คิกบอกซิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คิกบอกซิง
การแข่งขันคิกบอกซิง
มุ่งเน้นต่อย เตะ จู่โจม
Hardnessการปะทะ
ประเทศต้นกำเนิดยุคโบราณ มีความเป็นไปได้ว่าเกิดก่อนยุคประวัติศาสตร์[1]
กีฬา
ลักษณะเฉพาะ
การปะทะปะทะ
แข่งรวมชายหญิงไม่มี
หมวดหมู่กีฬาการต่อสู้
จัดแข่งขัน
ประเทศ ภูมิภาคทั่วโลก
โอลิมปิกไม่มี
เวิลด์เกมส์2017 (รับเชิญ), 2022

คิกบอกซิง (อังกฤษ: Kickboxing) เป็นกีฬาการต่อสู้ในลักษณะการปะทะที่มีรูปแบบการต่อยและเตะเป็นหลัก จัดการแข่งขันบนสังเวียน โดยมีอุปกรณ์ทั่วไปเช่นนวม ฟันยาง กางเกง ไม่ใส่รองเท้าเพื่อการเตะ การเล่นกีฬาคิกบอกซิงมีจุดประสงค์เพื่อการป้องกันตัวเอง เพื่อสมรรถภาพทางกาย หรือเพื่อการแข่งขัน[2][3][4] รูปแบบที่ถือว่าเป็นกีฬาคิกบอกซิงเช่น คาราเต้ มวยไทย คิกบอกซิงญี่ปุ่น ซ่านโฉ่ว และซาวัต

หลักฐานที่มีการบันทึกครั้งแรกที่มีการใช้การเตะและต่อยในกีฬาในการต่อสู้ปรากฏขึ้นในสมัยกรีกโบราณ และอินเดียโบราณ[5] อย่างไรก็ดีคำว่า "คิกบอกซิง" ถือกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นในคริสต์ทศวรรษ 1960 ซึ่งมีการพัฒนารูปแบบมาตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 จากกีฬาคาราเตผสมกับการต่อยมวย รวมถึงได้รับอิทธิพลจากเทควันโด มวยไทย และซาวัตด้วย[6][7][8][9] และมีการจัดการแข่งขันนับแต่นั้น[10][11][12] ส่วนอเมริกันคิกบอกซิงถือกำเนิดในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยเป็นที่รู้จักในเดือนกันยายน ค.ศ. 1974 หลังจากที่สมาคมคาราเตอาชีพ (Professional Karate Association) ได้จัดการแข่งขันเวิลด์แชมเปียนชิปครั้งแรก

อ้างอิง[แก้]

  1. Pyx Lax (Kick-Punch) Kick Boxing: Ancient Greek Martial Arts by Gregory Zorzos ISBN 1441461477
  2. "Directory : Kick-boxing is the hottest workout in town, thanks to a streetwise fighter called Catwoman. Here's where to get your kicks". The Los Angeles Times. July 17, 1992. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2021. สืบค้นเมื่อ 2010-12-21.
  3. "Offering a Fighting Chance to Get in Shape". The Los Angeles Times. May 22, 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2021. สืบค้นเมื่อ 2010-12-21.
  4. "Powerful! Kickboxing Is A Killer, Thriller Workout". Chicago Tribune. August 18, 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2010-11-25.
  5. Section XIII: Samayapalana Parva, Book 4: Virata Parva, Mahabharata.
  6. Martin, Andy (April 17, 1995). "Is it just karate without the philosophy? Not according to Big Daddy Chris Ozar reigning from Jersey City. He's been kickboxing for years". The Independent. London. สืบค้นเมื่อ 2010-08-20.
  7. "Kickboxing climbs up to be at par with other martial arts". The Economic Times. July 19, 2009. สืบค้นเมื่อ 2010-11-25.
  8. "A History and Style Guide of Kickboxing".
  9. "Kickboxing Rules: How To Kickbox | Rules of Sport". www.rulesofsport.com. สืบค้นเมื่อ 2021-12-14.
  10. ""A HISTORY OF KICKBOXING" : NORTH AMERICA'S SURPRISINGLY TABOO 'KICKBOXING' HISTORY! (Part 1) : 1950's and 1960's" (PDF). Kick-france.fr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-11-02. สืบค้นเมื่อ 27 October 2018.
  11. Cimadoro, Giuseppe (October 2017). "Acute neuromuscular, cognitive and physiological responses to a Japanese kickboxing competition in semi-professional fighters". The Journal of Sports Medicine and Physical Fitness. 58 (12): 1720–1727. doi:10.23736/S0022-4707.17.07859-8. PMID 29083128. S2CID 5975453.
  12. "Black Belt February 1972". February 1972. สืบค้นเมื่อ 10 January 2015.