ข้ามไปเนื้อหา

ธงชาติเบลารุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธงชาติเบลารุส
การใช้ธงชาติ Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag Reverse side is mirror image of obverse side
สัดส่วนธง1:2
ประกาศใช้25 ธันวาคม 1951; 72 ปีก่อน (1951-12-25) (เวอร์ชันโซเวียต)
7 มิถุนายน 1995; 29 ปีก่อน (1995-06-07) (การออกแบบดั้งเดิมพร้อมลวดลายประดับที่บางลง)[1]
10 กุมภาพันธ์ 2012; 12 ปีก่อน (2012-02-10) (การออกแบบปัจจุบันที่มีลวดลายประดับหนาขึ้น)[2]
ลักษณะธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน แบ่งตามแนวนอนสองสีเป็นสีแดง-เขียว สัดส่วนเฉพาะด้านกว้าง 2:1 มีลวดลายแนวตั้งสีแดงบนพื้นขาวประดับที่ด้านติดคันธง
ออกแบบโดยมีฮาอิล กูสเยฟ

ธงชาติเบลารุส เป็นธงสีแดงและสีเขียวที่มีลวดลายประดับสีขาวและสีแดงอยู่ที่ปลายรอก (เสาธง) ธงชาติเบลารุสแบบที่ใช้อยู่ปัจจุบันนั้นได้รับการแนะนำโดยคณะกรรมการแห่งรัฐว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานของสาธารณรัฐเบลารุสใน พ.ศ. 2555 และดัดแปลงมาจากการออกแบบที่ได้รับอนุมัติในการลงประชามติในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2538 ธงนี้เป็นการดัดแปลงจากธงใน พ.ศ. 2494 ที่ใช้ในขณะที่ประเทศนี้เป็นสาธารณรัฐองค์ประกอบของสหภาพโซเวียต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับธงในสมัยโซเวียตคือการยกเอาสัญลักษณ์คอมมิวนิสต์ค้อนเคียวและดาวแดงออก เช่นเดียวกับการกลับด้านของสีในรูปแบบการประดับ นับตั้งแต่การลงประชามติใน พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา ธงขององค์กรและหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในเบลารุสหลายแห่งล้วนดัดแปลงจากรูปแบบของธงชาติด้วย

ในอดีต ธงขาวแดงขาวถูกใช้โดยสาธารณรัฐประชาชนเบลารุสใน พ.ศ. 2461 ก่อนที่เบลารุสจะกลายเป็นสาธารณรัฐโซเวียต จากนั้นถูกใช้โดยขบวนการชาติเบลารุสในเบลารุสตะวันตก ตามมาด้วยการใช้อย่างไม่เป็นทางการอย่างแพร่หลายระหว่างการยึดครองเบลารุสของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สองระหว่าง พ.ศ. 2485 ถึง พ.ศ. 2487 และอีกครั้งหลังจากได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2534 จนถึงการลงประชามติใน พ.ศ. 2538 กลุ่มต่อต้านยังคงใช้ธงนี้ต่อไป แม้ว่าการแสดงธงนี้ในเบลารุสจะถูกจำกัดโดยรัฐบาลเบลารุส ซึ่งอ้างว่ามีความเชื่อมโยงกับความร่วมมือของนาซีเนื่องจากการใช้โดยผู้สมรู้ร่วมคิดชาวเบลารุสในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ธงขาวแดงขาวถูกนำมาใช้ในการประท้วงต่อต้านรัฐบาล ล่าสุดที่มีการใช้คือการประท้วงในประเทศเมื่อ พ.ศ. 2563–2564 และโดยชาวเบลารุสพลัดถิ่น

ประวัติ

[แก้]

ธงขาวแดงขาว

[แก้]
Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag ธงชาติสาธารณรัฐประชาชนเบลารุส (พ.ศ. 2461) สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย (พ.ศ. 2533 - 2534) และสาธารณรัฐเบลารุส (พ.ศ. 2534 - 2538)

ธงขาวแดงขาวถูกใช้โดยสาธารณรัฐประชาชนเบลารุสใน พ.ศ. 2461 ก่อนที่เบลารุสจะกลายเป็นสาธารณรัฐโซเวียต จากนั้นถูกใช้โดยขบวนการชาติเบลารุสในเบลารุสตะวันตก ตามมาด้วยการใช้อย่างไม่เป็นทางการอย่างแพร่หลายระหว่างการยึดครองเบลารุสของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สองระหว่าง พ.ศ. 2485 ถึง พ.ศ. 2487 และอีกครั้งหลังจากได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2534 จนถึงการลงประชามติใน พ.ศ. 2538

กลุ่มต่อต้านยังคงใช้ธงนี้ต่อไป แม้ว่าการแสดงธงนี้ในเบลารุสจะถูกจำกัดโดยรัฐบาลเบลารุส ซึ่งอ้างว่ามีความเชื่อมโยงกับความร่วมมือของนาซีเนื่องจากการใช้โดยผู้สมรู้ร่วมคิดชาวเบลารุสในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ธงขาวแดงขาวถูกนำมาใช้ในการประท้วงต่อต้านรัฐบาล ล่าสุดที่มีการใช้คือการประท้วงในประเทศเมื่อ พ.ศ. 2563–2564 และโดยชาวเบลารุสพลัดถิ่น

สมัยโซเวียต

[แก้]

ก่อน พ.ศ. 2494 มีการใช้ธงหลายแบบตั้งแต่การปฏิวัติ ธงแรกสุดเป็นธงสีแดงล้วนและเริ่มใช้ใน พ.ศ. 2462 ระหว่างการดำรงอยู่ของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย-เบียโลรัสเซีย หลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐเบียโลรัสเซีย ตัวอักษร ССРБ (SSRB) ถูกเพิ่มเป็นสีทองที่รอกด้านบน การออกแบบนี้เริ่มขึ้นพร้อมกับข้อความในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของเบียโลรัสเซีย[3] ต่อมาได้รับการแก้ไขในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2470 โดยตัวอักษรถูกเปลี่ยนเป็น БССР (BSSR) แต่ยังคงการออกแบบโดยรวมไว้เหมือนเดิม[4] การออกแบบนี้เปลี่ยนไปใน พ.ศ. 2480 เมื่อมีการเพิ่มค้อน เคียว และดาวแดงไว้เหนือตัวอักษร ขนาดธงถูกกำหนดอย่างเป็นทางการเป็นอัตราส่วน 1:2 เป็นครั้งแรก[5] ธงนี้ยังคงใช้อยู่จนกระทั่งมีการนำธงมาใช้ใน พ.ศ. 2494 ซึ่งเลิกใช้ตัวอักษร[6]

ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย

[แก้]
Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย พ.ศ. 2494 - 2534

ธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซียเป็นธงของเบลารุส ซึ่งประกาศใช้ตามประกาศว่าด้วยแบบธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2494[7] ธงนี้ได้รับการแก้ไขเล็กน้อยใน พ.ศ. 2499 เมื่อมีการเพิ่มรายละเอียดสำหรับดาวแดงและค้อนและเคียวสีทอง ข้อกำหนดขั้นสุดท้ายของธงกำหนดไว้ในมาตรา 120 ของรัฐธรรมนูญเบียโลรัสเซียและมีความคล้ายคลึงกับธงชาติเบลารุสในปัจจุบันอย่างมาก ธงนี้มีสัดส่วนกว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน เช่นเดียวกับธงชาติสหภาพโซเวียต (และธงของสาธารณรัฐองค์ประกอบอื่น ๆ อีก 14 แห่ง)[8] พื้นธงส่วนใหญ่เป็นสีแดง (เป็นตัวแทนการปฏิวัติ) ส่วนที่เหลือเป็นสีเขียว (เป็นตัวแทนป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ของเบลารุส) ที่ด้านคันธงนั้นมีลวดลายสีขาวพื้นแดงตามธรรมเนียมท้องถิ่นของเบลารุส ซึ่งนิยมใช้ในเครื่องแต่งกายพื้นเมืองโดยทั่วไป ในพื้นสีแดงส่วนมุมธงบนด้านค้านธงนั้น มีรูปค้อนเคียวสีทองและดาวแดงขอบทองประดับไว้ ค้อนนั้นหมายถึงกรรมกรหรือชนชั้นกรรมาชีพ เคียวได้แก่ชาวนาและเกษตรกร ถ้ากล่าวตามอุดมคติของสหภาพโซเวียตแล้ว สัญลักษณ์ทั้งสองอย่างนี้มีความหมายถึงความร่วมมือระหว่างทั้งสองชนชั้นข้างต้น ส่วนรูปดาวแดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่พรรคคอมมิวนิสต์ต่าง ๆ นิยมใช้โดยทั่วไป ซึ่งมักมีความหมายถึงกลุ่มสังคมในลัทธิคอมมิวนิสต์ 5 กลุ่ม ได้แก่ กรรมกร ยุวชน ชาวนา ทหาร และนักปราชญ์ หรือหมายถึงทวีปทั้งห้าแห่งในโลก หรือหมายถึงนิ้วมือทั้งห้าของชนชั้นกรรมกร รูปดังกล่าวนี้บางครั้งอาจไม่ปรากฏในด้านหลังของธง จุดประสงค์ในการออกแบบนี้เกิดจากการที่สาธารณรัฐเบียโลรัสเซียกลายเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติพร้อมกับสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐยูเครน ใน ค.ศ. 1945 ซึ่งต้องการธงที่แตกต่างกัน ผู้ออกแบบธงคือมีฮาอิล กูสเยฟ[9]

การลงประชามติเรื่องธงชาติ พ.ศ. 2538

[แก้]
Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag ธงที่ประกาศใช้ใน พ.ศ. 2538 มีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยใน พ.ศ. 2555
Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag ธงที่เสนอโดยลูกาแชนกาใน พ.ศ. 2538

การลงประชามติเพื่อรับรองสัญลักษณ์ของรัฐเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ด้วยคะแนนเสียง 64.7 เปอร์เซ็นต์ ธงแบบใหม่ได้รับการอนุมัติโดยเสียงข้างมากในอัตราส่วนสามต่อหนึ่ง (75.1 เปอร์เซ็นต์ ต่อ 24.9 เปอร์เซ็นต์) อีกสามคำถามก็ผ่านโดยผู้ลงคะแนนเช่นกัน[10] แนวทางการทำประชามติและความชอบด้วยกฎหมายในการซักถามสัญลักษณ์ประจำชาติในการทำประชามติถูกฝ่ายค้านวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก[11][12] พรรคฝ่ายค้านอ้างว่ามีเพียง 48.7 เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่ลงคะแนนเสียงทั้งหมด (75.1 เปอร์เซ็นต์ของ 64.7 เปอร์เซ็นต์ที่ปรากฏตัวที่หน่วยเลือกตั้ง) สนับสนุนการใช้ธงใหม่ แต่กฎหมายของเบลารุส (เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ) ระบุว่ามีเพียงเสียงส่วนใหญ่ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำเป็นต้องตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาการลงประชามติ[13][14] เมื่อผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจของประธานาธิบดีลูกาแชนกา เขาประกาศว่าการกลับมาของธงสมัยโซเวียตนำความรู้สึกของเยาวชนและความทรงจำอันน่ารื่นรมย์มาสู่ประเทศชาติ[15]

ลูกาแชนกาเคยพยายามทำประชามติในลักษณะเดียวกันนี้มาก่อนใน พ.ศ. 2536 แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐสภา สองเดือนก่อนการลงประชามติในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2538 ลูกาแชนกาได้เสนอการออกแบบธงที่ประกอบด้วยแถบสีเขียวขนาดเล็กสองแถบและแถบสีแดงกว้างหนึ่งแถบ แม้ว่าจะไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับข้อเสนอแนะนี้ แต่การออกแบบใหม่ (เรียกว่า "โครงการ" ในภาษาเบลารุส) ได้รับการแนะนำในอีกไม่กี่วันต่อมา ซึ่งต่อมาได้ถูกนำไปลงคะแนนเสียงในการลงประชามติใน พ.ศ. 2538[16]

แบบธงปัจจุบัน

[แก้]

การออกแบบพื้นฐานของธงชาติเบลารุสได้รับการอธิบายครั้งแรกในกฤษฎีกาประธานาธิบดี ฉบับที่ 214 ลงวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ดังนี้

แบบการสร้างธงชาติเบลารุส

ธงนี้ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากธงของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย นอกเหนือจากการยกเอาสัญลักษณ์คอมมิวนิสต์ค้อนและเคียวและดาวแดงออก รวมถึงการสลับสีแดงและสีขาวในรูปแบบรอกจากสีขาวบนพื้นแดงเป็นสีแดงบนพื้นขาว[17][18] แม้ว่าจะไม่มีการตีความอย่างเป็นทางการสำหรับสีของธง แต่คำอธิบายของอาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกา ประธานาธิบดีเบลารุส สีแดงหมายถึงเสรีภาพและการเสียสละของบรรพบุรุษของประเทศ ในขณะที่สีเขียวหมายถึงชีวิต[19]

นอกเหนือจากกฤษฎีกาใน พ.ศ. 2538 "เอสทีบี 911-2008: ธงประจำชาติของสาธารณรัฐเบลารุส" ได้รับการเผยแพร่โดยคณะกรรมการแห่งรัฐว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานของสาธารณรัฐเบลารุสใน พ.ศ. 2551 ซึ่งให้รายละเอียดทางเทคนิคของธงชาติ เช่น รายละเอียดของสีและลวดลายประดับ การออกแบบประดับสีแดงบนธงชาติยังมีจนถึงจน พ.ศ. 2555 ความกว้างของธง 1/12 และขอบสีขาว 1/9 ใน พ.ศ. 2555 รูปแบบสีแดงครอบครองขอบสีขาวทั้งหมด (ซึ่งอยู่ที่ 1/9)[2]

สี

[แก้]

สีของธงชาติได้รับการควบคุมใน "เอสทีบี 911-2008: ธงประจำชาติของสาธารณรัฐเบลารุส" และระบุไว้ในซีไออีแหล่งกำเนิดแสงมาตรฐานดี 65[2]

ตัวอย่างสีมาตรฐานของธงชาติ[2]
สี พิกัดสี Y10
x10 y10
แดง 0.553 ± 0.010 0.318 ± 0.010 14.8 ± 1.0
เขียว 0.297 ± 0.010 0.481 ± 0.010 29.6 ± 1.0

2012–ปัจจุปัน
เขียว แดง
Pantone 356 C 186 C
CMYK 100-0-65-51 0-92-87-19
HEX #007D2C #CF101A
RGB 0-125-44 207-16-26

ลวดลายประดับที่ด้านคันธง

[แก้]
ลวดลายที่ประดับในธงชาติเบลารุส

ลวดลายประดับซึ่งออกแบบใน พ.ศ. 2460 โดย มาโตรนา มาร์เควิช [be] ปรากฏอยู่บนที่ด้านคันธง (เหมือนที่เคยปรากฏบนธง พ.ศ. 2494)[9][6] ลวดลายนี้ได้มาจากพืชและดอกไม้ในท้องถิ่นเป็นลวดลายดั้งเดิมที่ใช้กันทั่วไปในเบลารุส ลวดลายเหล่านี้บางครั้งใช้ในเสื้อผ้าทอ ที่สำคัญที่สุดคือผ้าทอแบบดั้งเดิมที่ใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานพิธีทางศาสนา งานศพ และงานสังคมเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เจ้าภาพที่เสิร์ฟขนมปังและเกลือแก่แขกที่เสิร์ฟบนผ้ารุชนิก[20][21]

สามีของมาโตรนา มาร์เควิช ถูกจับในข้อหาโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านโซเวียตและถูกประหารชีวิตระหว่างการปราบปรามของโซเวียตในเบลารุสใน พ.ศ. 2480 หลังจากนั้นครอบครัวก็ถูกปลดออกจากตำแหน่ง ผ้ารุชนิกดั้งเดิมสูญหายและถูกยึดโดยเอ็นเควีดีใน พ.ศ. 2480 หรือถูกทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มิคาอิล คัทซาร์ น้องชายของมาโตรนา มาร์เควิช หัวหน้าแผนกชาติพันธุ์วรรณนาและคติชนวิทยาที่บัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์เบลารุส ถูกรวมอยู่ในคณะกรรมาธิการที่ได้รับคำสั่งให้ออกแบบธงใหม่สำหรับสาธารณรัฐเบียโลรัสเซียใน พ.ศ. 2494[22][23] อนุสาวรีย์ของมาโตรนา มาร์เควิช ถูกสร้างขึ้นที่เซียนโนใน พ.ศ. 2558[22]

ยอดธง

[แก้]
ยอดธงของคันธงชาติเบลารุส

ยอดธงคือวัตถุที่ใช้ประดับส่วนบนสุดของคันธง ในกฎหมายธงของเบลารุสได้ระบุว่า หากธงชาตินั้นมีการใช้โดยองค์กรของทางราชการในบางโอกาส เช่นในพิธีการสำคัญ ธงชาติเบลารุสนั้นจะต้องมีการประดับยอดธงไว้ด้วย ลักษณะของยอดธงนั้น มีรูปทรงอย่างสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ภายในส่วนฐานของยอดธงเป็นรูปดาวสีทอง รูปดาวนั้นมีห้าแฉก และมีลักษณะอย่างเดียวกับที่ปรากฏอยู่ในภาพตราแผ่นดินของเบลารุส[17] ยอดธงดังที่ระบุไว้ข้างต้นเป็นสีทอง มีปลอกสีทองสำหรับสวมเข้ากับด้ามคันธง หากธงดังกล่าวนี้ใช้โดยองค์กรทางทหาร แพรแถบหูกระต่ายสีธงชาตินั้นจะต้องผูกไว้ที่ปลอกนี้

การใช้ชักหรือแสดงธงชาติ

[แก้]
(ซ้าย) ธงที่มียอดธงดาวสไตล์โซเวียตประดับเพชรโบกสะบัดอยู่เหนืออาคารรัฐบาลในกรุงมินสค์ (ขวา) สีของธงชาติเบลารุสถูกแสดงระหว่างการบินผ่านของกองทัพอากาศเบลารุส ระหว่างสวนสนามวันประกาศอิสรภาพ เพื่อเป็นเกียรติแก่วันครบรอบ 75 ปีการปลดปล่อยเบลารุส

ธงชาติเบลารุส ต้องชักประจำอาคารสำนักงานของทางราชการไว้ทุกวันตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย สถานที่ดังกล่าวได้แก่:[24]

  • ที่พำนักของประธานาธิบดีเบลารุส
  • อาคารรัฐสภาแห่งสาธารณรัฐเบลารุส
  • สำนักงานคณะรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐเบลารุส
  • ที่ตั้งของศาลยุติธรรม และหน่วยงานของทางราชการฝ่ายบริหาร
  • อาคารที่กำลังมีการประชุมของสภาท้องถิ่นในเบลารุส
  • ฐานทัพหรือในเรือที่อยู่ในสังกัดของรัฐบาล
  • อาคารสำนักงานทางการทูตของสาธารณรัฐเบลารุส
  • ที่จุดตรวจและด่านที่ชายแดนเบลารุส

ส่วนการชักธงชาติตามสถานที่อื่น ๆ ที่ทางราชการกำหนด มีดังนี้[24]

  • อาคารสำนักงานของราชการส่วนท้องถิ่นฝ่ายบริหาร
  • สถานที่ที่มีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือลงประชามติ
  • สนามกีฬาที่กำลังมีการแข่งขันใดๆ (สำหรับคณะกรรมการโอลิมปิกสากลนั้น จะมีข้อบังคับในการแสดงธงเป็นของตนเองโดยเฉพาะ[25])

นักการทูตเบลารุสและเจ้าหน้าที่ของรัฐหลายคน (เช่น ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี) จะแสดงธงบนยานพาหนะ[24] ตามกฎหมายดังกล่าว ยังได้อนุญาตให้สามารถใช้ธงชาติเบลารุสได้ในโอกาสพิเศษ เช่น พิธีการรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สำคัญ และประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ล้วนสามารถใช้ธงได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นองค์กรสาธารณะ บริษัท หรือองค์กรภาคเอกชน กฎหมายดังกล่าวนี้มีผลบังคับใช้พร้อมกันกับกฎหมายที่กำหนดแบบของธงชาติ รูปของธงชาตินั้นยังปรากฏการใช้อยู่ในสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของหน่วยพิทักษ์ชาติในกองทัพเบลารุสด้วย[26] เสาควรยาวกว่าความกว้างของธงสามเท่า[27]

ตามกฤษฎีกาประธานาธิบดีใน พ.ศ. 2538 ธงชาติให้ใช้บนเสาธงที่เป็นสีทอง (สีเหลืองสด)[1] ส่วนอื่น ๆ ของพิธีสารระบุส่วนสุดท้าย (เครื่องประดับโลหะบนเสาธง) เป็นรูปเพชรและทาสีด้วยโลหะสีเหลือง ในเพชรนี้มีรูปดาว 5 แฉก (คล้ายกับที่ใช้ในตราแผ่นดิน)[28] รูปแบบเพชรแสดงถึงความต่อเนื่องของประเพณีธงจากสมัยโซเวียต[29] รัฐบาลเบลารุสได้กำหนดให้วันที่ 15 พฤษภาคม เป็นวันตราแผ่นดินและธงชาติเบลารุส (День Государственного герба и Государственного флага Республики Беларусь)[30]

ธงอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง

[แก้]
ธงประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเบลารุส

นับตั้งแต่การบังคับใช้ธงชาติแบบปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2538 ธงอย่างอื่นที่ใช้โดยรัฐบาลหรือหน่วยงานราชการของเบลารุสนั้น ได้ใช้ธงชาติเป็นหลักในการดัดแปลงและออกแบบ

ธงประจำตำแหน่งประธานาธิบดีของเบลารุสซึ่งเป็นธงที่ใช้สำหรับประธานาธิบดีโดยเฉพาะ ได้เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ตามกฎหมายว่าด้วยธงประจำตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเบลารุส ซึ่งลงนามโดยประธานาธิบดีลูกาแชนกา ลักษณะของธงนั้นถือได้ว่าลอกแบบมาจากธงชาติ โดยเพิ่มรูปตราแผ่นดินสีแดงลายเส้นสีทองไว้ตรงกลางธง ขนาดของธงนั้นกว้าง 5 ส่วน ยาว 6 ส่วน ซึ่งเกือบจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทำให้เห็นความแตกต่างจากธงชาติได้ชัดเจน ธงนี้ใช้ชักบนอาคารที่พักหรือยานพาหนะที่ประธานาธิบดีโดยสารอยู่[31]

ใน พ.ศ. 2544 ประธานาธิบดีลูกาแชนกาได้ลงนามในกฎหมายว่าด้วยธงประจำกองทัพเบลารุส ลักษณะของธงนั้นมีสัดส่วนกว้าง 1 ส่วน ยาว 1.7 ส่วน พื้นธงเป็นสีแดง มีลวดลายตามแบบที่ปรากฏในธงชาติประดับที่ด้านคันธง ด้านหน้าธงนั้นมีรูปตราแผ่นดินของเบลารุส เบื้องบนมีแถบอักษรโค้งความ "УЗБРОЕНЫЯ СІЛЫ" (แปลว่า "กองทัพ (เบลารุส)") เบื้องล่างเป็นอักษรข้อความ "РЭСПУБЛІКІ БЕЛАРУСЬ" (แปลว่า "สาธารณรัฐเบลารุส") ตัวอักษรในข้อความดังกล่าวนั้นเป็นสีทอง ที่ด้านหลังธงนั้นเป็นรูปตราประจำกองทัพเบลารุส ลักษณะเป็นรูปดาวแดงล้อมด้วยช่อกิ่งโอ๊กและใบลอเรล เหนือรูปดังกล่าวมีข้อความ "ЗА НАШУ РАДЗІМУ" (แปลว่า "เพื่อมาตุภูมิของเรา") เบื้องล่างของรูปนั้นจารึกชื่อเต็มของหน่วยทหาร[32][33]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Указ Президента Республики Беларусь Об утверждении Положения о Государственном флаге Республики Беларусь | Геральдика.ру [Decree of the President of the Republic of Belarus on Approval of the Regulations on the State Flag of the Republic of Belarus]. Geraldika.ru (ภาษารัสเซีย). Roskomnadzor. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2012. สืบค้นเมื่อ 15 August 2012.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 СТБ 911-2008 Государственный флаг Республики Беларусь. Общие технические условия [STB 911-2008: National Flag of the Republic of Belarus. Technical Specifications.] (ภาษารัสเซีย). State Committee for Standardization of the Republic of Belarus. 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2018. สืบค้นเมื่อ 5 August 2010.
  3. Канстытуцыя Сацыялістычнай Савецкай Рэспублікі Беларусі [Constitution of the Socialist Soviet Republic of Belarus]. pravo.by (ภาษารัสเซีย). National Center of Legal Information of the Republic of Belarus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2010. สืบค้นเมื่อ 27 May 2011.
  4. Постановление VIII Всебелорусского С’езда Советов Рабочих, Крестьянских и Красноармейских Депутатов об утверждении Конституции (Основного Закона) Белорусской Социалистической Советской Республики [Resolution of the VIII All-Belarusian Congress of Soviets of Workers, Peasants and Red Army Deputies on the approval of the Constitution (Basic Law) of the Belarusian Socialist Soviet Republic]. pravo.by (ภาษารัสเซีย). National Center of Legal Information of the Republic of Belarus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2010. สืบค้นเมื่อ 27 May 2011.
  5. Об Утверждении Конституции (Основного Закона). Белорусской Советской Социалистической Республики [On Approval of the Constitution (Basic Law). Byelorussian Soviet Socialist Republic]. pravo.by (ภาษารัสเซีย). National Center of Legal Information of the Republic of Belarus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2010. สืบค้นเมื่อ 27 May 2011.
  6. 6.0 6.1 Kotljarchuk, Andrej (14 September 2020). "The Flag Revolution. Understanding the political symbols of Belarus". balticworlds.com. Centre for Baltic and East European Studies (CBEES), Södertörn University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2020. สืบค้นเมื่อ 7 December 2020.
  7. Указ Президиума ВС БССР от 25.12.1951 о государственном флаге Белорусской ССР (ในภาษารัสเซีย) on the Russian Wikisource ("The decree of the Presidium of the Supreme Belorussian 25.12.1951 on the state flag of the Byelorussian SSR")
  8. Указ Президиума ВС БССР от 8.05.1956 об утверждении Положения о Государственном флаге Белорусской ССР (ในภาษารัสเซีย) on the Russian Wikisource ("The decree of the Presidium of the Supreme Belorussian 05.08.1956 approving the Regulation on the State Flag of the Byelorussian SSR")
  9. 9.0 9.1 Basaŭ, Alâksandr Níkadzímavíč; Kurkoŭ, Ívan Míhajlavíč (1994). Флагі Белорусі ўчора і сення / Flagí Belorusí ŭčora í sennâ [Flags of Belarus yesterday and today] (ภาษาเบลารุส). Mínsk: Полымя [ru]. p. 24. ISBN 978-5-345-00730-3. OCLC 490001675.
  10. Центральной комиссии Республики Беларусь по выборам и проведению республиканских референдумов [Central Commission of the Republic of Belarus on elections and holding republican referendums]. rec.gov.by (ภาษารัสเซีย). Central Commission of the Republic of Belarus on Elections and Holding Republican Referenda. 20 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2011. สืบค้นเมื่อ 15 August 2012.
  11. Minorities at Risk Project (2004). "Chronology for Poles in Belarus". unhcr.org. United Nations High Commissioner for Refugees. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2013. สืบค้นเมื่อ 15 August 2012.
  12. Minahan, James (2000). One Europe, Many Nations: A Historical Dictionary of European National Groups. Santa Barbara, California: Greenwood Publishing Group. p. 117. ISBN 978-0-313-30984-7.
  13. Marples, David R. (1999). Belarus: A Denationalized Nation. Abingdon-on-Thames, UK: Harwood Academic. p. 75. ISBN 978-90-5702-343-9.
  14. "Electoral Code Of The Republic Of Belarus". ncpi.gov.by. The Elections of the President of the Republic of Belarus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 August 2011. สืบค้นเมื่อ 15 August 2012.
  15. Jaskułowski, Krzysztof; Kamusella, Tomasz, บ.ก. (2009). Nationalisms Today. Bern, Switzerland: Peter Lang. p. 222. ISBN 978-3-03911-883-0.
  16. Vexillographia – Флаги Беларуси [Vexillographia – Flags of Belarus]. vexillographia.ru (ภาษารัสเซีย). Russian Centre of Vexillology and Heraldry. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2020. สืบค้นเมื่อ 7 December 2020.
  17. 17.0 17.1 "State Symbols of the Republic of Belarus". The Official Internet Portal of the President of the Republic of Belarus. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 April 2020. สืบค้นเมื่อ 30 April 2020.
  18. Smith, Whitney (3 April 2013). "Flag of Belarus | Britannica". Encyclopædia Britannica. Chicago, Illinois: Encyclopædia Britannica, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2020. สืบค้นเมื่อ 26 November 2020.
  19. Lukashenko, Alexander (2 July 2013). "Remarks of the President at the ceremony to inaugurate the State Flag Square". The Official Internet Portal of the President of the Republic of Belarus. The Press Service of the President of the Republic of Belarus. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2020.
  20. "Belarusian Textiles". belarusguide.com. Virtual Guide to Belarus. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2019. สืบค้นเมื่อ 25 December 2020.
  21. "Belarusian Ruchnik". belarusguide.com. Virtual Guide to Belarus. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2019. สืบค้นเมื่อ 25 December 2020.
  22. 22.0 22.1 У Сянне адкрылі помнік жанчыне, якая вышыла арнамент з дзяржаўнага сцяга [A monument to a woman who embroidered an ornament from the state flag was unveiled in Sianno]. Budzma (ภาษาเบลารุส). 6 July 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2018. สืบค้นเมื่อ 20 January 2018.
  23. Адкрыты спіс – Маркевіч Аляксей Захаравіч (1885) [Markevich Alexey Zakharovich (1885)] (ภาษาเบลารุส). Openlist. สืบค้นเมื่อ 20 January 2018.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  24. 24.0 24.1 24.2 Государственная символика Республики Беларусь [State symbols of the Republic of Belarus]. President.gov.by. Press Service of the President of the Republic of Belarus. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2019. สืบค้นเมื่อ 5 April 2020.
  25. Flag Manual. Beijing, China: Beijing Organizing Committee for the Games of the XXIX Olympiad – Protocol Division. 2008. p. 4. OCLC 718195221.
  26. Военный мундир Нагрудные знаки [Badges of the Armed Forces of Belarus]. deti.mil.by (ภาษารัสเซีย). Ministry of Defence of the Republic of Belarus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2007. สืบค้นเมื่อ 5 April 2020. Note: Works in Internet Explorer only
  27. Государственные символы Республики Беларусь [State symbols of the Republic of Belarus] (ภาษารัสเซีย). National Center for Legal Information of the Republic of Belarus. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2010. สืบค้นเมื่อ 30 April 2010.
  28. "Embassy of the Republic of Belarus in Korea — Republic of Belarus — National Symbols". Korea.mfa.gov.by. Ministry of Foreign Affairs of the Republic of Belarus. 20 December 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2012. สืบค้นเมื่อ 15 August 2012.
  29. Гордо Реют Боевые Стяги! [Battle Rigs are Proudly Flying!]. Grinchevskiy.ru (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2019. สืบค้นเมื่อ 15 August 2012.
  30. 14 мая – День Государственного герба и Государственного флага Республики Беларусь [BelTA's page about the national flag day]. Belta (ภาษารัสเซีย). 12 May 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2006.
  31. Указ Президента Республики Беларусь О Штандарте (флаге) Президента Республики Беларусь [Decree of the President of the Republic of Belarus on the Standard (Flag) of the President of the Republic of Belarus]. Geraldika.ru (ภาษารัสเซีย). Roskomnadzor. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2020. สืบค้นเมื่อ 1 December 2020.
  32. Tarasievich, Yury (22 November 2005). "Belarus – Military Flags". fotw.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2005. สืบค้นเมื่อ 1 December 2020.
  33. Флаги армии Беларуси [Flags of the Army of Belarus]. vexillographia.ru (ภาษารัสเซีย). Russian Centre of Vexillology and Heraldry. 8 October 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2019. สืบค้นเมื่อ 1 December 2020.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]