อำเภอตะพานหิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอตะพานหิน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Taphan Hin
สถานีรถไฟตะพานหิน
คำขวัญ: 
อำเภอตะพานหิน ถิ่นชะอมไร้หนาม
งามหลวงพ่อโต งานประเพณีกำฟ้า ทอผ้าป่าแดง
แผนที่จังหวัดพิจิตร เน้นอำเภอตะพานหิน
แผนที่จังหวัดพิจิตร เน้นอำเภอตะพานหิน
พิกัด: 16°12′54″N 100°25′18″E / 16.21500°N 100.42167°E / 16.21500; 100.42167
ประเทศ ไทย
จังหวัดพิจิตร
พื้นที่
 • ทั้งหมด468.930 ตร.กม. (181.055 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด65,187 คน
 • ความหนาแน่น139.01 คน/ตร.กม. (360.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 66110
รหัสภูมิศาสตร์6604
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอตะพานหิน
ถนนแดงทองดี ตำบลตะพานหิน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร 66110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ตะพานหิน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพิจิตร เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบางมูลนาก อำเภอโพทะเล และอำเภอเมืองพิจิตร ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองตำบลทับคล้อ ตำบลคลองคูณ ของอำเภอบางมูลนาก ตำบลวังสำโรง ของอำเภอโพทะเล และตำบลห้วยเกตุ ของอำเภอเมืองพิจิตร ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอตะพานหิน[1]

และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอตะพานหิน[2]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอตะพานหินเป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ[แก้]

ท้องที่อำเภอตะพานหิน เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบางมูลนาก อำเภอโพทะเล และอำเภอเมืองพิจิตร ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองตำบลทับคล้อ ตำบลคลองคูณ ของอำเภอบางมูลนาก ตำบลวังสำโรง ของอำเภอโพทะเล และตำบลห้วยเกตุ ของอำเภอเมืองพิจิตร ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอตะพานหิน[1] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2479 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม ปีเดียวกัน โดยให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองพิจิตร

และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอตะพานหิน[2] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2483 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน ปีเดียวกัน ประกอบไปด้วย 7 ตำบล (ในขณะนั้น) ได้แก่ ตำบลตะพานหิน ตำบลห้วยเกตุ ตำบลทับคล้อ ตำบลคลองคูณ ตำบลวังสำโรง ตำบลทุ่งโพธิ์ และตำบลท้ายทุ่ง

  • วันที่ 24 มกราคม 2479 แยกพื้นที่ตำบลห้วยเกตุ ของอำเภอเมืองพิจิตร ตำบลทับคล้อ ตำบลคลองคูณ ของอำเภอบางมูลนาก และตำบลวังสำโรง ของอำเภอโพทะเล มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอตะพานหิน[1] ขึ้นกับอำเภอเมืองพิจิตร
  • วันที่ 25 กรกฎาคม 2481 ตั้งตำบลตะพานหิน แยกออกจากตำบลห้วยเกตุ[3]
  • วันที่ 25 มีนาคม 2482 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอบางมูลนาก กับกิ่งอำเภอตะพานหิน อำเภอเมืองพิจิตร โดยโอนพื้นที่ตำบลทุ่งโพธิ์ และตำบลท้ายทุ่ง ของอำเภอบางมูลนาก มาขึ้นกับกิ่งอำเภอตะพานหิน อำเภอเมืองพิจิตร[4]
  • วันที่ 16 เมษายน 2483 ยกฐานะกิ่งอำเภอตะพานหิน อำเภอเมืองพิจิตร เป็น อำเภอตะพานหิน[2] ประกอบไปด้วย 7 ตำบล (ในขณะนั้น) ได้แก่ ตำบลตะพานหิน ตำบลห้วยเกตุ ตำบลทับคล้อ ตำบลคลองคูณ ตำบลวังสำโรง ตำบลทุ่งโพธิ์ และตำบลท้ายทุ่ง
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2487 จัดตั้งเทศบาลตำบลตะพานหิน ในท้องที่ตำบลตะพานหิน[5]
  • วันที่ 22 เมษายน 2484 ตั้งตำบลหนองพยอม แยกออกจากตำบลตะพานหิน[6]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลดงตะขบ แยกออกจากตำบลทุ่งโพธิ์ และตั้งตำบลวังสำโรง แยกออกจากตำบลคลองคูณ[7]
  • วันที่ 16 มีนาคม 2491 ตั้งตำบลงิ้วราย แยกออกจากตำบลตะพานหิน และตำบลห้วยเกตุ[8]
  • วันที่ 16 พฤศจิกายน 2491 ตั้งตำบลไทรโรงโขน แยกออกจากตำบลห้วยเกตุ[9]
  • วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลทับคล้อ ในท้องที่บางส่วนของตำบลทับคล้อ[10]
  • วันที่ 23 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลเขาเจ็ดลูก แยกออกจากตำบลหนองพยอม ตั้งตำบลวังหว้า แยกออกจากตำบลคลองคูณ และตำบลห้วยเกตุ ตั้งตำบลเขาทราย แยกออกจากตำบลทับคล้อ และตำบลท้ายทุ่ง[11]
  • วันที่ 26 สิงหาคม 2512 จัดตั้งสุขาภิบาลเขาทราย ในท้องที่บางส่วนของตำบลเขาทราย[12]
  • วันที่ 4 ธันวาคม 2522 ตั้งตำบลวังหลุม แยกออกจากตำบลหนองพยอม[13]
  • วันที่ 18 ธันวาคม 2524 ขยายเขตเทศบาลตำบลตะพานหิน[14] ตามความเจริญของชุมชน โดยครอบคลุมมาถึงบางส่วนของตำบลห้วยเกตุ บางส่วนของตำบลหนองพยอม และบางส่วนของตำบลงิ้วราย
  • วันที่ 26 เมษายน 2526 แยกพื้นที่ตำบลทับคล้อ ตำบลเขาทราย ตำบลเขาเจ็ดลูก และตำบลท้ายทุ่ง อำเภอตะพานหิน ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอทับคล้อ ขึ้นกับอำเภอตะพานหิน[15]
  • วันที่ 2 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลทับหมัน แยกออกจากตำบลวังสำโรง[16]
  • วันที่ 12 สิงหาคม 2530 ยกฐานะกิ่งอำเภอทับคล้อ อำเภอตะพานหิน เป็น อำเภอทับคล้อ[17]
  • วันที่ 24 กันยายน 2538 ยกฐานะเทศบาลตำบลตะพานหิน เป็น เทศบาลเมืองตะพานหิน[18]
  • วันที่ 9 มกราคม 2539 ตั้งตำบลไผ่หลวง แยกออกจากตำบลไทรโรงโขน และตำบลห้วยเกตุ[19]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอตะพานหินแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 13 ตำบล 97 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ตะพานหิน (Taphan Hin) - 8. คลองคูณ (Khlong Khun) 7 หมู่บ้าน
2. งิ้วราย (Ngio Rai) 8 หมู่บ้าน 9. วังสำโรง (Wang Samrong) 7 หมู่บ้าน
3. ห้วยเกตุ (Huai Ket) 11 หมู่บ้าน 10. วังหว้า (Wang Wa) 8 หมู่บ้าน
4. ไทรโรงโขน (Sai Rong Khon) 4 หมู่บ้าน 11. วังหลุม (Wang Lum) 10 หมู่บ้าน
5. หนองพยอม (Nong Phayom) 11 หมู่บ้าน 12. ทับหมัน (Thap Man) 6 หมู่บ้าน
6. ทุ่งโพธิ์ (Tung Pho) 7 หมู่บ้าน 13. ไผ่หลวง (Phai Luang) 7 หมู่บ้าน
7. ดงตะขบ (Dong Takhop) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอตะพานหินประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองตะพานหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะพานหินทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหนองพยอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองพยอมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลงิ้วรายและตำบลไทรโรงโขนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเกตุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยเกตุทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งโพธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดงตะขบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงตะขบทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองคูณ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองคูณทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังสำโรงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังหว้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังหว้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังหลุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังหลุมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับหมันทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่หลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่หลวงทั้งตำบล

แหล่งท่องเที่ยว[แก้]

  • วัดเทวประสาท พระพุทธเกตุมงคล หรือหลวงพ่อใหญ่ วัดเทวประสาทเป็นพระพุทธรูป ปางประทานพร หน้าตักกว้าง 20 เมตร เฉพาะองค์พระสูง 30 เมตรแท่นสูง 4 เมตรรวมความสูงทั้งสิ้น 34 เมตรสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กเมื่อปีพ.ศ. 2513นับเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะสวยงามได้สัดส่วนและใหญ่ที่สุดของจังหวัดพิจิตร หากท่านเดินทางโดยรถไฟจะมองเห็นองค์พระเหลืองอร่ามแต่ไกล
  • วัดพระพุทธบาทเขารวก ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลวังหลุม อำเภอตะพานหิน อยู่ห่างจากอำเภอตะพานหินไปประมาณ 10 กิโลเมตร ภายในวัดมีรอยประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งจำลองมาจากวัดพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรีมีพระอาจารย์โง่นไสรโย อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดังองค์หนึ่งจำพรรษาอยู่ ซึ่งท่านเป็นผู้สร้างพระพุทธวิโมกข์ปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง29 นิ้ว มอบให้โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีกลองที่ทำด้วยไม้ประดู่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และรูปปั้นฤๅษีอายุ 1,000-1,500 ปีซึ่งเป็นหินศิลาแลงจากลุ่มแม่น้ำเขิน ภายในวัดยังมีสวนสัตว์ขนาดเล็กซึ่งมีสัตว์หลายชนิดไว้ให้ชมและศีกษาอีกด้วย
  • บึงน้ำกลัด ตั้งอยู่ที่หมู่ 6 บ้านน้ำกลัดตำบลวังสำโรง อำเภอตะพานหิน อยู่ห่างจากอำเภอตะพานหินประมาณ15 กิโลเมตรโดยใช้เส้นทางสายตะพานหิน - วังสำโรง และเส้นทาง วังสำโรง – ไผ่ท่าโพ (ทางหลวงหมายเลข 1070) จากอำเภอตะพานหินถึงทางแยกเข้าบึงมีป้ายบอกหมู่บ้าน อพป.บึงน้ำกลัด เลี้ยวขวาประมาณ 400 เมตร เป็นถนนลาดยางจากนั้นเลี้ยวซ้ายประมาณ 300 เมตรสภาพทั่วไปเป็นบึงกว้าง พื้นที่ประมาณ 120 ไร่และในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนพฤศจิกายน - พฤษภาคม จะมีนกเป็ดน้ำ นกกระยางขาวและนกตับแคจำนวนมากบินอพยพหนีความหนาวจากไซบีเรีย ประเทศจีนมาอาศัยอยู่บริเวณบึงน้ำกลัดแห่งนี้โดยเฉพาะในเดือนธันวาคม จะเป็นเดือนที่มีนกชนิดต่าง ๆ อาศัยอยู่มากที่สุด
  • กลุ่มผ้าทอด้วยมือบ้านป่าแดง กลุ่มผ้าทอด้วยมือบ้านป่าแดงมีการทอผ้าด้วยมือ ไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ชมและ เลือกซื้อเป็นผ้าจากผ้าย ผสมไหมที่มีสีสันต่าง ๆ มากมายทั้งยังมีราคาถูกกว่า ผ้าทอด้วยมือของจังหวัดอื่นมาก ด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้เองที่ทำให้ ผ้าทอด้วยมือ ของบ้านป่าแดง อำเภอตะพานหินเป็นที่นิยม อย่างแพร่หลายจนถึงประเทศในทวีปยุโรป บางประเทศ เช่น อิตาลีและฝรั่งเศส เป็นต้นผ้าทอมือนี้ สามารถหาซื้อได้จาก บ้านป่าแดง หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 6 ตำบลหนองพยอม อำเภอตะพานหินห่างจากอำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร
  • งานประเพณีกำฟ้า จัดขึ้นในวันขึ้น 2 - 3 ค่ำ เดือน 3 เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวไทยพวน จัดขึ้นที่วัดป่าแดงพยอม บ้านป่าแดง ตำบลหนองพยอม ประเพณีนี้จัดขึ้นเพื่อแสดงความเคารพบูชาเทวดาและพระมหากษัตริย์เมื่อถึงวันกำฟ้าชาวไทยพวนจะกลับมายังบ้านของตน เพื่อร่วมทำบุญกับญาติพี่น้อง พบปะสังสรรค์ และเล่นกีฬาพื้นบ้าน

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอตะพานหิน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 2715. 24 มกราคม 2479. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 2020-07-19.
  2. 2.0 2.1 2.2 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอตะพานหิน ขึ้นอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ขึ้นเป็นอำเภอ ขนานนามว่า อำเภอตะพานหิน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ง): 248. 16 เมษายน 2483. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 2020-07-19.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตต์ตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอตะพานหิน อำเภอท่าหลวง จังหวัดพิจิตร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 1204. 25 กรกฎาคม 2481.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 3703. 25 มีนาคม 2482.
  5. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลตะพานหิน จังหวัดพิจิตร พุทธศักราช ๒๔๘๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 61 (77 ก): 1176–1179. 26 ธันวาคม 2487.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58 (0 ง): 842. 22 เมษายน 2484.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. 10 มิถุนายน 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-07-19.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลของจังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (15 ง): 951–952. 16 มีนาคม 2491.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (66 ง): 3686–3687. 16 พฤศจิกายน 2491.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลทับคล้อ อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 73-74. 7 มกราคม 2500.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอยางตลาด และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอน้ำพอง อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอพล อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อำเภอบัวใหญ่ อำเภอพิมาย และอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอศรีมหาโพธิ์ และอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี กับอำเภอตะพานหิน และอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (109 ง): 3084–3117. 23 ธันวาคม 2501.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเขาทราย อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (76 ง): 2560–2561. 26 สิงหาคม 2512.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (200 ง): 4611–4616. 4 ธันวาคม 2522.
  14. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลตะพานหิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ. ๒๕๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (207 ก): (ฉบับพิเศษ) 4-8. 18 ธันวาคม 2524.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ตั้งเป็นกิ่งอำเภอทับคล้อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (65 ง): 1317. 26 เมษายน 2526. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2020-07-19.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่มีอำเภอตะพานหิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (137 ง): 3484–3488. 2 ตุลาคม 2527.
  17. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอพญาเม็งราย อำเภอพบพระ อำเภอทับคล้อ อำเภอบ้านโคก และอำเภอโพธิ์ไทร พ.ศ. ๒๕๓๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (156 ง): (ฉบับพิเศษ) 26-28. 12 สิงหาคม 2530. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-07-19.
  18. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองตะพานหิน จังหวัดพิจิตร พ.ศ. ๒๕๓๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (40 ก): 53–57. 24 กันยายน 2538.
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางมูลนาก อำเภอโพทะเล อำเภอตะพานหิน และกิ่งอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (3 ง): 25–47. 9 มกราคม 2539.