ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ควีน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 172: บรรทัด 172:
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}

== แหล่งข้อมูลอื่น ==
<!--See '[[Wikipedia:External links]]' before adding new links.-->
{{sisterlinks|display=Queen|q=Queen (band)|c=Category:Queen (musical_group)|n=no|b=no|v=no|voy=no|m=no|mw=no|wikt=no|s=no|species=no}}
{{Wikipedia books|Queen}}
*{{Official website|http://www.queenonline.com}}
*{{curlie|Arts/Music/Bands_and_Artists/Q/Queen|Queen}}





รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:59, 11 มกราคม 2564

ควีน
บน: ไบรอัน เมย์, เฟรดดี เมอร์คิวรี
ล่าง: จอห์น ดีคอน, โรเจอร์ เทย์เลอร์
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดลอนดอน, อังกฤษ
แนวเพลงร็อก
ช่วงปีค.ศ. 1970 – ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
สมาชิกไบรอัน เมย์
โรเจอร์ เทย์เลอร์
อดีตสมาชิกจอห์น ดีคอน (ออกจากวงแล้ว)
เฟรดดี เมอร์คิวรี (เสียชีวิต)
เว็บไซต์queenonline.com
ไฟล์:Queenrock.jpg
เฟรดดี เมอร์คิวรี (กลาง) ไบรอัน เมย์ (ขวา) และจอห์น ดีคอน (ซ้าย)

ควีน (อังกฤษ: Queen) เป็นวงร็อกจากประเทศอังกฤษ ก่อตั้งขึ้น ณ กรุงลอนดอน เมื่อปี ค.ศ. 1970 มีสมาชิกดั้งเดิมประกอบด้วย เฟรดดี้ เมอร์คูรี (ร้องนำ , เปียโน) ไบรอัน เมย์ (กีตาร์ , ร้องนำ) จอห์น ดีคอน (กีตาร์เบส) และโรเจอร์ เทย์เลอร์ (กลอง , ร้องนำ) วงควีนผลงานแรกพวกเขาได้รับอิทธิพลมาจากแนวเพลง ร็อก แอนด์ โรล และฮาร์ดร็อก

ก่อนที่จะเป็นวงควีน ไบรอัน เมย์ และ โรเจอร์ เทย์เลอร์ ได้เป็นสมาชิกวงสไมล์ (Smile) มาก่อน เมอร์คูรีเป็นแฟนเพลงตัวยงของวงสไมล์ และสนับสนุนวงในการอัดเพลงและคอนเสิร์ตการแสดงต่าง ๆ จนเขาได้ร่วมวงในปี ค.ศ. 1970 และได้เปลี่ยนชื่อวงเป็น ควีน และชื่อบนเวทีของเขาที่คุ้นเคย จอห์น ดีคอน ได้รับการคัดเลือกก่อนที่จะเปิดตัวอัลบั้มแรกของพวกเขาในปี ค.ศ. 1973 จอห์น ดีคอนยังได้ถูกคัดเลือกก่อนที่จะอัดอัลบั้มเปิดตัวชุดแรกของพวกเขาในปี ค.ศ. 1973 ควีนประสบความสำเร็จในสหราชอาณาจักรสำหรับอัลบั้มเปิดตัวของพวกเขา ตามมาด้วยอัลบั้มชุดที่สอง Queen II ในปี ค.ศ. 1974 และอัลบั้มชุดที่ 3 Sheer Heart Attack ในปี ค.ศ. 1974 และอัลบั้มชุดที่ 4 A Night at the Opera ในปี ค.ศ. 1975 ส่งผลให้พวกเขาประสบความสำเร็จสู่ระดับนานาชาติ ซิงเกิ้ล "Bohemian Rhapsody" ขึ้นติดอันดับหนึ่งในชาร์จของสหราชอาณาจักรเป็นเวลาเก้าสัปดาห์ และติดชาร์จอันดับหนึ่งในหลายประเทศ และวงควีนยังติดท็อปสิบอันดับใน บิลบอร์ด ฮอต 100 ผลงานอัลบั้มชุดที่ 6 News of The World ในปี ค.ศ. 1977 อัลบั้มชุดนี้ยังประกอบด้วยเพลงที่ถูกกล่าวขานว่าเป็นเพลงชาติของชาวร็อกอย่าง "We Will Rock You" และ "We Are the Champions"

ในช่วงประมาณทศวรรษ 1980 ควีน ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในวงดนตรีที่แสดงสดได้อย่างยอดเยี่ยมและยิ่งใหญ่ พร้อมโดยซิงเกิ้ลของพวกเขา "Another One Bites the Dust" ซึ่งเป็นซิงเกิ้ลที่มียอดขายดีอย่างมาก และการแสดงในคอนเสิร์ตไลฟ์เอด ในปี 1985 ยังถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสุดยอดของประวัติศาสตร์วงการเพลงร็อก ในปี ค.ศ. 1991 เมอร์คูรีเสียชีวิตจากภาวะหลอดลมใหญ่และปอดอักเสบจากภาวะแทรกซ้อนจากเอดส์ และดีคอนเกษียณตัวเองในปี ค.ศ. 1997 ตั้งแต่นั้นมา เมย์ และ เทย์เลอร์ได้แสดงคอนเสิร์ตร่วมกัน และการร่วมมือกับพอล รอดเจอร์ส และอดัม แลมเบิร์ต

วงควีนมี 18 อัลบั้มขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์ตอัลบั้ม และ 18 ซิงเกิ้ลขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์ตซิงเกิ้ล , ยอดขายพวกเขาขายไปได้ถึงประมาณ 150 ล้าน ถึง 300 ล้านแผ่นเสียง , ทำให้พวกเขาติดหนึ่งในศิลปินที่มียอดขายสูง พวกเขายังมีผลงานอันโดดเด่นโดยได้รับรางวัลบริทิชมิวสิกอวอร์ดจากวงการแผ่นเสียงของอังกฤษในปี ค.ศ. 1990 พวกเขาได้รับการบรรจุเข้าสู่ หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรล ในปี ค.ศ. 2001

ประวัติ

ก่อตั้งวง

ในปี 1968 นักศึกษาจากราชวิทยาลัยลอนดอน (อิมพีเรียลคอลเลจลอนดอน) ไบรอัน เมย์ กับเพื่อนร่วมชั้น โรเจอร์ เทย์เลอร์ และ ทิม สตัฟเฟิล ฟอร์มวงเล็ก ๆ ที่มีชื่อว่า Smile ขึ้นมาเพื่อเล่นในคลับเล็ก ๆ ในลอนดอน[1]

ในเวลาต่อมา พวกเขาได้พบกับนักศึกษาศิลปะชาวอังกฤษเชื้อสายอินเดียจาก เอลลิ่ง อาร์ต คอลเลจ ผู้มีนามว่า (ฟารุก หรือ "เฟรดดี" บัลซารา) หลังจากการลาออกของ สตัฟเฟิล ทั้งสามชักชวนกันฟอร์มวงใหม่ขึ้นมา โดยมีมือเบสอย่าง จอห์น ดีคอน มาสมทบในภายหลัง โดยใช้ชื่อว่า “ควีน” จากการแนะนำของเฟรดดี้ (ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลเป็น เมอร์คิวรี่) และคงไว้ซึ่งสมาชิกชุดเดิมนี้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดมา

ด้วยความที่จบจากมหาวิทยาลัยศิลปะมา เฟรดดีจึงออกแบบตราประจำวงด้วยตัวเอง โดยได้ใช้สัตว์เพื่อแทนราศีเกิดของสมาชิกวง สิงโต (แทนราศีสิงห์) แทนดีคอนและเทย์เลอร์[2] ปู (แทนราศีกรกฎ) แทนเมย์ และนางฟ้าสองตน (แทนราศีกันย์) แทนเฟรดดี[3]

ในปี 1973 พวกเขาออกอัลบั้มเปิดตัวที่มีชื่อเดียวกันกับวง และประสบความสำเร็จในระดับเล็ก ๆ ด้วยดนตรีร็อกแนวใหม่ที่มีส่วนผสมของดนตรีบลูส์, แกลมร็อก, ฮาร์ดร็อก, เฮวี่ ไซเคเดลิก และโปรเกรสซีฟ ร็อก ผสานเข้ากับการประสานเสียงอันหนาแน่นแบบดนตรีคลาสสิก[4]

เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง

ในปี 1974 ด้วยการเข็นอัลบั้ม Queen II และมีเพลง "Seven Seas of Rhye" เป็นเพลงแรกของวงที่ติดอันดับในชาร์ตซิงเกิลอังกฤษ[5]

ในปีเดียวกันควีนได้ออกอัลบั้ม Sheer Heart Attack ออกมาในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยได้มีเพลง "Killer Queen" ที่ทำให้วงเป็นที่รู้จักในวงกว้างเป็นครั้งแรก โดยสามารถขึ้นไปสู่ 20 อันดับแรกของชาร์ตอังกฤษและอเมริกา[6][7]

ในปี 1975 ควีนได้ออกอัลบั้ม A Night at the Opera ส่งผลให้วงมีความเป็นที่ชื่อเสียงและถูกกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในสุดยอดอัลบั้มแห่งวงการดนตรีร็อก มีเพลง "Bohemian Rhapsody" เป็นที่รู้จัก เพลงดังกล่าวขึ้นอันดับหนึ่งของชาร์ต UK Single ติดต่อกันถึงเก้าสัปดาห์[8][9][10] และขึ้นอันดับหนึ่งของบิลบอร์ดชาร์ต ฮอต 100 ในสหรัฐอเมริกาและในอีกหลายประเทศทั่วโลก อัลบั้มนี้ยังได้รับการจารึกชื่อจากนิตยสาร Rolling Stone ให้อยู่ในอันดับ 11 ใน 500 อัลบั้มยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล[11]

ด้วยงานดนตรีที่สร้างมิติใหม่ให้กับวงการร็อก กับการเรียบเรียงเสียงประสานอันสุดยอด และการนำเอาดนตรีคลาสสิกอย่างโอเปร่า มาผสมผสานเข้ากับเพลงบัลลาด ดนตรีฮาร์ดร็อก และอีกหลายแนว จนกลายเป็นแนวเพลงใหม่ที่เรียกกันว่า "โอเปร่าร็อก" [12]

ในปี 1976 ควีนเปิดตัวอัลบั้ม A Day at the Races พร้อมกับเพลงฮิตอย่าง "Somebody to Love"[13][14] และ "Tie Your Mother Down"

บุกตลาดอเมริกา

ในปี 1977 ควีนกลับมาประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดอีกครั้ง กับอัลบั้ม News of the World มีเพลงฮิตสองเพลงออกเป็นซิงเกิลร่วมกันอย่าง "We Will Rock You" และ "We Are the Champions" ที่ต่อมากลายเป็นผลงานเพลงอมตะของวงควีนจนเป็นที่รู้จักกันมากมาย[15][16] โดยทั้งสองเพลงต่างก็ถูกใช้มานับไม่ถ้วนทั้งในงานกีฬาและโฆษณา อัลบั้มนี้สามารถทำยอดขายในสหรัฐอเมริกาได้มากถึงสี่ล้านชุด

ไฟล์:Freddy mercury.jpg
เฟรดดี เมอร์คิวรี

ในปี 1978 ควีนได้ออกอัลบั้ม Jazz โดยได้ออกซิงเกิลคู่ "Bicycle Race" และ "Fat Bottomed Girls" โดยมิวสิกวิดีโอของเพลง "Bicycle Race" ยังได้กลายเป็นกระแสสังคมหลังจากที่มีภาพกลุ่มผู้หญิง 65 คนที่กำลั่งปั่นจักรยานในสภาพเปลือยกาย[17] จากนั้นพวกเขาจึงได้ปล่อยเพลงในตำนานอีกเพลงอย่าง "Don't Stop Me Now"[18] ที่ได้ถูกนำมาใช้นับครั้งไม่ถ้วนกับสื่อต่าง ๆ

ในปี 1980 วงได้เข้าสู่ความประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดด้วยการออกอัลบั้ม ''The Game'' ที่สามารถทำยอดขายในอเมริกาสูงถึงห้าล้านชุด[19] พร้อมกับมีเพลงที่เข้าสู่อันดับหนึ่งของบิลบอร์ด ฮอต 100ถึงสองเพลง คือ "Crazy Little Thing Called Love" ที่เฟร็ดดีแต่งและทำมิวสิกวิดีโอแก่เอลวิส เพรสลีย์ และ "Another One Bites the Dust" ที่เขียนโดยจอห์น อัลบั้มนี้ยังเป็นอัลบั้มแรกที่วงยอมใช้ซินธีไซเซอร์ในการทำเพลงอีกด้วย[20]

ในปี 1980 ควีนได้ทำอัลบั้มซาวด์แทร็กชุดแรก Flash Gordon ให้กับภาพยนตร์ชื่อเดียวกัน แต่เนื่องจากเพลงส่วนมากเป็นเพลงบรรเลงที่ขาดความน่าสนใจ ทำให้อัลบั้มนี้ไม่ประสบความสำเร็จ โดยเป็นสตูดิโออัลบั้มเดียวของควีนที่ทำยอดขายไม่ถึงหนึ่งล้านชุด

ในปี 1981 ควีนได้ออกอัลบั้ม Greatest Hits และได้กลายเป็นอัลบั้มที่ทำยอดขายเป็นประวัติการณ์ สามารถทำยอดขายทั่วโลกได้กว่า 25 ล้านชุด[21][22] โดยในอังกฤษยังสามารถเข้าอยู่ในชาร์ตเป็นเวลาถึง 450 สัปดาห์[23][24] และทำยอดขายได้ถึง 6 ล้านชุด กลายเป็นอัลบั้มที่มัยอดขายสูงที่สุดในประวัติศาสตร์วงการเพลงสหราชอาณาจักร อีกทั้งในสหรัฐอเมริกายังทำยอดขายถึงแปดล้านชุด โดยในเวอร์ชันในสหรัฐอเมริกาและแคนาดายังได้มีการเพิ่มเพลง Under Pressure ซึ่งเป็นการทำงานและร้องร่วมกับ เดวิด โบอี ซึ่งกลายเป็นเพลงที่สองที่สามารถไปถึงอันดับหนึ่งในชาร์ตของอังกฤษ ในช่วงระหว่างนั้น เทย์เลอร์ได้กลายเป็นสมาชิกวงคนแรกที่ได้ทำอัลบั้มเดี่ยวของตนเองในชื่อ Fun In Space

ทศวรรษ 1980

ควีนในแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 6 กันยายน 1984

ในปี 1982 ควีนได้ออกอัลบั้ม Hot Space ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแนวทางใหม่ไปเป็นการใช้ซินธีไซเซอร์อย่างหนักหน่วง และเน้นดนตรีไปเป็นแบบป็อปและริทึมแอนด์บลูส์ รวมไปถึงฟังก์ [25]แต่ปรากฏว่าอัลบั้มนี้กลับได้เสียงตอบรับที่ย่ำแย่จากทั้งนักวิจารณ์และแฟนเพลง ทำให้ยอดขายทำได้ต่ำกว่าอัลบั้มก่อนมาก และควีนก็ไม่เคยได้แสดงสดในทวีปอเมริกาอีกเลยนับตั้งแต่ยุติทัวร์ครั้งนั้นจนกระทั่งเมื่อเฟร็ดดีเสียชีวิตไปแล้ว[26]

ในปี 1984 ควีนออกอัลบั้ม The Works พร้อมกับออกเพลง "Radio Ga Ga" ซึ่งเป็นเพลงซินธิ์ป็อปที่เล่าถึงวงการเพลงที่เปลี่ยนไป เพลงนี้ประสบความสำเร็จโดยติดชาร์ต 20 อันดับแรกในหลายประเทศ จากนั้นจึงได้ออกเพลง "I Want to Break Free" ซึ่งประสบความสำเร็จเช่นกัน[27][28]

เฟรดดีเป็นสมาชิกวงคนที่สองที่ออกอัลบั้มเดี่ยว ในชื่อ Mr. Bad Guy ในปี 1985

ในปีเดียวกันนั้นเอง ควีนได้แสดงสดในคอนเสิร์ตไลฟ์เอดต่อหน้าผูคนกว่า 72,000 คนในสนามกีฬาเวมบลีย์ และผูชมทางโทรทัศน์กว่า 1,500 ล้านคน และกลายเป็นการแสดงสดที่มีชื่อเสียงที่สุดของควีน บีบีซี ซีเอ็นเอ็น โรลลิงสโตน เอ็มทีวี และเดอะเดลีเทลิกราฟ ได้กล่าวว่าควีน "ขโมย" ความโดดเด่นของทุกคนในคอนเสิร์ต และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในการแสดงสดที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ดนตรี[29][30]

ในปี 1986 ควีนออกอัลบั้ม A Kind of Magic โดยกลายเป็นสตูดิโออัลบั้มแรกที่สามารถได้ใบประกาศนียบัตรเกินหนึ่งใบ โดยหลายเพลงในอัลบั้มนั้นได้ไปใช้ในภาพยนตร์เรื่อง ไฮแลนด์เดอร์ พร้อมกับได้ออกทัวร์ครั้งสุดท้ายในขณะที่เฟร็ดดียังมีชีวิตอยู่ โดยวิดีโอบันทึกการแสดงสด Queen at Wembley สามารถทำยอดขายได้เกินหนึ่งล้านชุด[31][32]

การเสียชีวิตของเฟร็ดดี และอนาคตของวง

"เมื่อเรารู้ว่าเฟรดดียังอยู่ เราก็ยังก้มหน้าทำงานต่อไป"

—ไบรอัน เมย์[33]

ในปี 1987 เฟรดดีได้ถูกตรวจพบว่ามีผลเป็นบวกในการตรวจไวรัสเอชไอวี แต่เขาตัดสินใจปิดเรื่องนี้เป็นความลับ จนมีเพียงไม่กี่คนที่ทราบเรื่องนี้ แม่กระทั่งคัชมีรา น้องสาวของเฟรดดีเองยังไม่ทราบเรื่องนี้ โดยระหว่างนั้นทางวงได้ปฏิเสธข่าวลือเรื่องอาการป่วยของเฟรดดีมาตลอด อย่างไรก็ดี เขายังคงตัดสินใจทำเพลงต่อไป โดยได้ออกอัลบั้มร่วมกับมุนซาร์รัต กาบัลเย ในชื่อ Barcelona ซึ่งเป็นอัลบั้มแนวครอสโอเวอร์ระหว่างป็อปกับโอเปรา

ในปี 1989 ควีนได้ออกอัลบั้ม The Miracle โดยมีเพลงฮิต "I Want It All"

ในปี 1991 ควีนได้ออกอัลบั้ม Innuendo ที่เพลงชื่อเดียวกับอัลบั้มสามารถขั้นไปถึงอันดับหนึ่งในชาร์ตอังกฤษ

ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 1991 เฟรดดีประกาศต่อสาธารณชนว่าตนเองป่วยเป็นโรคปอดบวมจากโรคเอดส์ ด้วยพฤติกรรมแบบรักร่วมเพศอันโลดโผนกับชายมากหน้าหลายตาของเขาที่ผ่านมา และเสียชีวิตด้วยอาการปอดติดเชื้อในอีกเพียงหนึ่งวันให้หลัง

ในวันที่ 9 ธันวาคม 1991 ได้มีการออกซิงเกิลเพลง "Bohemian Rhapsody" ที่มาพร้อมกับเพลงในอัลบั้มใหม่ "These Are The Days of Our Lives" พร้อมกับขึ้นไปถึงอันดับหนึ่งของชาร์ตอังกฤษเป็นเวลา 5 สัปดาห์ อีกทั้งยังขึ้นไปถึงอันดับสองในชาร์ตของอเมริกา☂[34]

ในปี 1992 ได้มีการจัดคอนเสิร์ตรำลึกถึงเฟรดดี โดยมีศิลปินชื่อดังมากมาย เช่น เดฟเล็ปเพิร์ด กันส์แอนด์โรสเซส เอลตัน จอห์น แอนนี เลนนิกซ์ โรเบิร์ต แพลนต์ จอร์จ ไมเคิล ซีล (นักดนตรี) เดวิด โบอี และเมทัลลิกา โดยได้ถูกบันทึกว่าเป็นคอนเสิร์ตการกุศลที่ใหญ่ที่สุด โดยมีผู้ชมมากกว่า 1,200 ล้านคน และสามารถระดมทุนให้แก่ผุ้ป่วยโรคเอดส์ได้ถึง 20 ล้านดอลลาร์

สมาชิกที่เหลือร่วมกันออกสตูดิโออัลบั้มสุดท้าย Made in Heaven ที่เฟรดดีทำการบันทึกเสียงเมื่อก่อนหน้านั้น โดยบางเพลงยังเอามาจากอัลบั้มเดี่ยวของเฟรดดี Mr. Bad Guy อีกด้วย อัลบั้มนี้เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ทำยอดขายมากที่สุด โดยทำยอดขายสูงถึง 7.5 ล้านชุด[35][36] และเป็นสตูดิโออัลบั้มเดียวชองควีนที่ทำยอดขายเกินหนึ่งล้านชุดในอังกฤษ และไม่เคยออกอัลบั้มใหม่ในนาม Queen อีกเลยนับตั้งแต่นั้นมา

หลังจากการเกษียณตัวเองของ จอห์น ดีคอน ในปี 1997 สมาชิกที่เหลืออย่างเมย์และเทย์เลอร์ ก็ยังคงเดินสายเล่นคอนเสิร์ตในนามควีน โดยร่วมมือกับวง ฟรี (วงดนตรี) และแบดคอมพานี โดยมีนักร้องนำ พอล รอดเจอร์สภายใต้การร่วมกันของ ควีน + พอล รอดเจอร์ส ในระหว่างช่วงพฤษภาคม ค.ศ. 2009 ถึงปี ค.ศ. 2011 เมย์และเทย์เลอร์ได้ร่วมงานกับแอดัม แลมเบิร์ต ภายใต้ชื่อ ควีน + อดัม แลมเบิร์ต ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2014[37]

อิทธิพล

เช่นเดียวกับศิลปินผู้ยิ่งใหญ่อื่น ๆ ควีนเป็นวงที่สร้างอิทธิพลให้กับศิลปินมากหน้าหลายตา เช่นศิลปินเฮฟวีเมทัล จูดาสพรีสต์ [38] ไอเอิร์นเมเดน[39] เมทัลลิกา [40] ดรีมเทียเตอร์ [41] ทริเวียม [42] เมกาเดธ [43] แอนแทรกซ์ [44] เฟธโนมอร์ [45] มาริลีน แมนสัน [46] สลิปน็อต [47] และเรจอะเกนสต์เดอะแมชชีน [48] ศิลปินฮาร์ดร็อก กันส์แอนด์โรสเซส [49] เดฟเล็ปเพิร์ด [50] แวนแฮเลน [51] มอตลีย์ครู [52] คิด ร็อก [53] และฟูไฟเตอส์ [54] วงออลเทอร์นาทิฟร็อก เนอร์วานา [55] เรดิโอเฮด [56] มิวส์ [57] เรดฮอตชิลีเพปเปอส์ [58] เจนส์แอดดิกชัน [59] และเดอะสแมชชิงพัมป์กินส์ [60] ศิลปินป็อปร็อก มีต โลฟ [61] เดอะคิลเลอส์ [62] มายเคมิคอลโรแมนซ์ [63] และฟอลล์เอาต์บอย [64] ศิลปินป็อป ไมเคิล แจ็กสัน [65] จอร์จ ไมเคิล [66] ร็อบบี วิลเลียมส์ [67] อะเดล [68] เลดี้ กาก้า [69] เคที เพร์รี [70] เคชา [71] และไซ[72]

นอกจากนี้ ควีนยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ริเริ่มดนตรีแนวสปีดเมทัล โดยเพลง "Stone Cold Crazy" ยังได้ถูกนำไปทำใหม่โดยเมทัลลิกา พร้อมกับได้รางวัลแกรมมี สาขาบันทึกเสียงแนวเมทัลแห่งปีในปี 1991 [73]

ผลงาน

รูปปั้นของเฟรดดีกำลังหันหน้าเข้าหาทะเลสาบเจนีวา ที่มองโทร, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ถูกตั้งไว้ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 1996

อัลบั้มภาคปกติ

วงควีนมีผลงานสตูดิโออัลบั้มทั้งหมด ตั้งแต่อดีตจนถึงอัลบั้มสุดท้าย 15 อัลบั้ม ได้แก่

อัลบั้มรวมเพลง

  • GREATEST HITS (ค.ศ. 1981)
  • GREATEST HITS II (ค.ศ. 1991)
  • THE 12" COLLECTION (ค.ศ. 1992)
  • GREATEST HITS - 1992 US edition (ค.ศ. 1992)
  • CLASSIC QUEEN (ค.ศ. 1992)
  • GREATEST HITS III (ค.ศ. 1999)
  • QUEEN ROCKS (ค.ศ. 1997)
  • STONE COLD CLASSICS (ค.ศ. 2006)
  • THE A–Z OF QUEEN, VOLUME 1 (ค.ศ. 2007)
  • ABSOLUTE GREATEST (ค.ศ. 2009)
  • DEEP CUTS VOLUME 1 (1973 - 1976) / VOLUME 2 (1977 - 1982) / VOLUME 3 (1984 - 1995) (ค.ศ. 2011)
  • ICON (ค.ศ. 2013)
  • QUEEN FOREVER (ค.ศ. 2014)
  • BOHEMIAN RHAPSODY (ค.ศ. 2018) [75]

บันทึกการแสดงสด (Official)

  • LIVE KILLER (ค.ศ. 1979) [76]
  • LIVE IN RIO (ค.ศ. 1986) [77]
  • LIVE MAGIC (ค.ศ. 1986) [78]
  • RARE LIVE - A Concert Through Time And Space (ค.ศ. 1989) [79]
  • LIVE AT WEMBLEY STADIUM (ค.ศ. 1992) [80]
  • ON FIRE : LIVE AT THE BOWL (ค.ศ. 2004) [81]
  • ROCK MONTREAL [82]& LIVE AID (ค.ศ. 2007)[83]
  • HUNGARIAN RHAPSODY [84] (ค.ศ. 2012) [85]
  • LIVE AT RAINBOW '74 [86] (ค.ศ. 2014) [87]
  • A NIGHT AT THE ODEON (ค.ศ. 2015) [88]

สมาชิก

สมาชิกปัจจุบัน
อดีตสมาชิก
สมาชิกร่วม

อ้างอิง

  1. Hodkinson, Mark (2009). "Queen: The Early Years". p.118
  2. "Queen Logo". Famouslogos.net. สืบค้นเมื่อ 28 January 2011.
  3. "Queen Logo". Famouslogos.net. สืบค้นเมื่อ 28 January 2011.
  4. Buckley, Peter (2003) The rough guide to rock p.422. Rough Guides, 2003
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bhsa2
  6. Roberts, David (2006). "British Hit Singles & Albums". London: Guinness World Records Limited. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  7. Whitburn, Joel (2006). "The Billboard Book of Top 40 Hits". Billboard Books. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bhsa
  9. "When Freddie Mercury Met Kenny Everett". (1 June 2002). Channel 4
  10. "Kenny Everett – The best possible way to remember a true pioneer". The Independent. Retrieved 24 January 2015
  11. "A Night at the Opera". Acclaimed Music. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  12. อนึ่ง A Night at the Opera นั้นเดิมทีเป็นชื่อของหนังตลกขาวดำของอเมริกันปี 1935 ของกราโช มาร์กซ ที่เฟรดดีชื่นชอบจนหยิบยืมมาใช้เป็นชื่ออัลบั้มนั่นเอง ในเดือนมีนาคม 1977 ห้าเดือนก่อนที่มาร์กซจะเสียชีวิต ควีนได้เดินทางไปขอบคุณเป็นการส่วนตัว และได้แสดงเพลง "'39" เป็นเวอร์ชันอะแคปเปลลาให้
  13. Roberts, David (2006). "British Hit Singles & Albums". London: Guinness World Records Limited. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  14. Whitburn, Joel (2006). "The Billboard Book of Top 40 Hits". Billboard Books. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  15. Whitburn, Joel (2006). "The Billboard Book of Top 40 Hits". Billboard Books. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  16. "We Are the Champions: Song Review". AllMusic. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  17. "The great rock and roll tour". Daily Mail. London. 23 September 2002. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  18. Donald A. Guarisco, "Don't Stop Me Now". AllMusic. Retrieved 12 July 2011
  19. "RIAA – Gold and Platinum". riaa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2015. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  20. อัลบั้มชุดแรก ๆ ของควีนที่พะยี่ห้อด้วยความภาคภูมิใจว่าไม่ใช้เครื่องดนตรีสังเคราะห์อย่างซินธิไซเซอร์ ด้วยเหตุที่พวกเขาใช้เทคนิคห้องอัด อย่างการอัดเสียงหลาย ๆ แทร็กทับซ้อนกันในการบันทึกเสียง จึงทำให้มีบางเพลงไม่สามารถเล่นสดได้ หรือเล่นไม่ได้ทั้งเพลง อย่างเช่นเพลง Bohemian Rhapsody อย่างที่กล่าวไป วงดนตรีโพรเกรสซีฟร็อกคู่แข่งในยุคนั้นอย่างเยส ที่ใช้ซินธิไซเซอร์อย่างมันมือจึงฉวยโอกาสแขวะคู่แข่งอย่างควีน ด้วยการคุยข่มถึงอัลบั้มของตัวเองบ้างว่าเพลงของพวกเขานั้น "เล่นสดได้ทุกเพลง"
  21. In Pictures: 50 years of pop BBC News Retrieved 17 January 2011
  22. In Pictures: 50 years of pop BBC News Retrieved 17 January 2011
  23. "Queen head all-time sales chart". BBC. 16 November 2006. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  24. "Queen becomes longest reigning chart act". Daily Mail. London. 5 July 2005. สืบค้นเมื่อ 19 March 2011.
  25. "Queen – Hot Space". Stylusmagazine.com.
  26. "Saturday Night Live Season 08 Episode 01 on September 25, 1982 with host Chevy Chase and musical guest Queen". NBC. สืบค้นเมื่อ 6 September 2016.
  27. "Queen Biography 1984". Queenzone.com. สืบค้นเมื่อ 11 August 2011.
  28. Barry Lazell (1989) Rock movers & shakers p.404. Billboard Publications, Inc.,
  29. "Queen win greatest live gig poll". BBC. 9 November 2005. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  30. Light, Alan (3 June 2011). "The Life and Times of Metallica and Queen". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 December 2013.
  31. "RIAA – Gold and Platinum". riaa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2015. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  32. "Queen Wins 3 DVD Platinum Awards". Queenzone.com. 13 June 2005.
  33. "Interview with Brian May". Total Guitar Magazine. December 1998. There was all that time when we knew Freddie was on the way out, we kept our heads down.
  34. Billboard 25 July 1992. p.8. Books.google.com.
  35. Michaels, Sean (20 March 2008). "We will rock you – again". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 16 January 2011.
  36. Jackson, Laura (2002). Queen: The Definitive Biography. London: Piatkus. p. 2. ISBN 978-0-7499-2317-4.
  37. "Queen + Adam Lambert = Saturday night partytime". Sonisphere.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2012. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  38. "Rob Halford Tells Nikki Sixx That Adam Lambert Is Doing An 'Extraordinary' Job Fronting Queen". Blabbermouth.net. 10 July 2014. สืบค้นเมื่อ 8 September 2015.
  39. "Queen, 50 greatest songs as voted for by Maiden, Priest, Kiss, etc". Classic Rock magazine, October 2006.
  40. Erlewine, Stephen Thomas; Prato, Greg. "Metallica". Allmusic. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  41. "Dream Theater: Dragon Attack – A Tribute To Queen". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2010. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  42. "TRIVIUM Frontman: 'If It Weren't For JAMES HETFIELD, I Literally Wouldn't Be Here'". BLABBERMOUTH.NET (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2010-05-13. สืบค้นเมื่อ 2016-04-17.
  43. "The Quietus | Features | Baker's Dozen | Th1rt3en Best: Dave Mustaine Of Megadeth's Favourite Albums". The Quietus. สืบค้นเมื่อ 2016-04-17.
  44. "MP3 David Lee Roth Queen review". สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  45. FNM4EVER 2 (2011-12-17), Faith No More - Making Of Angel Dust (Full), สืบค้นเมื่อ 2016-04-17
  46. Childers, Chad (15 September 2015). "17 Years Ago: Marilyn Manson Goes Glam With 'Mechanical Animals'". Loudwire. Townsquare Media. สืบค้นเมื่อ 30 August 2016.
  47. Sutcliffe, Phil (2009). Queen: the Ultimate Illustrated History of the Crown Kings of Rock (2015 ed.). Minneapolis, MN, USA: Voyageur Press. p. 227. ISBN 978-0-7603-4947-2. Corey Taylor: 'The older I got, the more I got into Queen, and I got into the harmonies, which were just unreal...It was one of those things where you go, 'Man I wish I would've started listening to this earlier.' I think Freddie Mercury was one of the best singers ever lived. I think he would look around at a lot of this stuff today and laugh his ass off 'cause it would be so funny to him. Then again, he'd probably be a god to some of these people because he was such a great frontman, such a good singer, and just incredibly gifted man.'
  48. Sutcliffe, Phil (2009). Queen: the Ultimate Illustrated History of the Crown Kings of Rock (2015 ed.). Minneapolis, MN, USA: Voyageur Press. p. 3. ISBN 978-0-7603-4947-2. Tom Morello: 'There is no band remotely like them. There aren't even imitators that come within a hundred city blocks of Queen, and that can be said about very, very few bands. It's one of the few bands in the history of rock music that was actually best in a stadium. And I miss Freddie Mercury very much.'
  49. Sutcliffe, Phil (2009). Queen: the Ultimate Illustrated History of the Crown Kings of Rock (2015 ed.). Minneapolis, MN, USA: Voyageur Press. p. 3. ISBN 978-0-7603-4947-2. Tom Morello: 'There is no band remotely like them. There aren't even imitators that come within a hundred city blocks of Queen, and that can be said about very, very few bands. It's one of the few bands in the history of rock music that was actually best in a stadium. And I miss Freddie Mercury very much.'
  50. Erlewine, Stephen Thomas. "Def Leppard". Allmusic. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  51. Erlewine, Stephen Thomas. Van Halen AllMusic. Retrieved 28 February 2012
  52. "Queen: The Ultimate Illustrated History of the Crown Kings of Rock". p.27. Voyageur Press, 2009
  53. Sutcliffe, Phil (2009). Queen: the Ultimate Illustrated History of the Crown Kings of Rock (2015 ed.). Minneapolis, MN, USA: Voyageur Press. p. 242. ISBN 978-0-7603-4947-2. Kid Rock: 'I love Queen. The more you listen to Queen, the more you realize, especially if you're a musician, how much of a genius Freddie Mercury was, and Brian May and those guys are.'
  54. Arjun S Ravi (12 October 2007). "They're back: And thank God for the Foo Fighters". Screen Weekly. สืบค้นเมื่อ 2 December 2009.
  55. Byrne, Ciar (21 March 2008). "The last days of Kurt Cobain, in his own words". The Independent. London. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  56. McLean, Craig (18 June 2006). "All messed up". The Guardian. London.
  57. Jonathan Fisher (17 June 2006). "Muse talk to DiS: new album, Western films and WIN! WIN! WIN! / Music News // Drowned In Sound". Drownedinsound.com. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  58. "RHCP's Chad Smith | Modern Drummer Magazine". Modern Drummer Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2016-04-17.
  59. Caplan, B. "Surfing, Pinball, and Weed: Perry Farrell on His Teen Years in Miami". Miami New Times. สืบค้นเมื่อ 2016-04-17.
  60. Erlewine, Stephen Thomas; Prato, Greg. "The Smashing Pumpkins". Allmusic. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  61. "Meat Loaf Influences". All music. Retrieved 13 July 2015
  62. "The Killers channel Queen, Meat Loaf, for new album". Rolling Stone. Retrieved 13 July 2015
  63. Leahey, Andrew My Chemical Romance Allmusic Retrieved 24 January 2011
  64. "Read Fall Out Boy's Loving Green Day Tribute at Rock and Roll Hall of Fame". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ 2016-04-17.
  65. Sutcliffe, Phil (2009). Queen: the Ultimate Illustrated History of the Crown Kings of Rock (2015 ed.). Minneapolis, MN, USA: Voyageur Press. p. 170. ISBN 978-0-7603-4947-2.
  66. Deming, Mark George Michael Allmusic.
  67. People, Sunday. "Robbie Williams turned to Freddie Mercury for tour inspiration". mirror. สืบค้นเมื่อ 2016-04-17.
  68. Sutcliffe, Phil (2009). Queen: the Ultimate Illustrated History of the Crown Kings of Rock (2015 ed.). Minneapolis, MN, USA: Voyageur Press. p. 3. ISBN 978-0-7603-4947-2. Adele: 'I love them. I'm the biggest Queen fan ever...They're the kind of band that's just in your DNA, really. Everyone just knows who they are.'
  69. Dingwall, John (27 November 2009). "The Fear Factor; Lady Gaga used tough times as inspiration for her new album". Daily Record. pp. 48–49. สืบค้นเมื่อ 25 January 2011.
  70. Leahey, Andrew Katy Perry Allmusic Retrieved 25 January 2011
  71. Garland, Emma (January 8, 2017). "Kesha's MySpace Profile from 2008 is Better Than DJ Khaled's Snapchat". Noisey. Vice Media. สืบค้นเมื่อ January 20, 2017.
  72. "His Style Is Gangnam, and Viral Too". New York Times. Retrieved 31 August 2016
  73. Morse, Steve (11 January 1991). "Grammys focus on fresh faces, jilt Madonna" (fee required). The Boston Globe. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ 3 January 2015.
  74. อัลบั้มรวมเพลงประกอบภาพยนตร์ Flash Gordon
  75. อัลบั้มรวมเพลงประกอบภาพยนตร์ BOHEMIAN RHAPSODY
  76. จาก JAZZ TOUR ปี 1979
  77. คอนเสิร์ตช่วง THE WORKS TOUR ปี 1985 เดิมทีวางจำหน่ายในรูปแบบ VHS ปีเดียวกัน ก่อนที่จะนำกลับมาวางจำหน่ายในรูปแบบ DVD ในปี 2013
  78. จาก MAGIC TOUR (A KIND OF MAGIC) ปี 1986
  79. รวมไฮไลท์คอนเสิร์ตต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 1974 จนถึงปี 1986 โดยวางจำหน่ายเฉพาะรูปแบบ VHS
  80. คอนเสิร์ตช่วง MAGIC TOUR ปี ค.ศ. 1986
  81. คอนเสิร์ตช่วง HOT SPACE TOUR ปี ค.ศ. 1986
  82. คอนเสิร์ตช่วง THE GAME TOUR ปี ค.ศ. 1986 ซึ่งเดิมทีวางจำหน่ายในรูปแบบ VHS ในชื่อ WE WILL ROCK YOU เมื่อปี 1982 และได้ทำเป็น DVD ออกมาในปี 1994 และ 2001 ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น ROCK MONTREAL
  83. คอนเสิร์ตปี ค.ศ. 1981 และ ค.ศ. 1985 (LIVE AID / ช่วง THE WORKS TOUR)
  84. คอนเสิร์ตช่วง MAGIC TOUR ปี ค.ศ. 1986 ซึ่งเดิมทีวางจำหน่ายในรูปแบบ VHS ในชื่อ LIVE IN BUDAPEST เมื่อปี 1986
  85. คอนเสิร์ตปี ค.ศ. 1986
  86. เดิมทีเคยถูกบรรจุอยู่ใน BOXSET BOX ON TRICKS ในรูปแบบ VHS เมื่อปี 1992
  87. คอนเสิร์ตช่วง SHEER HEART ATTACK TOUR ปี 1974
  88. คอนเสิร์ตช่วง A NIGHT AT THE OPERA TOUR ปี 1975

แหล่งข้อมูลอื่น