ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าอะเนาะเพะลูน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 96: บรรทัด 96:
{{ตองอู}}
{{ตองอู}}


[[หมวดหมู่:ราชวงศ์ตองอู|ราชวงศ์ตองอู]]
[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ราชวงศ์ตองอู]]
[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ถูกปลงพระชนม์]]
[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ถูกปลงพระชนม์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:03, 20 ธันวาคม 2560

พระเจ้าอโนเพตลุน
พระเจ้ากรุงอังวะ (ถึงพ.ศ. 2156)
พระเจ้ากรุงหงสาวดี (ตั้งแต่พ.ศ. 2156)
พระมหากษัตริย์พม่า
ครองราชย์5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2148 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2171
ก่อนหน้าพระเจ้านยองยาน
ถัดไปพระเจ้ามินแยไดกปา
ประสูติ21 มกราคม พ.ศ. 2121
สวรรคต9 กรกฎาคม พ.ศ. 2171
พระราชบุตรพระเจ้ามินแยไดกปา
พระนามเต็ม
သခင်လတ်
ราชวงศ์ตองอู
พระราชบิดาพระเจ้านยองยาน
พระราชมารดามหาธรรมยาศธิบดีเทวี
ศาสนาพุทธเถรวาท

พระเจ้าอโนเพตลุน (Anaukpetlun - ความหมายแปลตรงตามตัวอักษรแปลได้ว่า พระราชาแห่งทิศตะวันตก สำเนียงพม่าออกเสียงว่า อะเน่าก์แพะหลุ่นมิง) หรืออีกพระนามหนึ่งว่า พระเจ้าอังวะมหาธรรมราชา กษัตริย์พม่าในราชวงศ์ตองอู ในยุคที่สิ้นพระเจ้าบุเรงนองและพระเจ้านันทบุเรงแล้ว ฐานอำนาจของราชวงศ์ตองอูสั่นคลอนเนื่องจากเกิดการกบฏจากพม่าด้วยกันเองในหลายหัวเมือง อีกทั้งการรุกรานจากต่างชาติ เช่น มอญและชาวตะวันตกคือโปรตุเกส พระองค์ทรงเป็นผู้รวบรวมอาณาจักรพม่าให้กลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง แม้ไม่ยิ่งใหญ่เท่าสมัยของพระอัยกาก็ตาม

การขึ้นครองราชย์

พระเจ้าอโนเพตลุนเป็นพระโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้านยองยาน หรือเจ้านะยองรามพระราชโอรสพระองค์เล็กของพระเจ้าบุเรงนอง พระองค์มีศักดิ์เป็นราชนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง

เมื่อพระบิดาประชวรและสิ้นพระชนม์ระหว่างเดินทางกลับจากการยึดแสนหวีมาจากกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2148 พระองค์จึงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้ากรุงอังวะต่อจากพระบิดา

การสงคราม

ในขณะนั้นอาณาจักรตองอูที่เคยยิ่งใหญ่ได้แตกสลายไปหมดแล้ว โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนในสมัยที่พระเจ้านันทบุเรงสิ้นพระชนม์ คือ

  • อังวะ ปกครองโดยพระองค์
  • แปร ปกครองโดยสะโตธรรมราชา ราชบุตรของพระเจ้านันทบุเรง ซึ่งแยกตัวเป็นอิสระจากหงสาวดีตั้งแต่สมัยพระเจ้านันทบุเรง
  • ตองอู ปกครองโดยพระเจ้าตองอู เป็นพระโอรสของพระปิตุลาของพระเจ้านันทบุเรง

พระเจ้าอโนเพตลุนเมื่อรวบรวมไทใหญ่ได้แล้ว ก็ตีเมืองแปรได้ในปี พ.ศ. 2153 แลวให้พระเจ้าทาลุน พระอนุชาปกครองเมืองแปรแทน

ตีเมืองตองอู

พระเจ้าตองอูประชวรถึงแก่พิราลัย พระมหาอุปราชานัดจินหน่อง (พระสังกทัต) ขึ้นเป็นพระเจ้าตองอูแทนพระบิดาเกรงจะต้านทานอังวะไม่ได้จึงส่งทูตมายอมอ่อนน้อมต่อกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2152 รัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ แต่เมื่อพระเจ้าอโนเพตลุนยกทัพมาตีเมืองตองอู สมเด็จพระเอกาทศรถไม่ได้ทรงยกทัพไปช่วยแต่รับสั่งให้พระยาทะละที่ปกครองหัวเมืองมอญทางใต้กับ ฟิลิป เดอ ปริโต ชาวโปรตุเกส เจ้าเมืองสิเรียมซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาสมันนั้นเกณฑ์ไพร่พลมอญไปช่วย แต่ทัพมอญนั้นยกไปช้าทำให้พระเจ้าตองอูนัดจินหน่องยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าอโนเพตลุนใน พ.ศ. 2153

พระเจ้าอโนเพตลุนยรับสั่งให้พระเจ้าตองอูตั้งทัพสกัดทัพมอญ แต่ก็ต้านไม่อยู่จนพระยาทะละกับเดอปริโตไปถึงตองอูจึงเผาเมืองตองอูทิ้ง และให้กวาดต้อนทรัพย์สมบัติผู้คนรวมถึงพระจ้าตองอูลงไปยังสิเรียม พระเจ้าตองอูเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์

ตีเมืองสิเรียม

ต่อมาพระยาทะละกับเดอปริโตแตกคอกันเพราะเดอปริโตทำลายและย่ำยีพระพุทธศาสนาด้วยการรื้อสถูปเจดีย์เพื่อหาสมบัติซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวพม่ามอญรับไม่ได้ ชาวเมืองสิเรียมก็พากันเกลียดชัง พระเจ้าอโนเพตลุนได้โอกาสจึงเสด็จตีเมืองสิเรียมใน พ.ศ. 2155 ครั้งนี้อยุธยาไม่ช่วย เดอปริโตจึงเอาเมืองหงสาวดีไปยกให้รัฐบาลโปรตุเกสแล้วขอทัพเรือมาช่วยแต่มาไม่ทัน พระเจ้าอโนเพตลุนทรงตีเมืองสิเรียมแตกเมื่อ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 พ.ศ. 2156 ทรงจับเดอปริโตไปตรึงกางเขน และกวาดต้อนชาวโปรตุเกสกับพวกลูกครึ่งราว 400 ไปเป็นทาสที่อังวะ ทัพเรือโปรตุเกสมาถึงหลังสิเรียมถูกตีแตกเลยถูกทัพอังวะยึดไว้

ส่วนพระเจ้าตองอูนัดจินหน่อง พระเจ้าอโนเพตลุนเห็นว่าเป็นเชื้อสายราชวงศ์ตองอูเหมือนกัน จึงสั่งให้กลับมานับถือศาสนาพุทธ และสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ พระเจ้าตองอูไม่ยอมจึงถูกประหารฐานกบฏ

สถาปนาราชธานีหงสาวดี

พ.ศ. 2156 พระเจ้าอโนเพตลุนทรงปราบปรามโปรตุเกสจนสิ้นศัตรูในเมืองพม่า ทรงยึดครองและย้ายเมืองหลวงจากอังวะกลับมาหงสาวดีอีกครั้งเหมือนในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง แต่หงสาวดีนั้นร้างมาตั้งแต่สมัยพระเจ้านันทบุเรงเสด็จหนีสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไปประทับที่ตองอู พระราชวังก็ถูกเผาจนเหลือแต่เพียงซากโดยพวกยะไข่ พระเจ้าอโนเพตลุนก็ทรงสร้างได้แต่ก็ทรงสร้างได้แต่พลับพลาที่ประทับ ภายหลังก็ไม่สามารถบูรณะพระราชวังให้เหมือนสมัยก่อนได้

ได้หัวเมืองมอญในอำนาจ

หลังจากทรงย้ายราชธานีมาหงสาวดี พระเจ้าอโนเพตลุนได้ทรงเกลี้ยกล่อมพระยาทะละ ผู้ปกครองหัวเมืองมอญของกรุงศรีอยุธยา จนพระยาทะละยอมอ่อนน้อม จึงทรงแต่งตั้งพระยาทะละเป็นพระยาธรรมราชาให้ครองหัวเมืองมอญฝ่ายใต้ ทรงให้พระยาธรรมราชาส่งบุตรชายคือพระยาพระรามไปรับราชการที่หงสาวดีแทนแล้วทรงส่งตะคะแมงพระอนุชาไปปกครองเมืองเรแทนพระยาพระราม จากนั้นพม่าก็ได้เมืองเมาะตะมะและหัวเมืองมอญเกือบทั้งหมดกลับไปดังเดิม

ศึกทวายตะนาวศรี

ทางกรุงศรีอยุธยาให้เจ้าเมืองทวายยกไปตีเมืองเรจับตะคะแมงได้ พระเจ้าอโนเพตลุนทรงขัดเคืองจึงยกทัพ 40,000 คนเสด็จไปตีทวายด้วยพระองค์เองในเดือนยี่ พ.ศ. 2156 ทรงตีเมืองทวายแตก จากนั้นทรงยกทัพมาตีตะนาวศรีของกรุงศรีอยุธยา แต่ก็มีกองทัพอยุธยากับโปรตุเกสต้านไว้ พระเจ้าอโนเพตลุนทรงรอดกลับไปที่เมาะตะมะ อยุธยาชนะศึกเมืองตะนาวศรีแล้วก็ยึดคืนเมืองทวายกลับมาได้

ศึกล้านนา

พระเจ้าอโนเพตลุนทรงเคลื่อนทัพออกจากเมาะตะมะเมื่อเดือน 11 พ.ศ. 2157 ไปตีล้านนาเพราะล้านนาอยู่ในความวุ่นวาย เมื่อทรงยกทัพไปถึงลำพูน พระเจ้าเชียงใหม่สะโดะกะยอทรงทิ้งเมืองเชียงใหม่กวาดต้อนผู้คนมาอยู่ลำปาง จนเสบียงร่อยหรอแต่ก็ทรงอยู่จนพระเจ้าเชียงใหม่สิ้นพระชนม์ขุนนางล้านนาจึงยอมแพ้ พระเจ้าอโนเพตลุนทรงตั้งพระยาน่านเป็นพระเจ้าเชียงใหม่แล้วทรงยกทัพกลับไปหงสาวดี

แต่กองทัพอยุธยายกไปถึงภายหลัง ล้านนาก็กลับไปเข้าข้างไทยและไล่ขุนนางพม่าไปหมด ต่อมาใน พ.ศ. 2161 อยุธยากับพม่าทำสัญญาเลิกทำสงครามต่อกันโดยอยุธยายกเมืองเมาะตะมะให้พม่า ส่วนพม่าก็ยกเชียงใหม่ให้อยุธยา

พระอนุชา

พระเจ้าอโนเพตลุนมีพระอนุชา 2 พระองค์คือ

  • พระเจ้าทาลุน หรือพระเจ้าสุทโธธรรมราชา ครองเมืองแปร
  • มังรากะยอชวา ครองเมืองอังวะ

การเสด็จสวรรคต

พระเจ้าอโนเพตลุนทรงประทับอยู่ที่หงสาวดีจนถึง พ.ศ. 2169 โหรทูลว่าพระเคราะห์ร้าย ขอให้แปรพระราชฐานไปอยู่ที่อื่น พระองค์จึงข้ามแม่น้ำไปตั้งพลับพลาอยู่นอกเมืองหงสาวดีแล้วทรงประทับอยู่ป็นเวลา 2 ปี

ใน พ.ศ. 2171 พระเจ้าอโนเพตลุนทรงทราบว่ามังเรทิป พระโอรสลักลอบเป็นชู้กับนางสนม พระองค์ถูกมังเรทิปลอบปลงพระชนม์ ทรงอยู่ในราชสมบัติได้ 23 ปี มังเรทิปเองก็ถูกประหารโดยพระอนุชาของพระเจ้าอโนเพตลุนเอง ซึ่งขึ้นครองราชย์ต่อ คือ พระเจ้าทาลุน

อ้างอิง

  • ประวัตินัดจินหน่อง
  • ไทยรบพม่า เล่ม 1 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำนักงานพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ จัดพิมพ์จำหน่าย พ.ศ. 2546
ก่อนหน้า พระเจ้าอะเนาะเพะลูน ถัดไป
พระเจ้านยองยาน พระมหากษัตริย์พม่า
(อาณาจักรพม่ายุคที่ 2)

(พ.ศ. 2148 - พ.ศ. 2171)
พระเจ้ามินแยไดกปา