ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คาวาอี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
DixonDBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (Robot: Modifying hu:Kavaí to hu:Kavaii
บรรทัด 64: บรรทัด 64:
[[fr:Kawaii]]
[[fr:Kawaii]]
[[he:קאוואיי]]
[[he:קאוואיי]]
[[hu:Kavaí]]
[[hu:Kavaii]]
[[id:Kawaii]]
[[id:Kawaii]]
[[is:Kawaii]]
[[is:Kawaii]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:04, 19 พฤศจิกายน 2555

คะวะอี (ญี่ปุ่น: かわいいโรมาจิkawaii) เป็นคำในภาษาญี่ปุ่น หมายความว่า น่ารักน่าชม[1] และหมายถึงคุณลักษณะน่ารักตามบริบทของวัฒนธรรมญี่ปุ่น[2][3][4]

คะวะอีนั้นเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งในวัฒนธรรมสมัยนิยม การบันเทิง การแต่งองค์ทรงเครื่อง อาหาร ของเล่น รูปโฉมโนมพรรณ พฤติกรรม และจรรยามารยาทของชาวญี่ปุ่น[5]

ความแพร่หลาย

เครื่องบินโบอิง 747 ของบริษัท All Nippon Airways

เราสามารถพบสิ่งน่ารักได้ทุกที่ในญี่ปุ่นตั้งแต่ธุรกิจขนาดใหญ่ไปจนถึงตลาด หรือตั้งแต่รัฐบาลญี่ปุ่น จนถึงสำนักงานในเมือง [6][7] หลายบริษัทไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ต่างก็ใช้ตัวนำโชคน่ารักๆเพื่อแสดงสินค้าและบริการของตนสู่สาธารณะ ตัวอย่างเช่น

  • บริษัท All Nippon Airways ตกแต่งเครื่องบินด้วยรูปพิกะจู ตัวการ์ตูนในเรื่องโปเกมอน
  • โคนัน ตัวการ์ตูนจากเรื่องยอดนักสืบจิ๋วโคนัน
  • ธนาคารอาซาฮี ใช้ มิฟฟี่ ตัวการ์ตูนจากหนังสือภาพของเยอรมัน บนบัตรเอทีเอ็ม
  • บริษัทผลิตถุงยางอนามัยแห่งหนึ่งใช้ มงกิจิ ตัวการ์ตูนรูปลิง บนกล่องถุงยาง [8]
  • จังหวัด 47 จังหวัดใช้ตัวนำโชคน่ารัก
  • บริษัทไปรษณีย์ญี่ปุ่นใช้ตัวนำโชคน่ารักๆบนแสตมป์
  • ตำรวจญี่ปุ่นใช้ตัวการ์ตูนน่ารักๆเป็นตัวนำโชค และบางครั้งก็ติดไว้หน้าป้อมตำรวจ

สินค้าน่ารักเป็นที่นิยมอย่างมากในญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ สองบริษัทใหญ่ที่ผลิตสินค้าเหล่านี้ ได้แก่ ซานริโอ (ผู้ผลิตเฮลโล คิตตี้) และ San-X (ผู้ผลิต "Kogepan", "Nyan Nyan Nyanko" และ "Rilakkuma") .[9][10]

ความน่ารักอาจหมายถึงแฟชั่นของแต่ละคน [11][12] โดยเฉพาะเสื้อผ้าซึ่งมักจะเป็นเสื้อผ้าสำหรับเด็ก ที่มีขนาดเล็ก และเน้นในเรื่องความน่ารักของผู้สวมใส่

ความรู้สึกของคนญี่ปุ่น

ชาวญี่ปุ่นยอมรับมากขึ้นว่าความน่ารักเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่นและเป็นเอกลักษณ์ของชาติ โทะโมะยุกิ ซุงิยะมะ ผู้แต่ง "Cool Japan" เชื่อว่า ความน่ารักถูกฝังรากในวัฒนธรรมความสามัคคีของญี่ปุ่น โนะบุโยะชิ คุริตะ ศาสตราจารย์ด้านสังคมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยมุซะชิ กล่าวว่า "ความน่ารัก" เป็น"คำวิเศษ"ที่รวมทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นที่ยอมรับและปรารถนาในญี่ปุ่น

ในทางตรงกันข้าม ชาวญี่ปุ่นส่วนน้อยได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความน่ารัก โดยมองว่ามันเป็นสัญลักษณ์ของความอยากเป็นเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฮิโระโตะ มุระซะวะ ศาสตราจารย์ด้านความงามและวัฒนธรรมแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้าโชอิงกล่าวว่า ความน่ารักเป็น"ภาวะทางจิตใจที่ก่อให้เกิดความไม่หนักแน่น"

อิทธิพลต่อวัฒนธรรมประเทศอื่น

ผลิตภัณฑ์น่ารักๆเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศในเอเชียตะวันออก เช่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ผลิตภัณฑ์จำนวนมากถูกนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น และบางส่วนก็ผลิตเองภายในประเทศ

คำว่า คะวะอี ซึ่งเป็นคำศัพท์ญี่ปุ่นแปลว่า น่ารัก ได้กลายเป็นคำทับศัพท์ในวัฒนธรรมเอเชียและตะวันตกบางส่วน

อ้างอิง

  1. [1] _The Japanese Self in Cultural Logic_ by Takei Sugiyama Libre, c. 2004 University of Hawaii Press, ISBN 0-8248-2840-2, p. 86.
  2. "kawaii", Oxford Dictionaries Online.
  3. かわいい - kawaii - 可愛い - cute Japanesefile. Accessed May 7, 2011 from http://japanesefile.com/Adjectives/kawaii_3.html
  4. Kim, T. Beautiful is an Adjective. Accessed May 7, 2011, from http://www.guidetojapanese.org/adjectives.html
  5. Diana Lee, "Inside Look at Japanese Cute Culture" (September 1, 2005).
  6. ดู Wired, "Cute Inc." เข้าเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549
  7. ดู Business Week, "In Japan, Cute Conquers All".
  8. Monkichi condoms. เข้าเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549.
  9. ดู Kawaii or cute Japanese products. เข้าเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549
  10. ดู SFGate Asian "Pop: How Hello Kitty Came to Rule the World". เข้าเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549
  11. ดู The New Yorker "FACT: SHOPPING REBELLION: What the kids want". เข้าเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549
  12. ดู Time Asia: "Arts: Kwest For Kawaii". เข้าเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549

แหล่งอ้างอิงอื่น

แม่แบบ:Link GA