ศิลปะการต่อสู้ฟิลิปปินส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"อาวุธสำหรับโจมตีและป้องกันตัวของฟิลิปปินส์", พิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน

ศิลปะการต่อสู้ฟิลิปปินส์ หมายถึงศิลปะการต่อสู้ทั้งใหม่และเก่าที่ได้รับการคิดค้นขึ้นในฟิลิปปินส์ ซึ่งประกอบด้วยแบบแผนศิลปะการต่อสู้ของทั้งตะวันตกและตะวันออก แบบแผนการต่อสู้เหล่านี้เกิดจากความต้องการในการป้องกันตนเอง ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ได้มีผู้รุกรานเข้าโจมตีและมีเหตูขัดแย้งที่ขยายตัวขึ้นทำให้เกิดการพัฒนาของศิลปะการต่อสู้ขึ้น ชาวฟิลิปปินส์ได้พัฒนาระบบการต่อสู้เหล่านี้เป็นผลพ่วงโดยตรงจากการเปลียนแปลงตลอดเวลาของสถานการณ์ พวกเขาเข้าใจในการจัดลำดับ, การจัดสรร, และการใช้สิ่งของใกล้ตัวในสถานการณ์การต่อสู้

ศิลปะการต่อสู้ฟิลิปปินส์เริ่มมีความแพร่หลายมากขึ้นเพราะสื่อภาพยนตร์ฮอลลีวูดและการสั่งสอนของอาจารย์สมัยใหม่

ประวัติ[แก้]

ทุกวันนี้เป็นที่กล่าวกันว่ามีรูปแบบการต่อสู้ของศิลปะการต่อสู้ฟิลิปปินส์มากมายเทียบเท่ากับจำนวนเกาะของประเทศฟิลิปปินส์ ในปี ค.ศ. 1972 รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้รวมศิลปะการต่อสู้ฟิลิปปินส์ในสนามการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงวัฒนธรรม, และกระทรวงการกีฬาก็ได้รวมศิลปะการต่อสู้ฟิลิปปินส์เข้าในหลักสูตรวิชาพลศึกษาในโรงเรียนมัธยมปลายและมหาวิทยาลัย ความรู้ทางด้านศิลปะการต่อสู้ฟิลิปปินส์กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการเป็นทหารและตำรวจฟิลิปปินส์

ศิลปะการต่อสู้ฟิลิปปินส์ได้ถูกจัดว่ามีระบบการใช้อาวุธมีดที่ก้าวหน้ามากที่สุดในโลกและได้เป็นหลักสูตรสำคัญสำหรับการฝึกกองทัพทหารของสหรัฐอเมริกา[1][2][3] และหน่วยรบพิเศษสเปซนาซของประเทศรัสเซีย[4][5][6] รัฐบาลอินเดียก็ได้ฝึกหน่วยรบพิเศษพารา (Para) ของกองทัพ, กองกำลังกักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (NSG), หน่วยคอมมานโดนาวิกโยธินแห่งกองทัพเรืออินเดีย, และหน่วยคอมมานโดแห่งกรมตำรวจติดอาวุธส่วนกลาง (CAPF) ให้ใช้ศิลปะการต่อสู้ฟิลิปปินส์เช่นกัน

อ้างอิง[แก้]

  1. "Modern Army Combatives - History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-28. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. Filpino Kali is Alive and Well in Today's Police and Military Training เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จิม แวกเนอร์, USA Dojo.com
  3. ‘Crafty Dog’ teaches knife, stick fighting ไมเคิล เฮ็คแมน, Fort Hood Sentinel, 6 สิงหาคม ค.ศ. 2009.
  4. เจสสิก้า ซาฟร้า. "The Greatest Filipino Export is Kicking Ass". Philippine Star.
  5. รอส ฮาร์เปอร์ อลอนโซ. "In the Stick of Things". Philippine Daily Inquirer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-15. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.
  6. "The Bladed Hand: The Global Impact of Filipino Martial Arts trailer".