ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกิลส์เจเนอเรชัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wutzwz (คุย | ส่วนร่วม)
TWICE (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 174: บรรทัด 174:
|{{Flag|เกาหลีใต้ }}
|{{Flag|เกาหลีใต้ }}
| หัวหน้าวง, นักร้องเสียงหลัก
| หัวหน้าวง, นักร้องเสียงหลัก
| ศิลปินเดี่ยว
| ศิลปินเดี่ยว, นักแสดง
|-
|-
|ซันนี
|ซันนี
บรรทัด 181: บรรทัด 181:
| {{Flag|USA}}{{Flag|เกาหลีใต้ }}
| {{Flag|USA}}{{Flag|เกาหลีใต้ }}
| นักร้องนำ
| นักร้องนำ
| นักแสดง
| -
|-
|-
|ทิฟฟานี
|ทิฟฟานี

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:07, 5 ธันวาคม 2559

เกิลส์เจเนอเรชัน
เกิลส์เจเนอเรชัน ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2015 จากซ้ายไปขวายืน: ซันนี, ยูรี, ยุนอา, ซอฮย็อน และแทย็อน จากซ้ายไปขวาคุกเข่า: ซูย็อง, ทิฟฟานี และฮโยย็อน
เกิลส์เจเนอเรชัน ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2015 จากซ้ายไปขวายืน: ซันนี, ยูรี, ยุนอา, ซอฮย็อน และแทย็อน จากซ้ายไปขวาคุกเข่า: ซูย็อง, ทิฟฟานี และฮโยย็อน
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดโซล, ประเทศเกาหลีใต้
แนวเพลง
ช่วงปี2007–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
สมาชิก
อดีตสมาชิกเจสสิกา
เว็บไซต์girlsgeneration.smtown.com
ชื่อเกาหลี
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Sonyeo Sidae
เอ็มอาร์Sonyŏ Sidae

เกิลส์เจเนอเรชัน (เกาหลี: 소녀시대 Sonyeo Shidae; อังกฤษ: Girls' Generation) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ เอสเอ็นเอสดี หรือ โซชิ (소시) ซึ่งย่อมาจากชื่อของกลุ่มในภาษาเกาหลี เป็นกลุ่มนักร้องหญิงของประเทศเกาหลีใต้ สังกัดค่ายเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ในปี พ.ศ. 2550[1][2] ประกอบไปด้วยสมาชิกจำนวนแปดคนคือ แทย็อน, ซันนี, ทิฟฟานี, ฮโยย็อน, ยูรี, ซูย็อง, ยุนอา และซอฮย็อน (ในอดีตมีสมาชิกเก้าคน อีกหนึ่งคนคือ เจสสิกา ออกจากกลุ่มในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557)[3][4]

ในเบื้องแรก เกิลส์เจเนอเรชันได้รับความสนใจระดับหนึ่งจากผลงานเพลงบางเพลง เช่น "อินทูเดอะนิวเวิลด์" และ "คิสซิงยู" จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2552 พวกเธอได้รับความนิยมอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเพลง "จี" ติดตลาดและได้รับการขนานนามว่าเป็น "เพลงแห่งทศวรรษ" ประจำเกาหลีใต้[5] กลุ่มเกิลส์เจเนอเรชันมีสถานะมั่นคงในอุตสาหกรรมดนตรีเกาหลีใต้มากขึ้นเมื่อเผยแพร่เพลงถัด ๆ มาในช่วงปี พ.ศ. 2553–2554 คือ "เทลมียัวร์วิช", "โอ!", "รันเดวิลรัน" และ "ฮูต" ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 กลุ่มได้เริ่มดำเนินการตลาดในประเทศญี่ปุ่นอยู่ระยะหนึ่งจึงกลับไปบ้านเกิดเมืองนอนแล้วเผยแพร่เพลง "เดอะบอยส์" ซึ่งได้รับการปล่อยตัวถึงสามภาษาคือ เกาหลี ญี่ปุ่น และอังกฤษ ซึ่งนับเป็นเพลงภาษาอังกฤษเพลงแรกของกลุ่มอีกด้วย ในช่วงห้าปีที่ผ่านมากลุ่มมียอดขายรวม 4.4 ล้านอัลบั้ม และ 30 ล้านซิงเกิล[6][7] จากความนิยมที่พุ่งสูงขึ้นในเกาหลีใต้เป็นเหตุให้กลุ่มอยู่ในรายชื่อ "นักร้องประจำชาติ" และ "กลุ่มนักร้องหญิงแห่งชาติ"[8] โพลซีซา ยังจัดให้กลุ่มอยู่ในรายชื่อ "ผู้สร้างความบันเทิงที่มีอิทธิพลมากที่สุด" ประจำปี พ.ศ. 2554 และ 2555 ซึ่งสร้างประวัติศาสตร์เป็นกลุ่มนักร้องหญิงกลุ่มแรกที่อยู่ในรายชื่ออีกด้วย[9]เอเชียทูเดย์ ยังจัดให้กลุ่มอยู่อันดับที่ 44 จาก 50 ในรายชื่อ "ผู้ทรงอิทธิพลในเกาหลี" ประจำปี พ.ศ. 2554[10] นิตยสาร ฟอบส์ ยังกล่าวถึงเกิลส์เจเนอเรชันว่าเป็น "ผู้สร้างความบันเทิงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในเกาหลีใต้" ในปี พ.ศ. 2554[6]

เกิลส์เจเนอเรชัน ได้เดบิวต์ที่ญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2553 ภายใต้การดูแลของค่ายนะยุตะเวฟ โดยการปล่อยเวอร์ชันญี่ปุ่นจากเพลงฮิตของพวกเธออย่าง "เทลมียัวร์วิช" และ "จี" อัลบั้มชุดแรกในญี่ปุ่นของพวกเธอ เกิลส์เจเนอเรชัน ออกจำหน่ายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ซึ่งกลายเป็นอัลบั้มโดยกลุ่มนักร้องเกาหลีที่มียอดขายมากที่สุดในประวัติศาสตร์บนชาร์ตออริคอนอีกด้วย[11]

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 เกิลส์เจเนอเรชันได้ขยายอุตสาหกรรมโดยตั้งกลุ่มย่อยชื่อ "เกิลส์เจเนอเรชันทีทีเอส" หรือเรียกโดยย่อว่า "แททิซอ" (TaeTiSeo) มีสมาชิกคือ แทย็อน ทิฟฟานี และซอฮย็อน เปิดตัวด้วยอัลบั้ม ทวิงเกิล สามารถขึ้นสูงสุดเป็นอันดับที่ 126 บนบิลบอร์ด 200 ซึ่งเป็นอันดับที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาในอัลบั้มเคป๊อปขณะนั้น[12]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 กลุ่มกลับคืนสู่วงการเพลงเกาหลีด้วยการออกสตูดิโออัลบั้มชุดที่หกของพวกเธอ ไอก็อตอะบอย ซึ่งกลายเป็นเพลงฮิตอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศและทั่วโลก[13] เปิดตัวอันดับหนึ่งบนชาร์ต บิลบอร์ด "เวิลด์อัลบั้ม"[14] ตามมาด้วยการแสดงสดและทัวร์คอนเสิร์ต เกิลส์แอนด์พีซ: เจแปนเซคันด์ทัวร์ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556[15]

ที่มาของชื่อ

ชื่อของกลุ่มในภาษาเกาหลีคือ โซนยอชิแด (เกาหลี: 소녀시대) ซึ่งเป็นคำรากศัพท์ แปลเป็นภาษาเกาหลีว่า "ยุคของหญิงสาว" พวกเธอยังเป็นที่รู้จักในชื่อ โซชิ (소시) หรือ เอสเอ็นเอสดี ซึ่งชื่อทั้งสองถูกเรียกแบบย่อมาจากชื่อของกลุ่มในภาษาเกาหลี[16] และเนื่องจากชื่อของกลุ่มมีคำยืมจากภาษาจีน ทำให้ชื่อของกลุ่มในจีนและญี่ปุ่นคล้ายคลึงกัน ในญี่ปุ่นชื่อของกลุ่มออกเสียงว่า โชโจจิได (ญี่ปุ่น; 少女時代)[17] ส่วนในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า เช่านฺหวี่ฉือไต้ (จีน: 少女时代)[18]

ประวัติ

2000–08: การเปิดตัว

การก่อตั้งของเกิลส์เจเนอเรชันได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 มีการประกาศรายละเอียดชื่อของสมาชิกแต่ละคนอย่างเป็นทางการ ในตอนแรกนั้น ชื่อของกลุ่มคือ ซูเปอร์เกิลส์ เป็นซูเปอร์จูเนียร์เวอร์ชันผู้หญิง[19] ก่อนจะเปลี่ยนเป็น เกิลส์เจเนอเรชัน ในภายหลัง สมาชิกในกลุ่มส่วนหนึ่งได้รับการฝึกฝนเป็นนักเต้นและนักร้องมืออาชีพจากค่ายเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ บางส่วนเคยมีผลงานด้านการแสดงและนางแบบ ตลอดจนมีประสบการณ์การถ่ายโฆษณาในโทรทัศน์และนิตยสาร

สมาชิกคนแรกเกิดจากการฝึกฝนเป็นศิลปินฝึกหัดของค่ายเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ ซึ่งก็คือเจสสิกา ในปี พ.ศ. 2543 หลังจากที่เธอและน้องสาวของเธอ คริสตัล ช็อง (ตอนนี้เป็นสมาชิกของเอฟ(เอกซ์)) ถูกพบโดยแมวมองในห้างสรรพสินค้า ขณะกำลังพักผ่อนในเกาหลี[20] ตามมาด้วยซูย็องและฮโยย็อนได้เข้าสู่ค่ายเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์จากการออดิชันในปี พ.ศ. 2543 ก่อนหน้านี้ฮโยย็อนเคยเรียนเต้นใน วินเนอร์แดนซ์สคูล เป็นโรงเรียนสอนเต้นในเกาหลีใต้ที่เป็นที่รู้จักกันในด้านฮิปฮอป[21][22] ส่วนซูย็องเคยเปิดตัวที่ญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2545 ในฐานะสมาชิกดูโอของวง รูตเทตา (Routeθ) ซึ่งวงยุบลงหลังจากก่อตั้งได้เพียงหนึ่งปี[23] ยูรีเป็นสมาชิกคนต่อไปที่ได้เข้าสู่ค่ายเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ จากการประกวดเต้น เอสเอ็มเบสท์แดนเซอร์ 2001 ยุนอาเข้ามาในปี พ.ศ. 2545 จากการออดิชันโดยการร้องและเต้นเพลงของนักร้องที่เธอชื่นชอบคือ โบอาและบริตนีย์ สเปียส์[24] ปีถัดมา ซอฮย็อนถูกทาบทามให้ไปออดิชันกับทางค่ายเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ ในรายการ เอสเอ็มแคสติงซิสเต็ม 2003 จนผ่านการคัดเลือก[25]

แทย็อนเข้ามาในปี พ.ศ. 2547 หลังจากชนะเลิศจากการประกวดร้องเพลงในรายการ เอสเอ็มอะคาเดมีซิงกิงคอมเพติชัน 2004[26][27] ในปีเดียวกันนั้น ทิฟฟานีได้แข่งร้องเพลงตามระบบการแข่งขันกับทางเอสเอ็มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ หลังถูกทาบทามที่ลอสแอนเจลิส และร่วมงานกับบริษัทในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547[28][29] และสมาชิกคนสุดท้าย ซันนี เป็นศิลปินฝึกหัดกับทางสตาร์ไลท์ในปี พ.ศ. 2541 ได้รับการฝึกนานถึงห้าปีก่อนจะได้ย้ายเข้าไปอยู่ที่สตาร์เวิลด์ ที่ซึ่งเธอได้ฝึกฝนเป็นศิลปินดูเอ็ตที่ชื่อว่า "ชูการ์" แต่ในท้ายที่สุดก็ไม่ได้เปิดตัว จนในปี พ.ศ. 2550 ซันนีย้ายไปเอสเอ็มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ตามคำแนะนำของไอโคนิก[30]

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 เกิลส์เจเนอเรชันได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกอย่างไม่เป็นทางการในรายการ เอ็มเน็ตสคูลออฟร็อค โดยเพลงที่ใช้แสดงคือซิงเกิลชุดแรกของพวกเธอที่ชื่อ "อินทูเดอะนิวเวิลด์" (다시 만난 세계; Dasi mannan segye)[31] ในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 รายการเรียลลิตีโชว์แนะนำตัวของเกิลส์เจเนอเรชันชื่อ เกิลส์เจเนอเรชันโกส์ทูสคูล เผยแพร่ทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกทางช่องเอ็มเน็ต มีเนื้อหาเกี่ยวกับสมาชิกแต่ละคนภายในวง ตั้งแต่การย้ายเข้าไปอาศัยที่อพาร์ทเมนท์ร่วมกัน ตลอดจนการฝึกซ้อมการแสดงบนเวที

เกิลส์เจเนอเรชันที่ราชมังคลากีฬาสถานในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ซิงเกิลแรกของเกิลส์เจเนอเรชัน "อินทูเดอะนิวเวิลด์" ได้ออกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรกในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และยังมีสองเพลงอื่น ๆ อย่าง "บีกินนิง" และ "อ็อกเทฟฟอร์ยู" เกิลส์เจเนอเรชันเปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยปรากฏในรายการ อินกีกาโย ทางช่องเอสบีเอส[32] ตามมาด้วยการปรากฏตัวในรายการ มิวสิคคอร์ ทางช่องเอ็มบีซี และ มิวสิกแบงก์ ทางช่องเคบีเอส "อินทูเดอะนิวเวิลด์" ยังได้เป็นเพลงอันดับหนึ่งประจำเดือนตุลาคมในรายการ เอ็ม เคาต์ดาวน์ แซงเพลง "ไลส์" ของวงบิกแบงอีกด้วย

หลังจากนั้นไม่นาน เกิลส์เจเนอเรชันปล่อยสตูดิโออัลบั้มชุดแรกโดยตั้งชื่อกลุ่มให้เป็นชื่ออัลบั้มในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยมีเพลง "เกิลส์เจเนอเรชัน" (소녀시대, Sonyeo Sidae) เป็นซิงเกิลหลัก ซึ่งรีเมคจากเพลงในปี พ.ศ. 2532 ของอี ซึง-ช็อล การประชาสัมพันธ์เริ่มต้นขึ้นในต้นเดือนพฤศจิกายน อัลบั้มนี้ยังได้รวมซิงเกิล "อินทูเดอะนิวเวิลด์", "อ็อกเทฟฟอร์ยู" (เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ฮันนี") ของพวกเธอไว้อีกด้วย โดยมีซิงเกิลจากอัลบั้มนี้กว่า 11 ซิงเกิล และมียอดขายมากกว่า 100,000 ชุด [33]

ในปี พ.ศ. 2551 เกิลส์เจเนอเรชันเริ่มส่งเสริมซิงเกิลที่สอง "คิสซิงยู" ด้วยการแสดงสดในรายการ อินกิกาโย และ เอ็ม เคาต์ดาวน์ เพลงเปิดตัวที่อันดับหนึ่งทั้งสองรายการ[34] ด้วยยอดขาย 56,804 ชุดในเกาหลีใต้[35] และขายได้มากกว่า 120,000 ชุดในปี พ.ศ. 2552[36] รวมถึงทำให้กลุ่มชนะรางวัลฮอตสวีทมิวสิกอวอร์ด จากงานเอ็มเน็ตทเวนตีส์ชอยส์อวอร์ดส์[37] ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551 เกิลส์เจเนอเรชันออกซิงเกิลที่สี่ "เบบีเบบี" เป็นซิงเกิลนำของอัลบั้มรีแพคเกจในชื่อเดียวกัน[38] และเพื่อเป็นการส่งเสริมอัลบั้ม ทางกลุ่มได้แสดง "เบบีเบบี" ในรายการ มิวสิคคอร์, อินกิกาโย และ เอ็ม เคาต์ดาวน์ ในเดือนมีนาคมและเมษายน การส่งเสริมอัลบั้มชุดนี้จบลงในวันที่ 13 เมษายนในรายการ อินกิกาโย[39]

หลังจากนั้น เกิลส์เจเนอเรชันมีรายการเรียลลิตีโชว์ชื่อ แฟกทอรีเกิลส์ ที่บอกเล่าเรื่องราวของสมาชิกที่ได้ทำงานเป็นเด็กฝึกงานให้กับนิตยสาร เอลเกิลส์[40] รายการออกอากาศในต้นเดือนตุลาคมทางช่องเอ็มเน็ต[41] ณ สิ้นปี พ.ศ. 2551 กลุ่มได้ทัวร์คอนเสิร์ต เอสเอ็มทาวน์ไลฟ์ '08 ร่วมกับศิลปินในเอสเอ็มทาวน์ เช่น โบอา, ทงบังชินกี, เดอะเกรซ, ซูเปอร์จูเนียร์, จาง ลี่อิ่น และชายนี ซึ่งการทัวร์ครั้งนี้ได้ไปเยือน 3 ประเทศได้แก่ เกาหลีใต้, ไทย และจีน

ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โปสเตอร์ของเกิลส์เจเนอเรชันที่แสดงให้เห็นถึงสมาชิกสวมใส่รองเท้าสเกตในสถานที่ต่าง ๆ ในกรุงโซลได้ถูกเผยแพร่ออกไป ซึ่งทางเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ให้การยืนยันว่า โปสเตอร์เป็นของจริงแน่นอนและเกิลส์เจเนอเรชันจะปล่อยมินิอัลบั้มแรกของพวกเธอชื่อ จี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552[42]

2009–10: ประสบความสำเร็จและการเปิดตัวในญี่ปุ่น

เกิลส์เจเนอเรชันในงานไซเวิลด์ดิจิตอลมิวสิกอวอร์ดส์ 2009

แม้ว่าจะโดนกระแสแอนตี้เป็นอย่างมากในช่วงปี 2008 แต่ในต้นปี 2009 เกิลส์เจเนอเรชันก็ได้ออกมินิอัลบั้มชุดที่ 1 โดยมีซิงเกิลโปรโมตชื่อว่า Gee ทันทีที่เพลงนี้ออกมาก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพลงไต่อันดับคว้าอันดับ 1 ได้ในหลายชาร์ต ก่อให้เกิดกระแส Gee Syndrome ไปทั้งประเทศ แม้แต่ในรายการ KBS Music Bank ซึ่งในขณะนั้น SM กำลังมีข้อพิพาทกับ KBS ส่งผลให้เกิลส์เจเนอเรชันไม่สามารขึ้น แสดงที่เวทีนี้ได้เป็นเวลา 3 สัปดาห์ แต่ก็สามารถคว้าอันดับที่ 1 มาได้แม้ไม่ได้ขึ้นเวที ต่อมาหลังจาก SM สะสางข้อพิพาทกับข้อพิพาทกับ KBS ได้แล้ว เกิลส์เจเนอเรชันจึงได้ขึ้นแสดงที่ Music Bank ในปลาย เดือนมกราคม และสามารถคว้าแชมป์ได้ 9 สัปดาห์ติดต่อกัน ทำลายสถิติเพลง One More Time ของ Jewelry ที่ทำไว้ที่ 7 สัปดาห์ นอกจากนี้เกิลส์เจเนอเรชันยังสามารถครองแชมป์ที่รายการ SBS Inkigayo ได้ ติดต่อกันถึง 3 ครั้ง (ทางสถานี SBS กำหนดให้การเป็นแชมป์ติดต่อกันได้สูงสุดเพียง 3 ครั้ง)

กระแสความนิยมของเกิลส์เจเนอเรชันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการเชิญเกิลส์เจเนอเรชันไปออกรายการต่างๆมากมาย จนเกิลส์เจเนอเรชันได้รับฉายาว่า เกิร์ลกรุ๊ปแห่งชาติและขึ้นสู่ตำแหน่งเกิร์ลกรุ๊ปอันดับ 1 ของเกาหลีใต้ได้ อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันแฟชั่นกางเกงยีนส์สีสันสดใสในเพลง Gee ก็กลายเป็นที่นิยมไปทั่วประเทศ เกิลส์เจเนอเรชันสามารถทำยอดขายในชุดนี้ได้เกิน 100,000 ชุด แม้จะเป็นเพียงแค่มินิอัลบั้มเท่านั้น ทั้งนี้ถือได้ ว่า SM Entertainment ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาดได้เป็นอย่างดี

ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2009 เกิลส์เจเนอเรชันได้มาแสดงใน SM Town Live'08 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และนั่นทำให้พวกเธอได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย และพวกเธอได้มาเมืองไทย อีกครั้งเพื่อร่วมแสดงในงาน Pattaya International Music Fesitval 2009 ในเดือนมีนาคม

เกิลส์เจเนอเรชันได้ยุติการโปรโมตในมินิอัลบั้มชุดแรกในเดือนมีนาคม แต่หลังจากนั้นปลายเดือนมิถุนายน พวกเธอก็กลับมาพร้อมกับมินิอัลบั้มชุดที่ 2 ที่มีซิงเกิลโปรโมตชื่อว่า Tell Me Your Wish (Genie) พร้อมลุคใหม่ชุดทหารกางเกงขาสั้น เพลง Tell Me Your Wish นั้น ได้ออกให้ฟังออนไลน์ในวันที่ 22 มิถุนายน 2552 ในเวลา 10 โมงเช้า และหลังจากนั้นเพียงแค่ 1 ชั่วโมง 40 นาที ก็สามารถพุ่งทะยานขึ้นสู่อันดับหนึ่งในชาร์ตเพลง Cyworld ทันที พวกเธอใช้เวลาไม่ถึง 2 ชั่วโมง ในการเอาชนะเพลงทั้งหมดในชาร์ต แม้ว่ามินิอัลบั้มชุดนี้จะมีปัญหาเรื่องหน้าปกที่ผู้วิจารณ์ว่ามีการนำรูป เครื่องบินรบมาใส่ไว้ตรงหน้าปก ทำให้ต้องมีการเลื่อนวางจำหน่าย และยังมีปัญหามีการละเมิดลิขสิทธิเพลงนี้ของนักร้องชาวอุซเบกิสถาน (ซึ่งภายหลังได้รับการพิสูจน์และยืนยันจากต้นสังกัด และบริษัทเจ้าของซาวน์เพลงแล้วว่า ฉบับของนักร้องชาวอุซเบกิสถานนั้นเป็นฉบับที่ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ในกรณีของเกิลส์เจเนอเรชัน ทาง SM Ent. ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย) แต่ Tell Me Your Wish (Genie) ก็ไม่ได้ลดความร้อนแรงลง โดยเฉพาะซิงเกิลนี้สามารถคว้าแชมป์ KBS Music Bank ด้วยสถิติคะแนนสูงสุดถึง 17,995 คะแนน เอาชนะสถิติเดิมเพลง Mirotic ของ TVXQ ที่ทำไว้ที่ 16,404 ไปได้ ขณะที่ยอดขายของมินิอัลบั้มชุดนี้ก็ทะลุ 100,000 แผ่นอีกครั้ง (โดยใช้เวลาแค่เพียง 1 เดือนหลังจากวางขาย) นับเป็นศิลปินหญิงเพียงกลุ่มเดียวที่สามารถทำสถิติยอดขายเกินหนึ่งแสนชุดได้ถึง 3 อัลบั้มติดต่อกัน

เกิลส์เจเนอเรชันได้ยุติการโปรโมตมินิอัลบั้มชุดที่ 2 หลังจากทำกิจกรรมโปรโมตไปประมาณ 2 เดือน และเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2009 ในงาน Dream Concert 2009 พวกเธอก็ได้ลบกระแสต่อต้านได้จากการที่โซว็อนในงานหลายพันคน เปิดแท่งไฟสีชมพูซึ่งเป็นสีประจำวง และส่งเสียงเชียร์เกิลส์เจเนอเรชันเป็นหนึ่งเดียว

ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ปี 2009 ต้นสังกัดอย่าง SM Entertainment ได้ออกประกาศเกิลส์เจเนอเรชันกำลังจะมีคอนเสิร์ตเดี่ยวเต็มรูปแบบครั้งแรกในชื่อ Girls’ Generation The 1st Asia Tour ‘Into The New World’ จัดที่สนามกีฬาโซล เกาหลีใต้ในวันที่ 19-20 ธันวาคม 2009 และจะมีเอเชียทัวร์ตามเมืองต่าง ๆ ได้แก่ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน โดยในวันแรกที่เปิดจองบัตรที่เกาหลี บัตรคอนเสิร์ตก็ได้หมดลงภายในเวลาแค่ 3 นาที

2011–12: ประสบความสำหรับในญี่ปุ่น, เดอะบอยส์ และการขยายตัวระหว่างประเทศ

หลังจากที่ปี 2009 เกิลส์เจเนอเรชันได้สร้างกระแส Gee และ Genie จนโด่งดังเป็นอย่างมาก ไปจนถึงคอนเสิร์ตเดี่ยวครั้งแรกก็ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ต้นสังกัด SM Entertainment จึงประกาศว่าเกิลส์เจเนอเรชันกำลังจะออกอัลบั้มเต็มชุดที่ 2 ในชื่อ Oh! กับภาพลักษณ์ที่โตขึ้นกว่าเดิมที่ดูเปรี้ยวขึ้น โดยมีกำหนด Comeback ในวันที่ 28 มกราคม 2010 และขึ้นเวทีเปิดตัวอัลบั้มเต็มชุดที่ 2 ในวันที่ 30 มกราคม 2010 โดยเมื่อทีเซอร์อัลบั้มนี้ออกมาเมื่อวันที่ 22 มกราคม เว็บไซต์ที่ออกทีเซอร์นี้ออกมาถึงกับล่มเพราะมีผู้เข้าชมจำนวนมาก และเมื่อเพลง Oh! ได้ออกให้ดาวน์โหลดเมื่อวันที่ 25 มกราคม เพลงนี้ก็สามารถขึ้นสู่อันดับ 1 ของชาร์ตเรียลไทม์ในเกาหลีในเวลาแค่ 10 นาที ถือเป็นสถิติที่ดีที่สุดของเกิลส์เจเนอเรชัน และหลังจากที่อัลบั้มชุดนี้วางขายได้แค่ 1 เดือนก็สามารถทำยอดขายได้ทะลุ 120,000 แผ่นเลยทีเดียว

ในเดือนมีนาคม 2010 ต้นสังกัด SM Entertainment ได้ออกภาพ Black Soshi ซึ่งได้ทิ้งปริศนาไว้ในท้าย MV เพลง Oh! ซึ่งแบล็ค โซชิก็คือ คอนเซปต์หลักของอัลบั้ม Repackage ของอัลบั้มชุดนี้ โดยที่เกิลส์เจเนอเรชันได้ปรากฏตัวในชุดสีดำสุดเซ็กซี่ โดยมีเพลงไตเติ้ลคือ Run Devil Run ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างงดงามไม่แพ้เพลง Oh! ถึงแม้จะมีปัญหาจากการที่แอนตี้แฟนออกมากล่าวหาว่าก๊อปปี้เพลงของแคชช่า ซึ่งต้นสังกัดอย่าง SM Entertainment ก็ได้ออกมาชี้แจงว่า ฉบับของแคชช่าเป็นแค่เพลง Demo ซึ่งแคชช่าร้องไกด์ให้ผู้ที่สนใจซื้อลิขสิทธิ์ไปใช้ ส่วนของเกิลส์เจเนอเรชันเป็นฉบับจริงที่นำออกมาโปรโมทจริงๆ อย่างไรก็ตาม Run Devil Run ก็เหมือนกับ Tell Me Your Wish (Genie) คือ ไม่ได้ลดความร้อนแรงและโด่งดังลงไปเลย

หลังจากสิ้นการโปรโมทอัลบั้มเต็มชุดที่ 2 แล้ว SM Entertainment ต้นสังกัดที่วางแผนให้ เกิลส์เจเนอเรชัน เตรียมเดบิวต์โปรโมตที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ในการเดบิวต์ที่ญี่ปุ่น เกิลส์เจเนอเรชันได้เซ็นสัญญากับ NAYUTAWAVE RECORDS ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Universal Music Japan โดยใช้ชื่อว่า '少女時代' (อ่านว่า โชว-โจ-จิ-ได) ซึ่งวันที่ 11 สิงหาคม ได้เปิดตัวด้วย DVD ชุด 少女時代到来~初来日記念盤 (New Beginning of Girls' Generation) อีกทั้งจะมีงานโชว์เคส คอนเสิร์ตในวันที่ 25 สิงหาคม ที่ Ariake Coliseum ในกรุงโตเกียว ซึ่งจัดแสดงอยู่ 3 รอบด้วยจำนวนผู้ชมกว่า 21,000 คน ตามด้วยวันที่ 8 กันยายน ซิงเกิลเดบิวต์ Tell Me Your Wish (Genie) เวอร์ชันญี่ปุ่น โดยสามารถทำยอดจำหน่ายการได้เกิน 100,000 แผ่น และในวันที่ 20 ตุลาคม ก็ได้ออก ซิงเกิลชุดที่ 2 Gee เวอร์ชันญี่ปุ่น ซึ่งเรียกกระแสตอบรับทั้งในญี่ปุ่นและทั่วโลกอย่างล้นหลาม นอกจากนี้กระแสตอบรับการเดวบิวต์ที่ญี่ปุ่นของเกิลส์เจเนอเรชัน ยังเป็นที่ฮือฮาในประเทศไต้หวัน จนเป็นกระแส โซชิซินโดรม ซึ่งเพลง Genie ได้ขึ้นไปติดที่ 1 ของชาร์ตเพลงในไต้หวันถึง 2 ชาร์ตเลยทีเดียว

ในวันที่ 27 ตุลาคม ทาง SM Entertainment ได้ออกมินิอัลบัมชุดที่ 3 ในชื่อ Hoot (훗) โดยได้ออกซิงเกิล Hoot ในวันที่ 25 ตุลาคม เวลา 10.00 น. ทางเว็บไซต์เพลงออนไลน์ โดยหลังจากออกซิงเกิลนี้ไม่ถึง 7 นาที ก็ได้ทะยานขึ้นไปใน 7 ชาร์ตเพลงหลักของเกาหลี วันรุ่งขึ้น SM Entertainment ก็ได้ออกมิวสิกวิดีโอ เพลง Hoot ทางหน้าแรกของ SM และทาง Youtube โดยมิวสิกวิดีโอเพลงนี้ยังได้ ซีว็อน วงซูเปอร์จูเนียร์ มาร่วมแสดงด้วย ต่อมา ในไม่ถึง 24 ชั่วโมงหลังจากที่ออกมิวสิกวิดีโอไป ก็มียอดผู้ชมมากกว่า 1 ล้านครั้งใน Youtube

เดือนมกราคมปี 2011 Universal Music ต้นสังกัดในญี่ปุ่นได้ออกดิจิตอลซิงเกิลใหม่คือเพลง Run Devil Run ในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่น โดยออกในลักษณะ Ringtone และในเดือนมีนาคม Universal Music ก็ประกาศว่าเกิลส์เจเนอเรชันจะออกซิงเกิลภาษาญี่ปุ่นอย่างเต็มตัวในชื่อ Mr.Taxi โดยมีเพลง Run Devil Run เวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วย ในวันที่ 13 เมษายน แต่เนื่องจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ส่งผลให้การวางจำหน่ายซีดีซิงเกิลต้องเลื่อนออกไป โดยได้ออกดาวน์โหลดเพลง Mr.Taxi และออก MV เพลง Run Devil Run เวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นออกมาในช่วงกลางเดือนเมษายน และมีกำหนดวางแผ่นซีดีซิงเกิลในวันที่ 27 เมษายน

ในเดือนมิถุนายน เกิลส์เจเนอเรชันได้วางจำหน่ายอัลบั้มเต็มภาษาญี่ปุ่นชุดแรกในชื่อ Girls’ Generation โดยเมื่ออัลบั้มชุดนี้วางแผงไปได้ไม่ถึง 3 สัปดาห์ก็ทำยอดขายทะลุ 100,000 แผ่นและทำยอดขายทะลุ 300,000 แผ่นในเวลาเพียง 1 เดือนเศษ โดยในอัลบั้มชุดนี้ประกอบไปด้วย 12 เพลงรวมทั้งเพลง Mr.Taxi, Genie Gee, Run Devil Run รวมถึงเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นของเพลง Hoot และเพื่อเป็นการโปรโมตอัลบั้ม เกิลส์เจเนอเรชันได้จัดทัวร์คอนเสิร์ตในชื่อ Girls' Generation The 1st Japan Arena Tour ขึ้นใน 6 เมืองทั่วญี่ปุ่นคือ โอซากา, ไซตะมะ, โตเกียว, ฮิโรชิม่า, นาโกย่า และฟูกูโอกะ ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

หลังจากสิ้นสุดการทัวร์คอนเสิร์ตในญี่ปุ่น ต้นสังกัดที่เกาหลีอย่าง SM Entertainment ก็ได้ประกาศว่าเกิลส์เจเนอเรชันจะจัดคอนเสิร์ตเอเชียทัวร์ครั้งที่ 2 ในชื่อ 2011 Girls' Generation Tour โดยเริ่มที่เกาหลีใต้ในวันที่ 23-24 กรกฎาคม ต่อด้วยประเทศไต้หวันในวันที่ 9-11 กันยายน ประเทศสิงคโปร์ในวันที่ 9-10 ธันวาคม เกาะฮ่องกงในวันที่ 15 มกราคม 2012 ก่อนจะปิดท้ายที่ประเทศไทยในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2012 โดยเพลงส่วนใหญ่ในคอนเสิร์ตจะเป็นเพลงที่ใช้ในการแสดงคอนเสิร์ต Japan Arena Tour

ในช่วงเดือนสิงหาคม SM Entertainment ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าในต้นเดือนตุลาคม เกิลส์เจเนอเรชันจะกลับสู่วงการเพลงเกาหลีอีกครั้งกับอัลบั้มเต็มชุดที่ 3 โดยภาพทีเซอร์ภาพแรกได้ออกมาเมื่อปลายเดือนกันยายน โดยเป็นรูปของแทย็อนในมาดเจ้าหญิงแสนเศร้า และได้เปิดเผยชื่ออัลบั้มชุดนี้ซึ่งใช้ชื่อว่า The Boys หลังจากนั้นจึงทยอยออกภาพของสมาชิกคนอื่นๆ โดยเกิลส์เจเนอเรชันจะมาในมาดเจ้าหญิง 9 คนที่แตกต่างกันไปตามคอนเซปต์ของแต่ละคน เพลงโปรโมทชื่อเดียวกันนี้จะมี 2 เวอร์ชันคือภาษาเกาหลีและภาษาอังกฤษ ซึ่งได้โปรดิวเซอร์ชาวอเมริกันชื่อดังอย่าง Teddy Riley ผู้ซึ่งเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับศิลปินชื่อดังอย่าง Michael Jackson มาร่วมเขียนเนื้อร้องและโปรดิวซ์เพลงให้ ในตอนแรก SM มีแผนจะวางแผงอัลบั้มในวันที่ 5 ตุลาคม แต่เมื่อวันที่ 30 กันยายน ต้นสังกัดได้ตัดสินใจเลื่อนการวางแผงและ Comeback เนื่องจากต้นสังกัดวางแผนว่าจะวางจำหน่ายอัลบั้มนี้ในสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ โดยในที่สุด The Boys อัลบั้มเต็มชุดที่ 3 ของเกิลส์เจเนอเรชันก็ออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม โดยทันทีที่ออกมิวสิกวิดีโอใน YouTube 4 วันก็มียอดการคลิกเข้าชมสูงกว่า 10 ล้านครั้ง และหลังจากวางขายอัลบั้มไปไม่ถึง 2 สัปดาห์ก็สามารถทำยอดขายได้มากกว่า 200,000 แผ่น ถือเป็นศิลปินเกิร์ลกรุ๊ปกลุ่มแรกของเกาหลีที่สามารถทำยอดขายอัลบั้มได้สูงขนาดนี้ และจนถึงปัจจุบัน อัลบั้ม The Boys ก็สามารถทำยอดขายได้กว่า 400,000 แผ่น

หลังจากนั้นในวันที่ 27 พฤศจิกายน SM Entertainment ได้ประกาศเตรียมออกจำหน่ายอัลบั้มเวอร์ชัน B ของ The Boys ในชื่อ Mr.Taxi โดยใช้เพลง Mr.Taxi เวอร์ชันภาษาเกาหลีเป็นซิงเกิลหลักในการโปรโมต อัลบั้ม Mr.Taxi ได้ออกวางจำหน่ายในวันที่ 8 ธันวาคม โดยในอัลบั้มนี้ได้เพิ่มเพลง The Boys เวอร์ชันภาษาอังกฤษลงในอัลบั้มด้วย

2012–14:ไอก็อตอะบอย, ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก และเจสสิกาออกจากการเป็นสมาชิก

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 เกิลส์เจเนอเรชันเปิดตัวเพลง "แดนซิงควีน" ซึ่งเป็นเพลงหลักของซิงเกิลใหม่ในปี ค.ศ. 2013 โดยเป็นการปรับปรุงใหม่จากเพลง "เมอร์ซีย์" ของดัฟฟี ที่จำหน่ายในปี ค.ศ. 2008 [43] ในวันขึ้นปีใหม่ของปี ค.ศ. 2013 เกิลส์เจเนอเรชันได้ทำการเปิดตัวอัลบั้มชุดที่สี่คือ ไอก็อตอะบอย[44] ในวันเดียวกันก็ได้ออกโทรทัศน์ในรายการพิเศษ เกิลส์เจเนอเรชันโรแมนติกแฟนตาซี ของช่องเอ็มบีซี[45] อัลบั้มชุดดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างมากในเกาหลีใต้ โดยอยู่ในอันดับบนสุดของแกออนอัลบั้มชาร์ต[46] อีกทั้งยังขึ้นอันดับหนึ่งของ บิลบอดส์อัลบั้มชาร์ตทั่วโลก[47] ซึ่งเพลง "ไอก็อตอะบอย" ก็ได้ขึ้นสู่อันดับหนึ่งของบิลบอดส์โคเรียเคป็อปฮ็อต 100 และแกออนดิจิทัลชาร์ต[48] กลายเป็นซิงเกิลที่ 11 ที่ขายดีที่สุดในเกาหลีใต้ โดยขายได้ทั้งหมด 1,354,672 ยูนิต[49] อีกทั้งมิวสิกวิดีโอยังได้รับรางวัลวิดีโอแห่งปีของยูทูบมิวสิกอะวอดส์ ในปี ค.ศ. 2013 เอาชนะไซ และจัสติน บีเบอร์ ที่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อตะวันตกว่าเป็นกลุ่มที่รู้จักกันน้อยเมื่อเทียบกับผู้เข้าชิงคนอื่น ๆ ในเวลานั้น[50][51][52]

เกิลส์เจเนอเรชันในปี ค.ศ. 2012

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 เกิลส์เจเนอเรชันได้เริ่มทัวร์ใน เกิลส์ & พีซ: เจแปนทัวร์ครั้งที่ 2 จัดขึ้นรอบแรกที่เมืองโคเบะ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์[53] ประกอบกับดีวีดีได้ออกจำหน่ายในเดือนกันยายน ค.ศ. 2013 และติดอยู่บนอันดับสูงสุดของออริคอนดีวีดีชาร์ต สามารถขายได้ 53,256 ก็อปปี ในสัปดาห์แรกของการจำหน่าย[54] เวิลด์ทัวร์ครั้งแรกของกลุ่มเกิลส์เจเนอเรชันเวิลด์ทัวร์ เกิลส์แอนด์พีซได้ดำเนินมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2013 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 ประกอบด้วยสิบคอนเสิร์ตใน 7 ประเทศจากทวีปเอเชีย[55][56]

เกิลส์เจเนอเรชันได้ออกจำหน่าย Best Selection Non Stop Mix ซึ่งเป็นอัลบั้มรีมิกซ์ครั้งแรก ในเดือนมีนาคม[57] และอัลบั้มบันทึกการแสดงสด เกิลส์เจเนอเรชันทัวร์ 2011 ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2013.[58] ติดอันดับ 6 ในออริคอนอัลบั้มชาร์ต[59] ในขณะที่ได้ขึ้นสู่อันดับหนึ่งในแกออนชาร์ตระยะหลัง[60] เกิลส์เจเนอเรชันได้ออกจำหน่ายอัลบั้มญี่ปุ่นชุดที่ 3 Love & Peace และวางจำหน่ายในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 2013[61] เมื่อเปิดตัวอัลบั้มได้เพียงสัปดาห์ ก็สามารถขึ้นสู่อันดับหนึ่งในออริคอนอัลบั้มชาร์ต และขายได้มากกว่า 129,000 ก็อปปีในสัปดาห์แรก[62][63] สองซิงเกิลในอัลบั้ม "เลิฟ & เกิลส์" และ "แกแล็กซีซูเปอร์โนวา" ติดอันดับที่สี่และที่สามบนออริคอนชาร์ตตามลำดับ[59]

เกิลส์เจเนอเรชันได้ออกจำหน่ายอีพีที่ 4 Mr.Mr และวางจำหน่ายในเดือนกุมภาพันธ์ 2014[64] ต่อมาได้ขึ้นสู่อันดับหนึ่งบนแกออนอัลบั้มชาร์ตหลังจากการจำหน่าย[65] อีพีดังกล่าวเป็นอีพีที่ 4 ที่มียอดขายที่สูงสุดของเกาหลีใต้ในปี ค.ศ. 2014 ซึ่งขายได้ทั้งหมด 163,209 ก็อปปี[66] ในสหรัฐอเมริกา อีพีนี้เปิดตัวด้วยอันดับที่ 110 บนบิลบอร์ด 200 และขายได้ 3,000 ก็อปปีในสัปดาห์แรก[67] ซึ่ง "Mr.Mr." สามารถขึ้นสู่อันดับสูงสุดบน แกออนดิจิทัลชาร์ต และขายได้ 906,962 ก็อปปี ในปี ค.ศ. 2014 กลายเป็นดิจิทัลอัลบั้มที่ 46 ที่ขายดีที่สุดในเกาหลีใต้[68][69]

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2014 ได้ออกจำหน่าย เดอะเบสต์ เป็นอัลบั้มยอดฮิตของญี่ปุ่นครั้งแรก ซึ่งประกอบด้วยซิงเกิลที่แล้วของกลุ่มและเพลงใหม่ 4 เพลง คือ "Indestructible", "Divine", "Show Girls", และ "Chain Reaction" ติดอันดับสูงสุดบนออริคอนอัลบั้มชาร์ต 2 สัปดาห์ติดต่อกัน และขายได้มากกว่า 175,000 ก็อปปีในญี่ปุ่น[70][71] ด้วยอัลบั้ม ไThe Best ติดอันดับสูงสุดบน ออริคอนอัลบั้มชาร์ต เกิลส์เจเนอเรชันจึงกลายเป็นกลุ่มศิลปินหญิงนอกญี่ปุ่นในเอเชียกลุ่มแรกที่ติดอันดับสูงสุดบน 3 อัลบั้มชาร์ต[72] และได้ทำการแสดงคอนเสิร์ตที่ 3 ในญี่ปุ่นคือ เลิฟ & พีซ ในเดือนเดียวกัน ซึ่งริเริ่มที่ฟุกุโอะกะ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2014 โดยเกิลส์เจเนอเรชันได้ทำการแสดงทั้งหมด 17 ครั้ง ใน 7 เมืองของญี่ปุ่น รวมถึง โอซะกะ, นะโงะยะ และ โตเกียว ใน 3 ทัวร์คอนเสิร์ตตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011 เกิลส์เจเนอเรชันสามารถดึงดูดผู้ชมได้เรื่อย ๆ รวม 550,000 คน สร้างสถิติใหม่สำหรับเกิร์ลกรุปแนวเคป็อป[73]

เมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2014 เจสสิกาประกาศว่าเธอได้ถูกถอดออกจากวง ภายหลังเอสเอ็มเอนเตอร์เทนเมนต์ได้ออกมายืนยันเรื่องดังกล่าวและระบุว่าเจสสิกาได้พ้นสภาพการเป็นสมาชิกเกิลส์เจเนอเรชัน เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างเธอกับตารางงานของกลุ่ม โดยเกิลส์เจเนอเรชันยังคงดำเนินต่อด้วยสมาชิกที่เหลือเพียง 8 คนหลังจากนี้[74] สมาชิกแปดคนที่เหลืออยู่ยังคงดำเนินกิจกรรมของกลุ่มต่อ โดยจัดคอนเสิร์ตที่ โตเกียวโดม เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 2014 และขายตั๋วออกทั้งหมด 50,000 ใบ[75] ส่วนบันทึกการแสดงได้จัดจำหน่ายรูปแบบดีวีดี ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2015 ซึ่งได้ติดอันดับสูงสุดทั้งในออริคอนดีวีดี และบลูเรย์ชาร์ตพร้อมกัน[76]

2015–ปัจจุบัน: ไลออนฮาร์ต

เกิลส์เจเนอเรชันในการแสดง "ไลออนฮาร์ต" ใน KBS Gayo Daechukje เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2015

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 เกิลส์เจเนอเรชันประกาศปล่อยซิงเกิล "Catch Me If You Can" ซึ่งเป็นซิงเกิลแรกที่มีสมาชิกเพียงแปดคน [77] โดยได้บันทึกเสียงทั้งในภาษาเกาหลีและญี่ปุ่น; รูปแบบเกาหลีได้จำหน่ายทั่วโลก เมื่อวันที่ 10 เมษายน[78] ขณะที่รูปแบบญี่ปุ่นจำหน่ายเมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 2015[79] ติดอันดับที่ 19 ในแกออนดิจิทัลชาร์ต และอันดับที่ 8 ในออริคอนซิงเกิลส์ชาร์ต[80]

แนวเพลง

แนวเพลงของเกิลส์เจเนอเรชันก็เช่นเดียวกับศิลปินเกาหลีทั่วไป นั่นก็คือแนว เค-ป็อป อันเป็นแนวเพลงที่กำลังได้รับความนิยม เพลงในลักษณะนี้มักจะมีการผสมผสานกันระหว่างดนตรี ร็อก และ อาร์แอนด์บี เพิ่มเข้ามาด้วย ซึ่งซิงเกิลเปิดตัวอย่างเพลง Into The New World จะเป็นเพลงในแนว K-Pop ผสม R&B เน้นในการโชว์พลังเสียงของนักร้องเสียงหลัก ซึ่งถือได้ว่าแตกต่างจากเพลง Girls' Generation ซึ่งเป็นซิงเกิลจากอัลบั้มชุดแรกของพวกเธอที่เน้นท่วงทำนองที่ค่อนข้างเร็ว ส่วนเพลง Kissing You และ Gee ทำนองเพลงจะเป็นแนวที่ค่อนข้างสดใสและดูเด็กๆ ขณะที่เพลง Oh! จะจัดอยู่ในแนวอิเล็คโทรนิกส์ ป็อป ซึ่งยังคงความสดใสแต่แฝงไปด้วยความเข้มแข็ง ส่วนเพลง Tell Me Your Wish (Genie) และ Run Devil Run จะเป็นแนวซิงค์ป็อปที่แฝงความเซ็กซี่ทำให้พวกเธอดูโตและเปรี้ยวขึ้นจากซิงเกิลนี้ ด้านเพลง Hoot จะมีกลิ่นอายเพลงแบบตะวันตกผสมกับดนตรีแนวเค-ป็อป ส่วนเพลง Mr.Taxi, The Boys, I Got A Boy และ Mr.Mr.จะมีความเป็นสากลมากขึ้นในเรื่องของทำนองเพลง และมีเนื้อหาของเพลงที่เป็นผู้ใหญ่ โดย I Got A Boy นั้นยังมีส่วนผสมของดนตรีแนวฮิปฮอปอีกด้วย ทั้งนี้ Run Devil Run ยังเป็นเพลงแรกของเกิลส์เจเนอเรชันที่มีการแร็ป


ความสามารถทางการร้อง การเต้น และการแร็ป

ด้านการร้อง

เนื่องจากเป็นวงที่มีสมาชิกมากถึง 9 คน สมาชิกของเกิลส์เจเนอเรชันจึงมีทักษะทางการร้องที่ต่างกันไป ผู้ที่ได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถทางการร้องสูงสุดคือ แทย็อน เพราะได้รับการฝึกมานานมากที่สุดแถมเธอยังได้รับรางวัลเกี่ยวกับการร้องมากมาย ส่วนผู้ที่มีความสามารถด้านการร้องที่โดดเด่นรองลงมาคือ เจสสิกา, ทิฟฟานี, ซอฮย็อน และซันนี ตามลำดับ ส่วนในเรื่องลักษณะเสียง เจสสิกา ซันนี และซูย็องมีเนื้อเสียงโทนโซปราโน ฮโยยอน ยูรี และยุนอามีเนื้อเสียงโทนเมซโซ แทย็อน ทิฟฟานี และซอฮย็อนมีเนื้อเสียงโทนอัลโต อันดับความสามารถในการร้องได้แก่ แทย็อน เจสสิกา ทิฟฟานี ซอฮย็อน ซันนี ยูรี ซูย็อง ฮโยยอน ยุนอา

ด้านการเต้น

สมาชิกที่มีความสามารถทางการเต้นสูงสุดคือ ฮโยยอน เธอสามารถเต้นได้แทบจะทุกรูปแบบ สมาชิกที่มีความสามารถทางการเต้นในระดับสูงรองลงมาจากฮโยยอนคือ ยูรี, ซูย็อง, และยุนอา พวกเธอทั้ง 4 มักจะได้รับโอกาสแสดงความสามารถด้านการเต้นอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะฮโยยอนและยูรี นอกจากนี้ ในเพลง Into The New World และ Tell Me Your Wish (Genie) ฮโยยอนก็ได้โชว์ความสามารถด้านนี้ในท่อนบริดจ์ของเพลงอีกด้วย

ด้านการแร็ป

ในระยะแรกเกิลส์เจเนอเรชันไม่มีตำแหน่งแร็ปเปอร์ของวงอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งช่วงโปรโมตเพลง Run Devil Run จึงเริ่มมีความชัดเจนเรื่องสมาชิกที่เป็นแร็ปเปอร์ของวง (ในเพลงนี้ ซันนี, ฮโยยอน และซูย็องเป็นผู้ร้องท่อนแร็ปของเพลง) จนถึงช่วงโปรโมตเพลง The Boys จึงมีความชัดเจนเรื่องตำแหน่งแร็ปเปอร์ของวงมากขึ้น โดยเกิลส์เจเนอเรชันมีแร็ปเปอร์ทั้งสิ้น 5 คนคือ ฮโยยอน, ทิฟฟานี, ยูริ, ซูยอง และยุนอา (เรียงตามลำดับความสามารถในการแร็ป) ซึ่งผู้ที่ได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถด้านการแร็ปสูงที่สุดในวงและถือเป็นแร็ปเปอร์หลักของวงก็คือ ฮโยยอน และฮโยยอนมีผลงานเพลงร่วมแร็พในเพลง Maxstep

สมาชิก

ชื่อเล่น ชื่อจริง วันเกิด สัญชาติ ตำแหน่งในวง งานด้านอื่น
แทย็อน คิม แท-ย็อน 9 มีนาคม พ.ศ. 2532 (35 ปี)  เกาหลีใต้ หัวหน้าวง, นักร้องเสียงหลัก ศิลปินเดี่ยว, นักแสดง
ซันนี อี ซุน-กยู 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 (34 ปี)  สหรัฐ เกาหลีใต้ นักร้องนำ นักแสดง
ทิฟฟานี สเตฟานี ฮวัง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2532 (34 ปี)  สหรัฐ เกาหลีใต้ นักร้องเสียงหลัก, แร็ปเปอร์นำ ศิลปินเดี่ยว, นักแสดง
ฮโยย็อน คิม ฮโย-ย็อน 22 กันยายน พ.ศ. 2532 (34 ปี)  เกาหลีใต้ นักเต้นหลัก, นักร้องสนับสนุน, แร็ปเปอร์หลัก ศิลปินเดี่ยว
ยูริ คว็อน ยู-รี 5 ธันวาคม พ.ศ. 2532 (34 ปี)  เกาหลีใต้ นักเต้นนำ, นักร้องเสริม, แร็ปเปอร์ นักแสดง
ซูย็อง ชเว ซู-ย็อง 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 (34 ปี)  เกาหลีใต้ นักเต้นนำ, นักร้องเสริม, แร็ปเปอร์ นักแสดง
ยุนอา อิม ยุน-อา 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 (33 ปี)  เกาหลีใต้ นักเต้นนำ, นักร้องสนับสนุน, แร็ปเปอร์, ภาพลักษณ์ของวง นักแสดง
ซอฮย็อน ซอ จู-ฮย็อน 28 มิถุนายน พ.ศ. 2534 (32 ปี)  เกาหลีใต้ นักร้องนำ, น้องเล็ก นักแสดง

อดีตสมาชิก

ชื่อเล่น ชื่อจริง วันเกิด สัญชาติ ตำแหน่ง เข้าร่วม ยุติโปรโหมดกับวง งานด้านอื่น สังกัดปัจุบัน
เจสสิกา ช็อง ซู-ย็อน 18 เมษายน พ.ศ. 2532 (35 ปี)  สหรัฐ เกาหลีใต้ นักร้องเสียงหลัก 2007 2014 นักแสดง, ศิลปินเดี่ยว, ธุรกิจแฟชั้น CORIDEL ENTERTAINMENT

ผลงาน

ทัวร์

รางวัล

อ้างอิง

  1. "Spotlight: Girls' Generation sets their sights on taking America with 'The Boys'". Toyazworld. สืบค้นเมื่อ 30 November 2011.
  2. "London is going K-Pop crazy". MusicAsia. สืบค้นเมื่อ 30 November 2011.
  3. "BREAKING: SM ENTERTAINMENT ANNOUNCES JESSICA WILL NO LONGER BE PART OF GIRLS' GENERATION". Koreaboo. 30 September 2014.
  4. "[Breaking] SM Entertainment releases official statement regarding Jessica and Girls' Generation". allkpop. 30 September 2014.
  5. "04.29.11 Girls' Generation 'Gee' Tops MelOn 2000′s Chart, Crowned K-Pop Song of the Decade". Soshified. สืบค้นเมื่อ 21 January 2013.
  6. 6.0 6.1 Son Yong (24 Februari 2011). "Korea Power Celebrity 40" (ภาษาKorea). magazine.joinsmsn.com/forbes. สืบค้นเมื่อ 25 November 2012. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  7. McCurry, Justin. "After Psy's Gangnam Style, here come Korea pop princesses Girls' Generation". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 17 November 2012.
  8. "2010년 올해의 10대 가수와 가요" (ภาษาKorea). Gallup Korea. November 17, 2010. สืบค้นเมื่อ November 25, 2012.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  9. "Girls' Generation Is The Most Influential Celebrity in Korea". Soshified. สืบค้นเมื่อ 21 January 2013.
  10. 아시아투데이 선정...한국의 파워리더 50인 Asia Today. 31 Desember 2010.
  11. 朝日新聞デジタル:朝日新聞社のニュースサイト
  12. Dong-Joo, Kim (1 Mei 2012). "Girls' Genation's unit group becomes the first Korean singers to rank in TOP5". omg!. Yahoo!. สืบค้นเมื่อ 1 Mei 2012. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  13. "Update: Girls' Generation Releases 'I Got A Boy' and Receives an All-Kill on Korean Charts". Soshified. สืบค้นเมื่อ 13 January 2013.
  14. "'I Got A Boy' Debuts at #1 on Billboard's 'World Albums' Chart". Soshified. สืบค้นเมื่อ 13 January 2013.
  15. "Girls' Generation Reveals Second Japan Tour Schedule". Soshified. สืบค้นเมื่อ 13 January 2013.
  16. "(Korean) 걸그룹 이름 뜻, 숨겨진 의미에 '그렇구나'". Nate. 15 April 2012. สืบค้นเมื่อ 23 February 2013.
  17. Mark Schreiber. "Will the Takeshima dispute break the Korean wave?". japantimes.co.jp. สืบค้นเมื่อ April 1, 2013. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |published= ถูกละเว้น (help)
  18. "SM娱乐官方声明确认郑秀妍退团 少女时代将由8人活动" [SM Announce That SNSD Will Have 8 Members Following Jessica's Departure] (ภาษาChinese). China Radio International. September 30, 2014. สืบค้นเมื่อ May 2, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  19. "'여자 슈주' 소녀시대 드디어 첫모습 공개" (ภาษาKorea). สืบค้นเมื่อ 2009-07-08.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  20. Chosun.com: 제시카, "관객 앞에서의 제 목소리에 감동했어요", 18 Februari 2009
  21. 소녀시대 댄스퀸 효연 “초등학교 때 힙합스쿨 다녀”, 뉴스엔, 1 Agustus 2007.
  22. 민과 소녀시대 효연 데뷔전부터 친분사진 눈길, JESNews.co.kr, 3 Februari 2008.
  23. Route แม่แบบ:Theta - official website - profile
  24. SM Town (2012). I AM: SMTOWN Live World Tour in Madison Square Garden (Blu-Ray). New York, U.S.: S.M. Entertainment.
  25. "SNSD's Seohyun-f(x)'s Sulli past auditions 'Infinite Challenge' surprise audience" 소녀시대 서현-에프엑스 설리 과거 오디션 '무한도전' 깜짝등장. JoongAng Ilbo (ภาษาKorean). July 24, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 3, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  26. Kim Soe-jung (January 18, 2008). "Schools for stardom groom pop wannabes". JoongAng Ilbo. สืบค้นเมื่อ February 26, 2015.
  27. "Girls' Generation Making Its American Dream Come True". Billboard Korea. November 13, 2011. สืบค้นเมื่อ February 26, 2015.
  28. "소녀시대 티파니 'LA 축제서 캐스팅'" [SNSD's Tiffany 'LA festival casting'] (ภาษาKorean). Newsen. August 1, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2013. สืบค้นเมื่อ May 3, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  29. 홀로 숙소 지키는 티파니 '이제서야 외로움이 몰려와요' [Tiffany keeps the hostel alone]. The Chosun Ilbo (ภาษาKorean). February 13, 2009. สืบค้นเมื่อ April 28, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  30. "소녀시대 써니 SM 이수만 친조카 '슈가 후속 그룹 멤버 될 뻔'". The Asia Economy Daily (ภาษาKorean). November 30, 2007. สืบค้นเมื่อ June 15, 2010.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  31. "Girls' Generation debut song released on the 19th" (ภาษาKorean). iNews24. July 17, 2007. สืบค้นเมื่อ April 28, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  32. "Girls' Generation debut song released on the 19th" (ภาษาKorean). iNews24. July 17, 2007. สืบค้นเมื่อ April 28, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  33. "^ (Korean)'걸 댄스그룹', SES 이후 6년만에 '10만장 시대'". StarNews. 15 April 2012. สืบค้นเมื่อ 25 Desember 2012. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. Kim, Hyeong-wu. 소녀시대 인기가요 이어 엠카도 1위 등극 (Girls' Generation Hits #1 on M! Countdown After Topping The Music Trend). ISPlus/Newsen. 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008. เข้าถึงเมื่อ 8 มีนาคม ค.ศ. 2010. (เกาหลี)
  35. "2007 Statistics" (ภาษาKorean). Music Industry Association of Korea. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2009.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  36. "Girls' Generation, two albums exceeding 100 thousand sales mark" (ภาษาKorean). Star News. March 17, 2009. สืบค้นเมื่อ April 28, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  37. The Results Of Mnet 20s Choice . StarNews. เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2008. (เกาหลี)
  38. 소녀시대, 13일 리패키지 앨범 'Baby Baby' 출시 (Girls' Generation Release Repackaged Album Baby Baby on the 13th). The Chosun Ilbo. March 12, 2008. Retrieved May 16, 2010. (เกาหลี)
  39. 소녀시대 1집 활동 공식 마무리 “팬들 아쉬워~ (Girls completed a formal House action "disappointed fans~) Newsen. Diakses 24 Mei 2010.
  40. Factory Girl – official website
  41. 소녀시대, 이제는 패션 에디터로 변신 (Girls' Generation, Now Becoming Fashion Editors). MyDaily. 30 September 2008. Diakses 3 Oktober 2008.
  42. Shin, Su-jin. 소녀시대, 다음달 7일 미니앨범 ‘Gee'로 컴백 (Girls' Generation, Next Month on the 7th, Mini Album "Gee" Comeback. Dailian. 29 Desember 2008. Diakses 5 Januari 2009.
  43. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ BB_Dancing_Queen
  44. "I Got a Boy by Girls' Generation". iTunes Store US. Apple Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 9, 2014.
  45. Sunwoo, Carla (January 3, 2013). "Girls' Generation tops the charts again". JoongAng Ilbo. สืบค้นเมื่อ February 26, 2015.
  46. "Gaon Album Chart: Week 2 of 2013" (ภาษาKorean). Gaon Album Chart. Gaon Music Chart. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 25, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  47. "World Albums: January 19, 2013". Billboard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 24, 2013.
  48. "I Got a Boy" chart positions:
  49. "Download Chart: 2013 (Year-End)" (ภาษาKorean). Gaon Download Chart. Gaon Music Chart. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2014.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  50. Rothman, Lily (November 4, 2013). "Who Is Girls Generation, the Group That Beat Bieber for Video of the Year?". Time. สืบค้นเมื่อ April 30, 2015.
  51. "K-pop group Girls' Generation beats Miley, Lady Gaga at first YouTube awards". CNN. November 4, 2013. สืบค้นเมื่อ April 30, 2015.
  52. Holpuch, Amanda (November 4, 2013). "YouTube music awards make chaotic and messy debut". The Guardian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 11, 2014.
  53. "少女時代「Oh!」日本版ビジュアル公開&アリーナツアー" [Girls' Generation's music video 'Oh!' for visual public and arena tour] (ภาษาJapanese). Natalie. September 15, 2012. สืบค้นเมื่อ December 3, 2012.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  54. "【オリコン】少女時代、3作目のDVD総合首位 海外女性歴代1位タイ" [Girls' Generation's third DVD top the chart] (ภาษาJapanese). Oricon. September 25, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 16, 2013.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  55. 소녀시대, 드디어 월드투어 나선다. 6월 8, 9일에는 서울서 2년 만에 단독 콘서 트 [Girls' Generation to hold concerts in Seoul on June 8 and 9, the first in two years]. The Chosun Ilbo (ภาษาKorean). April 26, 2013. สืบค้นเมื่อ April 26, 2013.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  56. Jackson, Julie (June 5, 2013). "Girls' Generation to embark on first world tour". Korea Herald. สืบค้นเมื่อ May 14, 2015.
  57. 少女時代 初のオフィシャルMIX CD発売決定 [Girls' Generation First Mix CD Released] (ภาษาJapanese). Universal Music Japan. สืบค้นเมื่อ February 13, 2013. {{cite web}}: |script-title=: missing prefix (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  58. 소녀시대, 콘서트 실황 담은 라이브 앨범 11일 발매 [Girls' Generation's live concert album to reveal in 11 days]. The Chosun Ilbo (ภาษาKorean). April 5, 2013. สืบค้นเมื่อ January 27, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  59. 59.0 59.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Oricon
  60. "Gaon Album Chart: Week 2, 2011" (ภาษาKorean). Gaon Album Chart. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 25, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  61. "少女時代 待望の3rdアルバムのタイトル・トラックリストが遂に解禁" [Girls' Generation's 3rd studio album to be released] (ภาษาJapanese). Universal Music Japan. November 21, 2013.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  62. "2013年12月09日〜2013年12月15日のCDアルバム週間ランキング" [Weekly CD Chart: Week of December 9–15, 2013] (ภาษาJapanese). Oricon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 23, 2013.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  63. "December 2013 Report" (ภาษาJapanese). Recording Industry Association of Japan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2014.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  64. "Girls' Generation unveils new album on iTunes". GlobalPost. February 24, 2014. สืบค้นเมื่อ April 30, 2015.
  65. "Gaon Album Chart: Week 10 of 2014" (ภาษาKorean). Gaon Album Chart. Gaon Music Chart. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 6, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  66. "Gaon Album Chart: 2014 (Year-End)" (ภาษาKorean). Gaon Album Chart. Gaon Music Chart. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 14, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  67. Benjamin, Jeff (March 5, 2014). "Girls' Generation Hits the Billboard 200". Billboard. สืบค้นเมื่อ March 6, 2014.
  68. "Gaon Digital Chart: Week 10, 2014" (ภาษาKorean). Gaon Digital Chart. Gaon Music Chart. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 24, 2014.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  69. "Gaon Digital Chart: 2014" (ภาษาKorean). Gaon Digital Chart. Gaon Music Chart. สืบค้นเมื่อ April 30, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  70. "Girls' Generation tops Japanese chart for second week". The Korea Times. August 5, 2014. สืบค้นเมื่อ December 30, 2014.
  71. 2014年 年間音楽&映像ランキング発表 [2014 Year-End Album Chart] (ภาษาJapanese). Oricon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2014.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  72. "Girls' Generation rewrites history of Oricon chart". The Korea Herald. August 5, 2014. สืบค้นเมื่อ January 1, 2015.
  73. 73.0 73.1 "SNSD draws 200,000 fans to 3rd Japan concert tour". The Korea Herald. July 14, 2014. สืบค้นเมื่อ July 22, 2014.
  74. "K-Pop Earthquake: Girls' Generation Member Jessica Jung Ousted". The Wall Street Journal. September 30, 2014. สืบค้นเมื่อ September 30, 2014.
  75. 소녀시대, 도쿄 첫 단독 공연 '매진' [Girls' Generation's first solo concert sold out] (ภาษาKorean). Korean Broadcasting System. December 11, 2014. สืบค้นเมื่อ December 11, 2014.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  76. "【オリコン】少女時代、東京ドーム公演DVD&BD1位 海外歌手歴代トップに" [Girls' Generation's DVD top both Oricon DVD and Blu-ray charts] (ภาษาJapanese). Oricon. April 8, 2015. สืบค้นเมื่อ May 30, 2015.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  77. Benjamin, Jeff (March 23, 2015). "Girls' Generation Announce First New Music Without Jessica Jung". Billboard. สืบค้นเมื่อ April 30, 2015.
  78. "South Korean release: 소녀시대 – Catch Me If You Can" (ภาษาKorean). Hanteo. สืบค้นเมื่อ April 18, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  79. "Girls' Generation Discography – Catch Me If You Can" (ภาษาJapanese). Universal Music Japan. สืบค้นเมื่อ April 19, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  80. "South Korean Gaon Chart: Singles – The 17th Week of 2015" (ภาษาKorean). Gaon Digital Chart. สืบค้นเมื่อ April 23, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  81. Han Sang-hee (December 21, 2009). "Girls' Generation Impresses Fans With First Concert". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ April 30, 2015.
  82. Kwon Mee-yoo (July 26, 2011). "Girls' Generation ― it's the girls' time!". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ April 30, 2015.
  83. "Girls' Generation to rock Singapore on October 12". MSN. August 15, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 12, 2013.
  84. Kim Soo-hyang (February 1, 2016). "Girls' Generation concert in Bangkok". The Korea Herald. สืบค้นเมื่อ April 20, 2016.
  85. "Girls' Generation Events" (ภาษาJapanese). Girls' Generation Japanese official website. สืบค้นเมื่อ April 30, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  86. "Events: Page 2" (ภาษาJapanese). Girls' Generation Japanese official website. สืบค้นเมื่อ April 30, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  87. "SNSD holding first Tokyo Dome concert in December". The Korea Herald. August 25, 2014. สืบค้นเมื่อ April 8, 2016.
  88. "[Korea] Watch SMTOWN LIVE '08 and Tour Korea". Korea Tourism Organization. July 8, 2008. สืบค้นเมื่อ April 21, 2016.
  89. Hicap, Jonathan (July 3, 2010). "SM Entertainment artists including Super Junior to hold world tour". Manila Bulletin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2010.
  90. "BoA, DBSK, Super Junior and the Rest of SMTown Shake Things Up in Taiwan". CJ E&M. June 11, 2012. สืบค้นเมื่อ May 1, 2015.
  91. "Girls' Generation to hold year-end concert Dec. 22". The Korea Times. November 22, 2013. สืบค้นเมื่อ April 22, 2016.
  92. Jeon Ah Ram (October 7, 2014). "SNSD Performs as Eight for 'SM Town Live' in Tokyo". CJ E&M. สืบค้นเมื่อ May 1, 2015.
  93. "SMTOWN LIVE, 오사카 쿄세라돔 공연 '9만 관객 열광'" (ภาษาkorean). The Chosun Ilbo. July 18, 2016. สืบค้นเมื่อ July 30, 2016.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น