ข้ามไปเนื้อหา

เทควันโด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นักเทควันโด)
เทควันโด
ยังเป็นที่รู้จักในชื่อTKD, Tae Kwon Do, Tae Kwon-Do, Taekwon-Do, Tae-Kwon-Do
มุ่งเน้นStriking, kicking
HardnessFull-contact (WT), Light and medium-contact (ITF, GTF, ATA, TI, TAGB)
ประเทศต้นกำเนิดประเทศเกาหลี เกาหลี
ต้นตำรับKarate and Chinese martial arts along with the indigenous styles of Taekkyeon, Subak, and Gwonbeop
กีฬาโอลิมปิกตั้งแต่ 2000
การแข่งเทควันโด
นักเทควันโดรุ่นเยาว์จากประเทศจีน

เทควันโด (เกาหลี태권도; ฮันจา跆拳道; อาร์อาร์Taegwondo; เอ็มอาร์T'aekwŏndo, แท-กว็อน-โด) เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวโดยไม่ใช้อาวุธของชาวเกาหลี คำว่า "เท" (태; แท) แปลว่า เท้าหรือการโจมตีด้วยเท้า; "ควัน" (권; ควอน) แปลว่า มือหรือการโจมตีด้วยมือ; "โด" (도; โด) แปลว่า วิถีหรือสติปัญญา ดังนั้นเทควันโดโดยทั่วไป หมายถึง วิถีแห่งการใช้มือและเท้าในการต่อสู้และป้องกันตัว หรือการใช้มือและเท้าในการต่อสู้และป้องกันตัวอย่างมีสติ

จากประวัติศาสตร์ซึ่งเผยแพร่ในช่วงแรกนั้น หลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง เกาหลีที่ถูกยึดครองโดยญี่ปุ่นในปี 1910-1945 เทควันโดได้ถูกสร้างขึ้นโดยใช้คาราเต้ของญี่ปุ่นเป็นพื้นฐาน แล้วผสมผสานกับศิลปะการต่อสู้ของเกาหลีประเภทอื่นเช่น taekyon subak ทำให้เทควันโดเป็นการต่อสู้ที่แตกต่างสวยงาม โดยใช้เท้าเป็นหลักซึ่งแตกต่างจากคาราเต้ ทั้งรูปแบบการต่อสู้ จุดเด่น การยืน ฟุตเวิร์ก อย่างชัดเจน

เทควันโดเป็นอีกหนึ่งชนิดกีฬาที่ได้เข้าร่วมเป็นกีฬาโอลิมปิกเพราะการสนันสนุนของรัฐบาลเกาหลีใต้ และความแตกต่างทางด้านการต่อสู้อย่างชัดเจน

ลำดับสายของเทควันโด (ในประเทศไทย)

[แก้]
  • เริ่ม สายขาว
  • 10 สายเหลือง 1 (สายส้ม-ในบางยิม)
  • 9 สายเหลือง 2
  • 8 สายเขียว 1 (สีเขียวขี้ม้า-ในบางยิม)
  • 7 สายเขียว 2
  • 6 สายฟ้า 1 (ม่วง-ในบางยิม)
  • 5 สายฟ้า 2 (น้ำเงิน-ในบางยิม)
  • 4 สายน้ำตาล 1
  • 3 สายน้ำตาล 2
  • 2 สายแดง 1
  • 1 สายแดง 2*
    • ในบางโรงเรียนมีการเรียนสายแดง 3 หรือ Pre-Black เพื่อเตรียมสำหรับการสอบในระดับสายดำ ขั้นที่ 1 หรือดั้งที่ 1

สำนักคุคกิวอนกำหนดให้มีสายดำทั้งสิ้น 10 ระดับ โดยเริ่มที่ระดับที่ 1 เป็นระดับแรกและใช้เงื่อนไขด้านระยะเวลา และอายุในการพิจารณาในการเลื่อนระดับขั้น (ดั้ง)

- ปัจจุบันรูปแบบของเทควันโดนี้ ไปอยู่ที่แคนาดา ตั้งสหพันธ์ ITTF เทควันโดเกาหลีใต้เป็นของ WTF ซึ่งปัจจุบันเป็น WT เดิมเป็นหนึ่งเดียวกับ สำนักคุกกิวอน โดยปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น KUKKIWON ACADEMY สถาบันการศึกษาเทควันโดโลก โดย ทำหน้าที่ ออกสายดำและตั้งกฎเกี่ยวกับการสอบสาย ประชาสัมพันธ์เทควันโด และ จัด ฮันมาดัง ส่วน WT แยกออกไปทำหน้าที่ จัดการแข่งขัน วางนโยบายการแข่งขัน ฯลฯ โดยทั้งสองสถาบันก็ยังทำงานร่วมกันอยู่[1][2] - เทควันโดเกาหลี ไม่มีสายแดง - เทควันโดประกอบด้วย 4 ส่วนที่ต้องเรียนรู้ คือ 1.เคียวรูกิ (การต่อสู้เชิงแข่งขัน) 2.เคียกพ่า (การทดสอบจิตใจด้วยการทำลายสิ่งกีดขวาง) 3.พุมเซ(การทำท่าสมมติการต่อสู้ เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่าแพทเทิน ปัจจุบันมีการแข่งขันเป็นสากล) 4.โฮชินซูล (การป้องกันตัวอิสระในชีวิตจริง โดย การใช้มือเปล่าและอาวุธ ) โดยชมรม ส่วนมากในประเทศไทย จะมีอยู่ 2 อย่างคือ เคียวรูกิและพุมเซ - ดำแดง คือ สายดำ ที่อายุไม่ถึง 15 ปี (เพราะพลังทำลายและวุฒิภาวะยังไม่เหมาะสมทางสถาบันจึงไม่อาจให้คาดสายดำได้) - ผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นตัวแทนคุกกิวอน สอบนักเรียนเปลี่ยนคุณวุฒิสายสี สอบนักเรียนเป็นสายดำและสอบนักเรียนเลื่อนดั้งต้องมีคุณวุฒิดั้ง 4-10 และมีรหัสอนุญาตจากคุกกิวอน - ผู้ได้รับสายสี เหลือง1-แดง2 (10ขั้น) เทควันโดเรียกว่า กุ้ป (Gup1-10) โดยไล่ตั้งแต่ Gup10 ขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึง Gup1 และถึงเปลี่ยนเป็นดั้ง 1 - ดั้ง 10 ประเทศไทยเรียก เหลือง1 เหลือง 2 จนถึง แดง 1 และ แดง 2 ส่วนดั้งเรียก ดำ1 ถึง ดำ 10

องค์กรและหน่วยงานเทควันโดที่เกี่ยวข้อง 1.สมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทย 2.มูลนิธิเทควันโด ซองกิยอง

กติกาที่เกี่ยวข้อง 2018 ต่อสู้ - ใช้เกราะไฟฟ้าในการช่วยให้คะแนน 1คะแนนชกตัว 2คะแนนเตะตัว 3คะแนนเตะที่ศีรษะ 4คะแนนหมุนตัวเตะ 5 คะแนนหมุนตัวเตะที่ศีรษะ บวกฝั่งตรงข้ามเพิ่ม 1คะแนน(กัมเจิง)หากผิดกติกา ครบ 10 ปรับแพ้ แข่งต่อสู้ทีมให้แข่งโดยเอาคะแนนของนักกีฬาทั้งหมดรวมกันโดยแต่ละคนมีเวลาต่อสู้ 1 นาที โดยใช้ทีมละ 5 คนรายการสากล และ 3 คนรายการภายใน พุมเซ่ - ตัดสินสองส่วน ตัดท่าผิด 4 คะแนน(Accuracy) บวกเพิ่มการแสดงความเป็นเทควันโด 6 คะแนน(Presentation)

หลักสูตรการเรียน

[แก้]
  1. เรียนท่าเตะ และท่าต่อสู้ป้องกันตัวประกอบด้วยท่าพื้นฐาน

- การใช้มือจู่โจม ในท่าต่างๆ มือ เท้า เข่า ศอก จะเห็นได้จากท่าสอดแทรกที่ใช้ใน สเตป ตอนสอบสาย

- ท่าเตะบนพื้น ประกอบด้วย ฟร้อนคิก(เตะตรง) ราวด์คิก(เตะสะบัด) ไซด์คิก(เตะถีบข้าง) ฮุคคิก(เตะเกี่ยว) สวิงคิกหรือสปิ้นแบค(หันหลังเตะสะบัด,จระเข้ฟาดหางในมวยไทย) ช็อปคิกซ์(เตะตบลง) พุชคิก(การถีบ) ดับเบิลคิก(การเตะในตระกูลเท้าคู่ทั้งหลาย เช่น ดับเบิ้ลราวด์ )

- ท่าเตะแอร์คิก (กลางอากาศ) ประกอบด้วย ท่าเตะกระโดดทั้งหลาย

    1. จั้มฟร้อน
    2. จั้มไฮด์
    3. ฟลายอิ้งไซด์
    4. ฟลายอิ้งแบค
    5. เทินนิ่งแบ้ค
    6. ทูเวย์
    7. 540 สวิงคิก
    8. 720 คิกส์
    9. ท่าประยุกต์

และอื่นๆ ที่เท้าลอยพ้นพื้นทั้งสองข้าง

  1. เรียนพุมเซ หรือที่คนไทยเรียนท่ารำ เพื่อจำลองการป้องกันตัวและสอนให้รู้จักการเคลื่อนไหวพื้นฐานในการต่อสู้ ซึ่งปัจจุบันมีการบรรจุในการแข่งขันเพื่ออนุรักษณ์ ให้พุมเซ มิให้สูญหายไปตามยุคสมัย
  2. สเตปรุก รับ นำท่าป้องกันตัวต่างๆ มาจำลองการเคลื่อนที่กับคู่ที่จัดไว้เพื่อให้คุ้นเคยเมื่อการเหตุการณ์จริง จะได้คุมสติ คุมสมาธิเป็น
  3. การต่อสู้ตามกติกา (ฟรีสแปริ่ง) การต่อสู้ ที่ ระบุด้วยกติการให้ปลอดภัยเพื่อให้ สามารถบรรจุเข้าเป็นกีฬาสากล โอลิมปิค ทำให้จำเป็นต้องตัดอาวุธ ต่างๆ การต่อสู้ตามกติกาเป็นการฝึกจิตใจ ให้ควบคุมตนเองได้เมื่อต่อสู้
  4. การป้องกันตัวจริง( โฮชิลซู) การประยุกต์ท่ามาป้องกันตัว รวมไปถึง การทุ่ม เชือด หัก ล็อก
  5. การทำลาย (เคียกพ่า) การฝึกจิตใจด้วยการทำลายวัตถุต่างๆ ด้วยท่าที่ฝึกฝนมา เช่นการฟันอิฐ ฟันไม้ หรืออุปกรณ์ที่เตรียมขึ้นเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ เช่นการแข่งขัน การแสดง เพื่อฝึกด้านการตัดสินใจของนักกีฬา
  6. เรื่องต่างๆ วิทยาศาสต์การกีฬา โภชนาการ การใช้อาวุธ การสอดแทรกคุณธรรม แล้วแต่ประสบการณ์ของผู้สอน

ซึ่งในแต่ละยิม ชมรม สมาคม อาจจะเลือก สอนไม่ครบทั้ง 6 อย่างขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ความถนัดหรือจุดประสงค์เป็นหลัก

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]