ข้ามไปเนื้อหา

พระราชธิดาของฟาโรห์ (หนังสืออพยพ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชธิดาของฟาโรห์
ปรากฏครั้งแรกหนังสือปฐมกาล
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
นามแฝงThermouthis (พระนามโดยกำเนิด, ศาสนายูดาห์)
บิทิยาห์ (พระนามบุญธรรม, ศาสนายูดาห์)
Merris (ศาสนาคริสต์)
Merrhoe (ศาสนาคริสต์)
คู่สมรสเมเรด
บุตรโมเสส (โอรสบุญธรรม)
ศาสนาศาสนาอียิปต์โบราณ (เดิม)
ศาสนายาห์เวห์ (เปลี่ยน)
สัญชาติชาวอียิปต์

พระราชธิดาของฟาโรห์ (อังกฤษ: Pharaoh's daughter; ฮีบรู: בַּת־פַּרְעֹה, แปลตรงตัว'พระธิดาแห่งฟาโรห์') ในเรื่องราวของการพบโมเสสในหนังสืออพยพของคัมภีร์ไบเบิล เป็นบุคคลสำคัญในกลุ่มศาสนาอับราฮัม แม้จะมีความแตกต่างเกี่ยวกับการมีตัวตนของพระราชธิดาของฟาโรห์ในระหว่างชาวยิว ชาวคริสต์ และชาวมุสลิม แต่ทั้งหมดเห็นพ้องต้องกันว่าพระองค์เป็นมารดาบุญธรรมของผู้เผยพระวจนะโมเสส ชาวมุสลิมระบุว่าพระองค์คืออาซียะฮ์ บินต์ มุซาฮิม ผู้เป็นมเหสีเอกของฟาโรห์ ในทั้งสองรูปแบบ พระองค์ได้ช่วยชีวิตโมเสสจากความตายทั้งจากแม่น้ำไนล์และจากฟาโรห์ พระองค์ช่วยให้โมเสสมีความเป็นอยู่ที่ดีตลอดช่วงต้นชีวิต และยังมีบทบาทสำคัญในการปลดปล่อยชาวฮีบรูจากการเป็นทาสในอียิปต์ การเดินทางไปยังแผ่นดินแห่งพระสัญญา และการตั้งบัญญัติ 10 ประการ

พระนาม

[แก้]

หนังสืออพยพ (อพยพ 2:5) ไม่ได้ระบุพระนามของพระราชธิดาของฟาโรห์ รวมถึงพระนามของพระบิดาของพระองค์ ทรงได้รับการระบุในภาษาฮีบรูเพียงว่า Bat-Paroh[1] (ฮีบรู: בת־פרעה) ซึ่งเป็นวลีในภาษาฮีบรูที่แปลตรงตัวได้ว่า "พระธิดาแห่งฟาโรห์" ใน Book of Jubilees (Jubilees 47:5) และโยเซพุสต่างระบุพระนามของพระองค์ว่า Thermouthis (กรีก: Θερμουθις) ซึ่งมีการแปลงเป็นชื่อ Tharmuth และ Thermutis ชื่อในภาษากรีกของ Renenutet เทพงูของอียิปต์[2][3][4][5]

ในศาสนายูดาห์

[แก้]

เมื่อพระราชธิดาของฟาโรห์เสด็จลงสรงที่แม่น้ำ และพวกสาวใช้เดินเที่ยวตามริมฝั่ง พระนางทรงเห็นตะกร้าอยู่กลางกอปรือ จึงมีรับสั่งให้สาวใช้ไปนำมา เมื่อเปิดตะกร้าออกก็เห็นทารก และดูสิ เด็กนั้นกำลังร้องไห้ พระนางทรงสงสาร ตรัสว่า "นี่เป็นลูกคนฮีบรู" พี่สาวเด็กนั้นจึงทูลถามพระราชธิดาของฟาโรห์ว่า "จะให้หม่อมฉันไปหาแม่นมชาวฮีบรูมาเลี้ยงทารกนี้ให้พระนางไหม?" พระราชธิดาของฟาโรห์จึงมีรับสั่งว่า "ไปหาเถิด" หญิงสาวคนนั้นจึงไปเรียกมารดาของทารกมา พระราชธิดาของฟาโรห์ตรัสสั่งนางว่า "รับเด็กนี้ไปเลี้ยงไว้ให้เรา แล้วเราจะให้ค่าจ้าง" นางจึงรับทารกไปเลี้ยง เมื่อทารกเติบโตขึ้น นางก็พามาถวายพระราชธิดาของฟาโรห์ พระนางก็ทรงรับไว้เป็นพระราชบุตรของพระนาง และประทานนามให้ว่า โมเสส ตรัสว่า "เพราะเราได้ฉุดขึ้นมาจากน้ำ"

— อพยพ 2:5–10[6]

คลังภาพ

[แก้]
พระราชธิดาของฟาโรห์
สถานที่ที่พระราชธิดาของฟาโรห์ช่วยโมเสสจากแม่น้ำไนล์ ภาพร่างในปี ค.ศ. 1698 โดย Cornelis de Bruijn นักเดินทางชาวดัตช์ระหว่างการเดินทางไปยังอียิปต์ คนท้องถิ่นชี้ตำแหน่งนี้ให้
สถานที่ที่พระราชธิดาของฟาโรห์ช่วยโมเสสจากแม่น้ำไนล์ ภาพร่างในปี ค.ศ. 1698 โดย Cornelis de Bruijn นักเดินทางชาวดัตช์ระหว่างการเดินทางไปยังอียิปต์ คนท้องถิ่นชี้ตำแหน่งนี้ให้ 
ศตวรรษที่ 12
ศตวรรษที่ 12 
โมเสสได้รับการช่วยขึ้นจากน้ำ (ราว ค.ศ. 1556) โดย Bernaert de Rijckere
โมเสสได้รับการช่วยขึ้นจากน้ำ (ราว ค.ศ. 1556) โดย Bernaert de Rijckere 
โมเสสได้รับการช่วยขึ้นจากน้ำ (ค.ศ. 1633) โดยโอราซีโอ เจนตีเลสกี
โมเสสได้รับการช่วยขึ้นจากน้ำ (ค.ศ. 1633) โดยโอราซีโอ เจนตีเลสกี 
การพบโมเสส (ศตวรรษที่ 17) โดย Andrea Celesti
การพบโมเสส (ศตวรรษที่ 17) โดย Andrea Celesti 
การพบโมเสส (ค.ศ. 1740) โดย Giovanni Battista Tiepolo
การพบโมเสส (ค.ศ. 1740) โดย Giovanni Battista Tiepolo 
การพบโมเสส (ค.ศ. 1862) โดย Frederick Goodall
การพบโมเสส (ค.ศ. 1862) โดย Frederick Goodall 
โมเสสได้รับการช่วยขึ้นจากน้ำ (ค.ศ. 1894) โดย Jacques Clement Wagrez
โมเสสได้รับการช่วยขึ้นจากน้ำ (ค.ศ. 1894) โดย Jacques Clement Wagrez 
พระราชธิดาของฟาโรห์รับเป็นมารดาของโมเสส (ราว ค.ศ. 1900) โดย James Tissot
พระราชธิดาของฟาโรห์รับเป็นมารดาของโมเสส (ราว ค.ศ. 1900) โดย James Tissot 
Edwin Long, 1886
Edwin Long, 1886 

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Story of Batyah (Bithiah) – A Transformed Identity". www.chabad.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-09-04.
  2. Flusser, David; Amorai-Stark, Shua (1993). "The Goddess Thermuthis, Moses, and Artapanus". Jewish Studies Quarterly. 1 (3): 217–33. JSTOR 40753100.
  3. Josephus, Antiquities of the Jews 9,5
  4. "Thermuthis – History's Women" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-09-11.
  5. "Renenutet | Ancient Egypt Online" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-09-11.
  6. อพยพ 2:5 -10 พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน

บรรณานุกรม

[แก้]