อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ภาพหน้าจอ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 11 บนวินโดวส์ 8.1 | |
ผู้ออกแบบ | ทอมัส เรียร์ดอน |
---|---|
นักพัฒนา | ไมโครซอฟท์ |
วันที่เปิดตัว | 24 สิงหาคม 1995[1] (รวม Plus! สำหรับ Windows 95) |
รุ่นเสถียร | |
เอนจินs | MSHTML (Trident), Chakra |
ระบบปฏิบัติการ | วินโดวส์ (เคยได้รับการสนับสนุน: Mac OS X, Solaris, HP-UX) |
แพลตฟอร์ม | IA-32, x86-64, ARMv7, IA-64 (เคยได้รับการสนับสนุน: MIPS, Alpha, PowerPC, 68k, SPARC, PA-RISC) |
รวมถึง |
|
ถัดไป | ไมโครซอฟต์ เอดจ์ |
มาตรฐาน | HTML5, CSS3, WOFF, SVG, RSS, Atom, JPEG XR |
ภาษา | 95 ภาษา[4] |
ประเภท | |
สัญญาอนุญาต | จำกัดสิทธิ์, จำเป็นต้องใช้ใบอนุญาตวินโดวส์[5] |
เว็บไซต์ | microsoft |
อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (อังกฤษ: Internet Explorer[a], อดีตมีชื่อว่า 'ไมโครซอฟท์ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเลอร์ (Microsoft Internet Explorer)[b] และ วินโดวส์ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (Windows Internet Explorer)[c] โดยทั่วไปย่อเป็น IE หรือ MSIE) เป็นเว็บเบราว์เซอร์ของไมโครซอฟท์และเป็นซอฟต์แวร์ที่มีให้พร้อมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และถูกหยุดสนับสนุนทุกรุ่นจากไมโครซอฟท์ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2022 เป็นต้นไป[6] เนื่องจากไมโครซอฟท์พยายามให้ผู้ใช้เปลี่ยนการใช้งานไปยังไมโครซอฟท์ เอดจ์แทน [7]
ไออีเป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่มีนิยมคนนิยมใช้มากเป็นตัวหนึ่ง โดยในปี 2545 มีสัดส่วนการใช้งานในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ประมาณ 95% และมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากมีคู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้นจนถึงประมาณ 46% ในปี พ.ศ. 2554 รุ่นล่าสุดคือรุ่น อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 11ซึ่งสามารถใช้ได้สำหรับ วินโดวส์ 7,และ วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 วินโดวส์ 8 วินโดวส์เซิรฟเวอร์ 2012 วินโดวส์ 8.1 วินโดวส์เซิรฟเวอร์ 2012 R2 และ วินโดวส์ 10[8][9][10]
รุ่นของอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์สำหรับระบบปฏิบัติการอื่นมีหลากหลาย เช่น อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์โมเบิลสำหรับโทรศัพท์มือถือและสมาร์ตโฟน พัฒนาต่อบนพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 7 ใช้งานในวินโดวส์โฟน 7 และ วินโดวส์ CE นอกจากนี้ยังมีหลายรุ่นที่หยุดการพัฒนาไปเช่น อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์สำหรับแม็ค อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์สำหรับยูนิกซ์ ที่ใช้ในโซลาริส และ เอชพี-ยูเอกซ์
ประวัติ
[แก้]อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 1
[แก้]เอกซ์พลอเรอร์ 1 เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2538 โดยมากับ ไมโครซอฟท์ พลัส ของระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ 95 (Microsoft Plus for Windows 95) และไม่กี่เดือนหลังการเปิดตัว ก็มีการเปิดตัวเอกซ์พลอเรอร์ 1.5 โดยมาเพื่อระบบปฏิบัติการ วินโดวส์เอ็นที โดยมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการแสดงผลเล็กน้อย
อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 2
[แก้]เอกซ์พลอเรอร์ 2 เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 โดยแต่ในช่วงแรกออกแบบมาเพื่อ วินโดวส์ 3.1 แต่มักถูกใช้กับระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ 95, วินโดวส์เอ็นที 3.5 และ วินโดวส์เอ็นที 4.0 (ในภาพ) เสียมากกว่า และนอกจากนี้ ไออี 2 สามารถใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการ แมคโอเอส 7 และ 8 ไออี 1 และ 2 ไม่ได้รับความนิยมมากนัก ในช่วงก่อนจะมีไออี 3 โปรแกรมไออี ถูกใช้ไม่ถึงร้อยละ 15 ของโปรแกรมอินเทอร์เน็ตเบราว์เซอร์
อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 3
[แก้]เอกซ์พลอเรอร์ 3 เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2539 ได้รับความนิยมมากกว่ารุ่นก่อนอย่างค่อนข้างชัดเจน สัญลักษณ์ของไออี 3 เป็นรุ่นแรกที่ใช้สัญลักษณ์ e สีน้ำเงิน (ก่อนหน้านี้ใช้สัญลักษณ์ลูกโลก และอักษร Internet Explorer สีเขียว) แต่ทว่าไม่นานหลังการเปิดตัว ได้มีการค้นพบโดยนักวิจัยและแฮกเกอร์ ว่าไออี 3 มีช่องโหว่ในด้านของความปลอดภัยด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ไออี 3 ได้รับความนิยมมากกว่ารุ่นก่อนค่อนข้างมาก จนถึงช่วงท้ายๆ ก่อนที่ไออี 4 จะเปิดตัว ส่วนแบ่งการตลาดของไออีเพิ่มเกินร้อยละ 20 (จากไม่ถึงร้อยละ 15)
อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 4
[แก้]ไออี 4 เปิดตัวครั้งแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2540 สามารถใช้ได้กับระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ 95, วินโดวส์ 98, วินโดวส์ 3.1+, โซลาริส, แมคโอเอส 7.1+ และ เอชพี-ยูเอกซ์ ไออี 4 สร้างชื่อเสียงโด่งดังกว่ารุ่นก่อนมาก ก่อนที่ไออี 5 จะเปิดตัวในปี 2542 ส่วนแบ่งการตลาดของโปรแกรมไออี เพิ่มจาก 20 เป็น 60 เปอร์เซนต์
อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 5
[แก้]ไออี 5 เปิดตัวในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2542 จะแถมมากับระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ 98, วินโดวส์ 2000 และ วินโดวส์มี สร้างชื่อเสียงโด่งดังรุ่งโรจน์ ในช่วงก่อนปี 2544 ส่วนแบ่งการตลาดของโปรแกรมไออี เพิ่มจาก 60 เป็นประมาณ 85 เปอร์เซนต์ และไออี 5 ปัจจุบันยังสามารถพอพบเห็นได้บ้างจนถึงปัจจุบันนี้ และในปัจจุบันได้เลิกใช้แล้ว
อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 6
[แก้]ไออี 6 เปิดตัวในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2544 จะมากับระบบปฏิบัติการ วินโดวส์เอกซ์พี และ วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 เป็นเวอร์ชันที่ได้รับความนิยมสูงสุด สร้างชื่อเสียงจนส่วนแบ่งการตลาดของโปรแกรมไออีรวมทำสถิติถล่มทลายถึงร้อยละ 94.43 และปัจจุบัน ส่วนแบ่งการตลาดของไออี (เฉพาะเวอร์ชัน 6) ได้ลดลงจนถึงร้อยละ 7
อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 7
[แก้]วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 บิลล์ เกตส์ได้ประกาศว่าจะออกเบราว์เซอร์รุ่นใหม่ในงาน RSA Conference 2005 โดยการตัดสินดังกล่าวเกิดขึ้นจากเว็บเบราว์เซอร์มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ ที่ได้ส่วนแบ่งตลาดการใช้งานเพิ่มขึ้น ซึ่งรุ่นเบต้ารุ่นแรกได้ออกเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 และรุ่นเบต้าแรกที่เปิดให้ผู้ใช้ทั่วไปดาวน์โหลดได้ออกเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2549 โดยไออีรุ่นที่ 7 นั้นมีความสามารถใหม่เพื่อป้องกันการผู้ใช้จากฟิชชิง และมัลแวร์ นอกจากนั้นยังได้มีระบบควบคุม ActiveX คอนโทรลและเฟรมเวิร์กในส่วนความปลอดภัยใหม่ และที่สำคัญได้แยกการทำงานร่วมกับเอกซ์พลอเรอร์ออกมาจากวินโดวส์เพื่อให้ปลอดภัยกว่าเดิม ไออี 7 ยังรองรับมาตรฐานเว็บดีขึ้นกว่าเดิมใน HTML 4.01/CSS 2 และยังมีความสามารถใหม่อย่างแท็บด์เบราว์ซิง (tabbed browsing) กล่องค้นหาที่รองรับหลายเสิร์ชเอนจินด้วยกัน ตัวอ่านเว็บฟีดอย่าง RSS รองรับ Internationalized Domain Name (IDN) และมีโปรแกรมป้องกันฟิชชิงในตัว บนวินโดวส์วิสตา ไออี 7 ทำงานในโหมดป้องกันพิเศษเรียกว่า Protected Mode ซึ่งจะทำงานในส่วนการควบคุมความปลอดภัยแบบพิเศษ โดยจะไม่สามารถเข้าถึงส่วนอื่นๆในระบบปฏิบัติการได้นอกจากแฟ้ม Temporary Internet Files และแม้แต่ไออีเองก็จะไม่สามารถเขียนไฟล์หรือ registry ของผู้ใช้ได้ โดยโหมดใหม่นี้ได้ออกแบบเพื่อลดความเสี่ยงแม้ว่ามีช่องโหว่ใหม่ที่พบเจอขึ้นในอนาคต และป้องกันโปรแกรมหรือแฮกเกอร์ที่พยายามจะติดตั้งโปรแกรมโดยไม่ให้ผู้ใช้ทราบ
อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 8
[แก้]ไออี 8 ได้เริ่มพัฒนาอย่างน้อยตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2551 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวไออี 8 เป็นครั้งแรกในงาน Mix08 และเปิดให้ผู้ใช้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดไออี 8 เบต้า 1 ได้บนเว็บไซต์ และในวันที่ 27 สิงหาคม 2551 ไมโครซอฟท์ได้ออกไออี 8 เบต้า 2 ให้บุคคลทั่วไปที่สนในสามารถดาวน์โหลดได้ โดยไออี 8 เน้นการปรับปรุงหลักในส่วนความปลอดภัย ความรวดเร็ว การใช้งาน อย่างการปรับปรุงในส่วนฟิชชิง RSS CSS AJAX และอีกหลายอย่างด้วยกัน โดยจะรองรับมาตรฐานอย่าง CSS 2.1 ซึ่งจะเป็นรุ่นแรกของไออีที่จะผ่านการทดสอบ Acid2 รวมถึงยังเพิ่มความสามารถใหม่อย่าง Accelerators, WebSlices รวมถึงโหมด InPrivate ซึ่งเมื่อเปิดใช้ เบราว์เซอร์จะไม่ทำการบันทึกข้อมูล ประวัติการเข้าถึงเว็บ รวมถึงคุกกี้ต่างๆที่อาจใช้งานในโหมดนี้ เพียงผู้ใช้ปิดแทบด์ที่ใช้โหมดนี้ไป ข้อมูลชั่วคราวที่ใช้ก็จะถูกลบออกโดยอัตโนมัติ นอกจากนั้นยังมีความสามารถเล็กๆน้อยๆที่ได้เพิ่มขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการค้นหาข้อความในหน้าแบบใหม่ หรือ Smart Address Bar ซึ่งบางส่วนเหมือนนำความสามารถที่มีในเว็บเบราว์เซอร์อย่างไฟรฟอกซ์มาปรับพัฒนาต่อ ไออี 8 ยังได้ถูกปรับปรุงให้มีความเสถียรภาพมากขึ้นกว่าเดิม เช่นการกู้ความผิดพลาดโดยอัตโนมัติ (Automatic Crash Recovery) เช่นหากแท็บด์นั้นมีข้อผิดพลาด แท็บด์ดังกล่าวจะถูกรีสตารต์โดยอัตโนมัติ โดยไออีเองไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นผลจากการออกแบบใหม่โดยแทบด์จะอยู่ในโพรเซสต่างหาก นอกจากการปรับปรุงการรองรับมาตรฐาน และความสามารถใหม่ ไออี 8 ยังรวมถึงการพัฒนาประสิทธิภาพในดีขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะในส่วนการประมวลโค้ด HTML CSS รวมถึง JScript และสำหรับนักพัฒนาเว็บ ยังได้รวมโปรแกรมสำหรับดีบัก HTML CSS และจาวาสคริปต์ในตัวเพื่อให้สามารถแก้ไข และตรวจสอบปัญหาได้สะดวก รวดเร็วขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมดีบักเสริมเข้าช่วย ไออี 8 รองรับวินโดวส์วิสตา SP1 และ วินโดวส์เอกซ์พี SP2 รวมทั้ง WIndows 7 และเพื่อรองรับความเข้ากันได้กับเว็บที่ออกแบบสำหรับไออีรุ่นเก่า ไออี 8 เปิดให้นักพัฒนาเว็บสามารถเลือกที่จะให้ไออี 8 แสดงผลเหมือนโหมดมาตรฐานในไออี 7 หรือ "Quirks mode" ได้ รวมถึงยังมีปุ่มให้ผู้ใช้สามารถเลือกที่จะเปลี่ยนระหว่างโหมดมาตรฐานบนไออี 7 และโหมดมาตรฐานใหม่บนไออี 8 เช่นกัน
อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 9
[แก้]ไออี 9 เริ่มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2552 เริ่มเปิดตัวรุ่นทดลองแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 หลังจากนั้นได้ทำการทดลองแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ อีก 1 ปี ก่อนจะเปิดตัวรุ่นสมบูรณ์ในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมานี้ หลังจากไออี 6 ได้ทำสถิติให้ไออีรวมทุกเวอร์ชันมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดถึงร้อยละ 94 ในปี พ.ศ. 2546 แล้ว ส่วนแบ่งการตลาดของไออีก็ลดต่ำลงเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันเหลือเพียงร้อยละ 57 ด้วยการที่มีคู่แข่งรายอื่นได้สร้างเว็บเบราว์เซอร์ที่มีคุณสมบัติที่ค่อนข้างชัดว่าดีกว่ามาตีตลาด ทำให้คนรุ่นใหม่เริ่มมองไออี เป็นเพียงโปรแกรมพื้นฐานในการเล่นอินเทอร์เน็ตที่ติดมากับวินโดวส์เท่านั้น การจะเล่นอินเทอร์เน็ตจะให้ดี ต้องใช้เบราว์เซอร์อื่นๆ ในการพัฒนาไออี 9 จึงจำเป็นต้องเพิ่มคุณสมบัติใหม่เพิ่มขึ้น เช่น รองรับภาษา HTML5 ได้มากขึ้น ทำให้สามารถครอบคลุมคำสั่งทางคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน กลุ่มนักพัฒนาเว็บไซต์ต่างๆ ได้กล่าวว่า ไออี 9 รองรับการใช้งานแท็กต่างๆ ในภาษา HTML5 ได้มากที่สุดในบรรดาเว็บเบราว์เซอร์ต่างๆ ในขณะนี้[11] การจัดการทูลบาร์ต่างๆ จะจัดให้ไม่มีแถบต่างๆ ลงมารกหน้าเว็บมากนัก ทำให้มีหน้าเว็บที่เต็มจอมากขึ้น และมีฟังก์ชันการใช้งาน ที่ให้ผู้ใช้สร้างรายชื่อเว็บ ที่ไม่ต้องการให้ผู้ใช้รายอื่นเข้ามาติดตาม หรือทราบประวัติการเข้าไปดูเว็บนั้น นอกจากนี้ ไออี 9 มีความสามารถในการทำงานประสานกับการ์ดจอ บนเครื่องได้โดยตรง ไม่ต้องสั่งการผ่านซอฟต์แวร์ การแสดงผลกราฟิกจึงรวดเร็วขึ้น และดีขึ้น หลังจากไออี 9 เปิดตัวได้ 24 ชั่วโมง ยอดการดาวน์โหลด มีถึง 2.3 ล้านครั้ง เฉลี่ย 27 ครั้งต่อวินาที ส่วนการใช้งานนั้น ค่าเริ่มแรกที่ตั้งมากับโปรแกรม จะไม่มีทูลบาร์ (File Edit View ฯลฯ และบาร์อื่นๆ) จะถูกซ่อนไว้ทั้งหมด ซึ่งค่าที่ตั้งมาแบบนี้เพื่อลดการบดบังหน้าเว็บ ผู้ใช้สามารถเปิดการใช้งานทูลบาร์ดังกล่าวได้ โดยการเปิดใช้งานชั่วคราว ทำใด้โดยกดปุ่ม Alt บนแป้นพิมพ์ แล้วเรียกใช้งาน เมื่อใช้งานเสร็จ ทูลบาร์เหล่านี้จะหายไป แต่หากต้องการให้แสดงทูลบาร์ถาวร ให้กด Alt ให้ทูลบาร์ปรากฏขึ้น แล้วเลือก View แล้วเลือก Toolbars แล้วกดเลือกบาร์ที่ต้องการ (บาร์ที่มีคำว่า File Edit View ฯลฯ นั้น คือ Menu Bar) จะมีเครื่องหมายถูกปรากฏขึ้น บาร์ที่เลือกก็จะคงอยู่ถาวรบนหน้าจอ และค่าเริ่มต้นอีกอย่างหนึ่งที่อาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกไม่คุ้นเคย คือการที่ไม่มีเสียง "คลิก" เวลากดไปตามลิงก์ต่างๆ ซึ่งเป็นการตั้งค่าเพื่อให้การเล่นเว็บต่างๆ ไม่มีเสียงที่ไม่จำเป็น สามารถเปิดเสียงคลิกได้ โดยดูที่ใต้เครื่องหมายกากบาทปิดโปรแกรม ใต้เครื่องหมายกากบาทนั้นจะมีรูปเฟืองอยู่ คลิกที่รูปเฟืองนั้น แล้วเลือก Internet Options แล้วเลือกที่แท็บด้านบน Advanced แล้วดูที่หมวดหมู่ Accessibility หาคำว่า Play System Sounds แล้วคลิกที่ช่องว่างด้านหน้า ให้มีเครื่องหมายถูกปรากฏขึ้น แล้วกด OK ก็จะมีเสียงคลิกดังขึ้นอีกครั้ง มีการกระทำที่อันควร ซึ่งไออี 9 เป็นรุ่นสุดท้ายที่รองรับกับ วินโดวส์ วิสต้า
อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 10
[แก้]ไออี 10 เริ่มเปิดตัวในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554 ในงาน MIX 11 ที่ลาสเวกัส โดยทางไมโครซอฟท์กล่าวว่าได้พัฒนาไปในช่วงสามอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยนอกจากนี้ยังเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถทดลองดาวน์โหลดรุ่นแพลตฟอร์มพรีวิวได้ผ่านทางเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์ซึ่ง อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 10 นี้มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ 8 และ วินโดวส์เซิรฟเวอร์ 2012[12]
อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 11
[แก้]ไออี 11 เป็นรุ่นสุดท้ายของ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ เปิดตัวพร้อมกับ วินโดวส์ 8.1 และ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2012 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2013 และเปิดตัวสำหรับ วินโดวส์ 7 และ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008 R2 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2013[13]
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The History of Internet Explorer". News Center. Microsoft. August 25, 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 1, 2005.
- ↑ "Microsoft Update-Katalog". สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2020.
- ↑ "Mactopia: Download: Internet Explorer 5.2.3 for Mac OS X". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 มีนาคม 2004.
- ↑ "Internet Explorer 10 for Windows 7 released in 95 languages – Microsoft Language Portal Blog". blogs.technet.microsoft.com.
- ↑ "Microsoft Pre-Release Software License Terms: Internet Explorer 11 Developer Preview". microsoft.com. Microsoft. สืบค้นเมื่อ July 27, 2013.
- ↑ "Internet Explorer จะหยุด Support ตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2022 เป็นต้นไป | Blognone". www.blognone.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "ปิดฉากเบราว์เซอร์ในตำนาน! Microsoft ประกาศยุติการสนับสนุน Internet Explorer อย่างถาวร ในวันที่ 15 มิ.ย. 2022 นี้ :: Techmoblog.com". Techmoblog.
- ↑ "After years of fighting, Microsoft and EU settle antitrust case without rancor". The Seattle Times. 2009-12-16.
- ↑ "Brussels accepts Microsoft's browser offer". Financial Times. United Kingdom.
- ↑ "In E.U. Deal, Microsoft Allows Rival Browsers". Time. 2009-12-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-11. สืบค้นเมื่อ 2010-05-05.
- ↑ "MS พร้อมเปิดให้ดาวน์โหลด IE9 วันนี้!!!-arip.co.th". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-23. สืบค้นเมื่อ 2011-03-17.
- ↑ Hachamovitch, Dean (2011-04-12),Native HTML5: First IE10 Platform Preview Available for Download, Microsoft
- ↑ Tung, Liam. "Microsoft makes final push to rid world of Internet Explorer 10". ZDNet (ภาษาอังกฤษ).