. IndieLondon.co.uk. สืบค้นเมื่อ December 6, 2014.
- ↑ 10.0 10.1 "Directors proud of 'cool' Tangled star". Yahoo News. Yahoo News Network. January 29, 2011. สืบค้นเมื่อ December 21, 2014.